เมนู

อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
เหล่านั้น นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น.
[906] ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัย
กามคุณ ปรารภลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยลาภ
สักการะและชื่อเสียง.

[907] ความคิดเกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น เป็น
ไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเรา โดย
เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดย
ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย
ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึก
อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ในความไม่อยากให้ใคร
ดูหมิ่นนั้น นี้เรียกว่า ความคิดที่เกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น.

ทุกนิทเทส


[908] ในทุกมาติกาเหล่านั้น โกธะ ความโกรธ เป็นไฉน ?
ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่
คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย
สภาพที่คิดปองร้าย ความยินร้าย ความยินร้ายอย่างร้าย ความดุร้าย ความ
ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า โกธะ ความโกรธ.
อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้ เป็นไฉน ?

ความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความโกรธ ความโกรธในเวลาต่อมา
ชื่อว่า ความผูกโกรธไว้ ความผูกโกรธไว้อย่างนี้ กิริยาที่ผูกโกรธไว้ สภาพที่
ผูกโกรธไว้ ความตั้งไว้ ความทรงไว้ ความดำรงไว้ ความสั่งสมไว้ ความ
ผูกพันไว้ ความยึดมั่นไว้ซึ่งความโกรธ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
อุปนาหะ ความผูกโกรธไว้.
[909] มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน เป็นไฉน ?
ความลบหลู่คุณท่าน กิริยาที่ลบหลู่คุณท่าน สภาพที่ลบหลู่คุณท่าน
กิริยาที่ดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ การดูหมิ่นผู้มีบุญคุณ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน.
ปลาสะ ความตีเสมอ เป็นไฉน ?
ความตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ สภาพที่ตีเสมอ ความตีตัวเสมอ โดย
นำความชนะของตนมาอ้าง เหตุแห่งความวิวาท ความแข่งดี ความไม่ลดละ
อันใด นี้เรียกว่า ปลาสะ ความตีเสมอ.
[910] อิสสา ความริษยา เป็นไฉน ?
ความริษยา กิริยาที่ริษยา สภาพที่ริษยา ความเกียดกัน กิริยาเกียดกัน
สภาพที่เกียดกัน ในลาภ สักการะ การทำความเคารพ ความนับถือ การ
กราบไหว้ และการบูชา ของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสา ความริษยา.
มัจฉริยะ ความตระหนี่ เป็นไฉน ?
มัจฉริยะ ความตระหนี่ 5 อย่าง คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่
ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะและความตระหนี่ธรรม ความ
ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ สภาพที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น
ความปกปิด ความไม่เอาใจใส่ อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มัจ-
ฉริยะ ความตระหนี่.

[911] มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้ง
ความปรารถนาลามกไว้ เพราะมีความต้องการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ
ปรารถนาว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ดำริว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย พูดว่าใครอย่ารู้
ทันเราเลย พยายามด้วยกายว่าใครอย่ารู้ทันเราเลย ความเจ้าเล่ห์ ความเป็นคน
เจ้าเล่ห์ กิริยาที่ทำให้หลง ความลวง ความโกง ความกลบเกลื่อน ความ
หลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนบัง ความปกปิด ความปิดบัง ความไม่เปิด
เผย ความไม่ทำให้แจ้ง ความปิดมิดชิด การกระทำที่ชั่ว อันใด มีลักษณะ
เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มายา ความเจ้าเล่ห์.
สาเถยยะ ความโอ้อวด เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้โอ้อวดมาก การโอ้อวด
สภาพที่โอ้อวด ความโอ้อวด ความกระด้าง สภาพที่กระด้าง การพูดเป็น
เหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ของบุคคลนั้น อันใด นี้เรียกว่า
สาเถยยะ ความโอ้อวด.
[912] อวิชชา ความไม่รู้ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ
อันใด นี้เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้.
ภวตัณหา ความปรารถนาภพ เป็นไฉน ?
ความพอใจในภพ ความยินดีในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความ
ปรารถนาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ
ความหมกมุ่นในภพ อันใด นี้เรียกว่า ภวตัณหา ความปรารถนาภพ.

[913] ภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเกิด เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ
ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ภวทิฏฐิ
ความเห็นว่าเกิด.

วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า อัตตาจักไม่มีและโลกจักไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิ ความเป็นไป
ข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
วิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เกิด.
[914] สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า อัตตาเที่ยงและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้าง
ทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง.
อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า อัตตาจักขาดสูญและโลกจักขาดสูญ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้
เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ.
[915] อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า อัตตามีที่สุด และโลกมีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็น
ไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส ความเห็นว่าไม่มีที่สุด อันใด มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่ามีที่สุด.
อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด เป็นไฉน ?

ความเห็นว่า อัตตาไม่มีที่สุด และโลกไม่มีที่สุด ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า อนันตวาทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีที่สุด.
[916] ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอดีต เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด
ปรารภส่วนอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ
ส่วนอดีต.

อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภส่วนอนาคต เป็นไฉน ?
ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด
ปรารภส่วนอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นปรารภ
ส่วนอนาคต.

[917] อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต เป็น
ไฉน ?
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่
ละอายต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า อหิริกะ
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริต.

อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต เป็น
ไฉน ?
ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว
ความไม่เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า
อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต.

[918] โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก เป็นไฉน ?
กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ว่ายาก สภาพที่เป็นผู้ว่ายาก ความ
ยึดถือข้างขัดขืน ความพอใจทางโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ
ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยสหธรรม นี้เรียกว่า
โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก.
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน ?
บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล มีการศึกษาน้อย มีความตระหนี่
มีปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบ
ด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดีแก่บุคคลเหล่านั้น ความเป็นผู้โน้มน้าวไป
ตามบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.
[919] อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง เป็นไฉน ?
ความไม่ตรง สภาพที่ไม่ตรง ความคด ความโค้ง ความงอ อันใด
นี้เรียกว่า อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง.
อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน เป็นไฉน ?
ความไม่อ่อนน้อม สภาพที่ไม่อ่อนน้อม ความกระด้าง ความหยาบ-
คาย สภาพที่กระด้าง ความแข็งกระด้าง ความถือรั้น ความไม่อ่อนน้อม
อันใด นี้เรียกว่า อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน.
[920] อขันติ ความไม่อดทน เป็นไฉน ?
ความไม่อดทน สภาพที่ไม่อดทน ความไม่อดกลั้น ความดุร้าย
ความปวดร้าว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อขันติ ความ
ไม่อดทน.

อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม เป็นไฉน ?

ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด
ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม ความ
เป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า อโสรัจจะ ความไม่สงบเสงี่ยม.
[921] อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน เป็นไฉน ?
วาจาใด เป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบผู้อื่น ยั่ว
ให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลพูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่
อ่อนหวาน ความเป็นผู้มีวาจาไม่สละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบในลักษณะ
ดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อน
หวาน.

อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร เป็นไฉน ?
ปฏิสันถาร 2 คือ อามิสปฏิสันถาร 1 ธัมมปฏิสันถาร 1 บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ทำการปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถาร หรือด้วยธัมม-
ปฏิสันถาร นี้เรียกว่า อัปปฏิสันถาระ ความไม่มีการปฏิสันถาร.
[922] อินทริยอคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่สำรวมใน
อินทรีย์ 6
เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้
ถืออนุพยัญชนะ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึง
ครอบงำบุคคลนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์
ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น
ไม่สำเร็จการสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ สูดกลิ่น
ด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
แล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ
บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส พึงครอบงำบุคคลนั้น

ผู้ไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ เพราะการไม่สำรวมมนินทรีย์ใดเป็นเหตุ ย่อมไม่
ปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่สำเร็จการสำรวมใน
มนินทรีย์นั้น.
การไม่คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง การไม่รักษา การไม่สำรวม
ซึ่งอินทรีย์ 6 เหล่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อินทริยอคุตตทวารตา ความ
เป็นผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ 6.

โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร เป็น
ไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อ
เล่น เพื่อมัวเมา เพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม เพื่อความอ้วนพี ความไม่สันโดษ
ความไม่รู้ประมาณ ความไม่พิจารณา ในโภชนาหารนั้น อันใด นี้เรียกว่า
โภชนอมัตตัญญุตา ความไม่รู้ประมาณในโภชนาหาร.
[923] มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ เป็นไฉน ?
ความระลึกไม่ได้ ความตามระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความ
ระลึกไม่ได้ สภาพที่ระลึกไม่ได้ สภาพที่ทรงจำ ความเลื่อนลอย ความหลง
ลืม อันใด นี้เรียกว่า มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้ไม่มีสติ.
อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ
อันใด นี้เรียกว่า อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ.
[924] สีลวิปัตติ ควานวิบัติแห่งศีล เป็นไฉน ?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิด
ทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล. ความ
ความทุศีลแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า สีลวิปัตติ ความวิบัติแห่งศีล.

ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญา
อันยิ่งด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือเอาโดยวิปลาส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ. มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ก็
เรียกว่า ทิฏฐิวิปัตติ ความวิบัติแห่งทิฏฐิ.
[925] อัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน เป็นไฉน ?
สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 จัดเป็นอัชฌัตตสัญโญชนะ สัญโญชน์ภายใน
สัญโญชน์เบื้องสูง 5 จัดเป็นพหิทธาสัญโญชนะ สญโญชน์ภายนอก.

ติกนิทเทส


[926] ในติกมาติกาเหล่านั้น อกุศลมูล 3 เป็นไฉน ?
โลภะ โทสะ โมหะ.
บรรดาอกุศลมูล 3 นั้น โลภะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่
ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรม-
ชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด
ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติ
เหมือนเส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็น