เมนู

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ
ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ
ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่
ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่
เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตอุเปกขา 6.
[1004] ทิฏฐิ 6 เป็นไฉน ?
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ดังนี้บ้าง ความ
เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความ
เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา ดังนี้
บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้นเป็นผู้กล่าว
เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยผลแห่งความดีและความชั่วในภพนั้น ๆ สิ้นกาลนาน
อัตตานั้นไม่เกิด ไม่ได้มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต
อัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืนมั่นคง ไม่แปรผัน ดังนี้บ้าง
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ 6.

สัตตกนิทเทส


[1005] ในสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย 7 เป็นไฉน ?
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย

เหล่านี้เรียกว่า อนุสัย 7.
[1006] ปริยุฏฐาน 7 เป็นไฉน ?
กามราคปริยุฏฐาน ปฏิฆปริยุฏฐาน มานปริยุฏฐาน ทิฏฐิปริยุฏฐาน
วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน ภวราคปริยุฏฐาน อวิชชาปริยุฏฐาน
เหล่านี้เรียกว่า ปริยุฏฐาน 7.
[1007] สัญโญชน์ 7 เป็นไฉน ?
กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์
วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์
เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ 7.
[1008] อสัทธรรม 7 เป็นไฉน ?
บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการศึกษาน้อย
เกียจคร้าน หลงลืมสติ ปัญญาทราม
เหล่านี้เรียกว่า อสัทธรรม 7.
[1009] ทุจริต 7 เป็นไฉน ?
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต 7.
[1010] มานะ 7 เป็นไฉน ?
มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉา-
มานะ
เหล่านี้เรียกว่า มานะ 7.

[1011] ทิฏฐิ 7 เป็นไฉน ?
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่าง
นี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป 4 เกิดโดยมีมารดา
และบิดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ. ย่อมไม่มี
ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะ
หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของ
สัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
2. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล้ว เราจะได้กล่าวว่า อัตตา
นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป ท่องเที่ยวอยู่
ในกามภูมิ มีอาหารคือคำข้าวเป็นภักษา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตา
นั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวก
หนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่
ด้วยประการอย่างนี้.
3. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา
นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป สำเร็จแล้วด้วยใจ
มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้

ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแลเบื้อง
หน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์
พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่
ด้วยประการอย่างนี้.
4. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้น
ไม่มีก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา มีอยู่แล
ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะ
อัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อม
ไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี
ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
5. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา
นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็น

อัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตา
นี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด
สูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
6. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา
นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยบริกรรมว่า อะไร ๆ น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจาย-
ตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้
เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญเพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตา
นี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาด
สูญ ควานพินาศ ควานไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
7. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตา
นั้นไม่มี ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา
ยตนฌาน เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่าน
ย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตา
นั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี
ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะ

หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของ
สัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ 7.

อัฏฐกนิทเทส


[1012] ในอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ 8 เป็นไฉน ?
โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ.
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ 8.
[1013] กุสีตวัตถุ 8 เป็นไฉน ?
กุสีตวัตถุ 8 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ มีการงานที่ต้องทำ เธอเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องทำการงานแล แต่เมื่อเราทำการงานอยู่ จักลำบากกาย อย่ากระนั้น
เลย เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่
ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้
จัดเป็นกุสีตวัตถุข้อที่ 1.
2. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่ ลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอนละ เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุคุณที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้จัดเป็น
กุสีตวัตถุข้อที่ 2.
3. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องเดินทางแล แต่เมื่อเราเดินทางไป จักลำบากกาย อย่ากระนั้นเลย