เมนู

หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของ
สัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ 7.

อัฏฐกนิทเทส


[1012] ในอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ 8 เป็นไฉน ?
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ.
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ 8.
[1013] กุสีตวัตถุ 8 เป็นไฉน ?
กุสีตวัตถุ 8 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ มีการงานที่ต้องทำ เธอเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องทำการงานแล แต่เมื่อเราทำการงานอยู่ จักลำบากกาย อย่ากระนั้น
เลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่
ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้
จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ 1.
2. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่ ลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น
กุสีตวัตถุข้อที่ 2.
3. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องเดินทางแล แต่เมื่อเราเดินทางไป จักลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย

เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น
กุสีตวัตถุข้อที่ 3.
4. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราได้เดินทางแล้ว เมื่อเรากำลังเดินทางอยู่ ลำบากกาย อย่ากะนั้นเลย
เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น
กุสีตวัตถุข้อที่ 4.
5. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปในบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต
ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอคิดอย่างนี้ว่า
เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอ
แก่ความต้องการ กายของเรานั้นลำบาก ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น
กุสีตวัตถุข้อที่ 5.
6. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปตามบ้านเรือนหรือนิคมเพื่อบิณฑ-
บาต ได้โภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอคิด
อย่างนี้ว่า เมื่อเราเที่ยวไปตามบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต ได้โภชนะอันเศร้า-
หมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่
การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอน
เสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ 6.

7. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย ความดำริเพื่อจะนอนมีอยู่ อย่ากระนั้น
เลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่
ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้
จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ 7.
8. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายไข้แล้ว แต่ยังไม่นาน เธอคิดอย่าง
นี้ว่า เราหายได้แล้ว แต่ยังไม่นาน กายของเราอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน
อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง
คุณที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำ
ให้แจ้ง นี้จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ 8.
เหล่านี้เรียกว่า กุสีตวัตถุ 8.
[1014] จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม 8 เป็นไฉน ?
จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม 8 คือ
1. ความยินดีในลาภ
2. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ
3. ความยินดีในยศ
4. ความยินร้ายในความเสอมยศ
5. ความยินดีในความสรรเสริญ
6. ความยินร้ายในความนินทา
7. ความยินดีในสุข
8. ความยินร้ายในทุกข์
นี้เรียกว่า จิตตปฏิฆาตในโลกธรรม 8.

[1015] อนริยโวหาร 8 เป็นไฉน ?
อนริยโวหาร 8 คือ
1. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น
2. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน
3. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้
4. เมื่อไม่รู้แจ้ง พูดว่ารู้แจ้ง
5. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น
6. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน
7. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้
8. เมื่อรู้แจ้ง พูดว่าไม่รู้แจ้ง
เหล่านั้นเรียกว่า อนริยโวหาร 8.
[1016] มิจฉัตตะ 8 เป็นไฉน ?
มิจฉัตตะ 8 คือ
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ 8.
[1017] ปุริสโทษ 8 เป็นไฉน ?
ปุริสโทษ 8 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกโจทด้วยอาบัติ
นั้นแก้ตัวด้วยความไม่มีสติว่า เราระลึกไม่ได้ ๆ ดังนี้ นี้จัดเป็นปุริสโทษ
ข้อที่ 1

2. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่
ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ได้โต้ตอบผู้โจทว่า ประโยชน์อะไรหนอ ด้วยการกล่าว

สำหรับท่านผู้โง่เขลา ผู้ไม่ฉลาด แม้ท่านยังสำคัญผิดที่จะกล่าวกะเรา ดังนี้
นี้จัดเป็น ปุริสโทษข้อที่ 2.
3. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่
ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น กลับปรับอาบัติแก่ภิกษุผู้โจทนั่นแหละว่า ท่านนั่นแหละ
ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน ดังนี้ นี้จัดเป็นปุริสโทษ
ข้อที่ 3.

4. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ
ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ยกเหตุอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอก
เรื่อง ทำเคือง ทำโกรธ ทำอาการไม่พอใจ นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ 4.
5. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ
ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น โบกมือปฏิเสธในท่ามกลางสงฆ์ นี้จัดเป็นปุริสโทษ
ข้อที่ 5.

6. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่
ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น นิ่งเสีย ทรมานสงฆ์ให้ลำบาก นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อ
ที่ 6.

7. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ
ที่ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อต่อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อต่อโจท หลีกไปเสีย
ตามชอบใจทั้งที่ยังต้องอาบัติอยู่ นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ 7.
8. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุในศาสนานี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่
ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น พูดอย่างนี้ว่า ทำไมหนอท่านจึงขวนขวายในเรานัก บัดนี้
เราจะลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์ เธอนั้นก็ลาสิกขาสึกไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้แลท่านทั้งหลายจงยินดีแช่มชื่นเถิด ดังนี้
นี้จัดเป็นปุริสโทษข้อที่ 8.

[1018] อสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน ?
อสัญญีวาทะ 8 คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่
ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา
2. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา
3. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป
เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
4. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูปก็ไม่ใช่ ที่
หารูปมิได้ก็มิใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า
ไม่มีสัญญา.
5. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
6. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่หาที่สุดมิได้ เบื้อง
หน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
7. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มี
ที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า ไม่มีสัญญา.
8. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุดก็ไม่ใช่ ที่หา
ที่สุดมิได้ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า
ไม่มีสัญญา.
เหล่านี้เรียกว่า อสัญญีวาทะ 8.

[1019] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 เป็นไฉน ?
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8 คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีรูป เบื้องหน้าแต่
ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
2. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีรูป เบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่
3. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป
เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่
มีสัญญาก็ไม่ใช่
4. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูป
ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็
ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
5. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่มีที่สุด เบื้องหน้า
แต่ตายย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่
6. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาที่ไม่มีที่สุดเบื้องหน้า
แต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ไม่ใช่
7. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและไม่มี
ที่สุด เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มีสัญญาก็
ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

8. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งถือว่า อัตตามีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มี
ที่สุด ก็ไม่ใช่ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่แปรผัน จึงบัญญัติอัตตานั้นว่า มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

เหล่านี้เรียกว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ 8.

นวกนิทเทส


[1020] ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ 9 เป็นไฉน ?
อาฆาตวัตถุ 9 คือ
1. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย
แก่เราแล้ว

2. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา

3. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย
แก่เรา

4. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว

5. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

6. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสีย
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา

7. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว