เมนู

เหตุเพียงเท่านี้ก็หามิได้ ข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุ สุขและความนึกคิดทางใจใด มี
อยู่ในตติยฌานนั้น ตติยฌานนี้ ย่อมปรากฏเป็นของหยาบเพราะสุขและความ
นึกคิดทางใจนั้น เมื่อใดแล อัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่าได้
บรรลุทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อม
บัญญัติทิฏฐธัมมนิพพานอันยอดเยี่ยมของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ 5.

ฉักกนิทเทส


[991] ในฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล 6 เป็นไฉน ?
ความโกรธ ความลบหลู่คุณท่าน ความริษยา ความโอ้อวด ความ
ปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน
เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล 6.
[992] ฉันทราคเคหสิตธรรม 6 เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อัน
อิงอาศัยกามคุณ ในรูปที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่น
ที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันอิงอาศัยกามคุณ
ในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม 6.
[993] วิโรธวัตถุ 6 เป็นไฉน ?
ความอาฆาต ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความ
ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในรูปที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่ไม่

น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ
ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ ความอาฆาต ควานกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ
ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่า
ชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ.
[994] ตัณหากายะ 6 เป็นไฉน ?
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
ตัณหา
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหากายะ 6.
[995] อคารวะ 6 เป็นไฉน ?
บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในพระศาสดา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ
ในพระธรรม ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระสงฆ์ ประพฤติเป็นไปอยู่
ฯลฯ ในสิกขา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในความไม่ประมาท ประพฤติ
เป็นไปอยู่ บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในการปฏิสันถาร ประพฤติเป็นไปอยู่
เหล่านี้เรียกว่า อคารวะ 6.
[996] ปริหานิยธรรม 6 เป็นไฉน ?
ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ
หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความยินดีในการอยู่ร่วมกัน ความ
ยินดีในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม 6.

[997] ปริหานิยธรรม 6 อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ?
ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ
หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มี
มิตรชั่ว
เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม 6.
[998] โสมนัสสุปวิจาร 6 เป็นไฉน ?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฟังเสียง
ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
เหล่านี้เรียกว่า โสมนัสสุปวิจาร 6.
[999] โทมนัสสุปวิจาร 6 เป็นไฉน ?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฟังเสียง
ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
เหล่านั้นเรียกว่า โทมนัสสุปวิจาร 6.
[1000] อุเปกขูปวิจาร 6 เป็นไฉน ?
เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา พึงเสียง
ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเขกขา

เหล่านี้เรียกว่า อุเปกขูปวิจาร 6.
[1001] เคหสิตโสมนัส 6 เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ควานเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันอิง อาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ
ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ ฯสฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ
อันเป็นที่ชอบใจ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่
สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่
เจโตสัมผัสอันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านั้นเรียกว่า เคหสิตโสมนัส 6.
[1002] เคหสิตโทมนัส 6 เป็นไฉน ?
ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย
เป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่
เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ
ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ
ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์
อันไม่เป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตโสมนัส 6.
[1003] เคหสิตอุเปกขา 6 เป็นไฉน ?
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข

อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ
ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ
ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่
ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่
เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตอุเปกขา 6.
[1004] ทิฏฐิ 6 เป็นไฉน ?
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ดังนี้บ้าง ความ
เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความ
เห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง
ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา ดังนี้
บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้นเป็นผู้กล่าว
เป็นผู้เสวย ย่อมเสวยผลแห่งความดีและความชั่วในภพนั้น ๆ สิ้นกาลนาน
อัตตานั้นไม่เกิด ไม่ได้มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต
อัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืนมั่นคง ไม่แปรผัน ดังนี้บ้าง
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ 6.

สัตตกนิทเทส


[1005] ในสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย 7 เป็นไฉน ?
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย