เมนู

ภิกษุทั้งหลาย ที่อยู่อันประเสริฐ 10 เหล่านั้น คือ พระอริยะทั้งหลาย อาศัยแล้ว
หรือย่อมอาศัย หรือว่า จักอาศัย . . .ใด ดังนี้. จริงอยู่ สูตรนี้ ย่อมส่องซึ่ง
ความที่มรรคเป็นที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้น คำนั้น จึงเป็นคำอันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบว่า ธรรมนี้เป็นอาสยะของ
สัตว์ทั้งหลาย และย่อมทรงทราบแม้ในขณะแห่งบุคคลผู้มีความเห็นผิดเหล่านั้น
ว่า ไม่สามารถเพื่อยังวิปัสสนาญาณและมรรคญาณให้เป็นไปด้วย. แม้คำนี้ ก็
ทรงอธิบายไว้ว่า เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกามนั่นแหละ ก็ย่อมทราบว่า บุคคลนี้
ชื่อว่า มีกามเป็นใหญ่ มีกามเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในกาม ดังนี้ เมื่อ
เสพอยู่ซึ่งเนกขัมมะนั่นแหละ ก็ทราบว่า บุคคลนี้มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ มีเนก-
ขัมมะเป็นอัธยาศัย มีการน้อมไปในเนกขัมมะ ดังนี้ เมื่อเสพพยาบาท ฯลฯ
ความไม่พยาบาท ฯลฯ ถีนมิทธะ ฯลฯ เมื่อเสพอยู่ซึ่งอาโลกสัญญานั่นแหละ
ย่อมทราบว่า บุคคลนี้ มีอาโลกสัญญาเป็นใหญ่ มีอาโลกสัญญาเป็นอัธยาศัย
มีการน้อมไปในอาโลกสัญญา ดังนี้.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งอนุสัย


พึงทราบในนิทเทสแห่งอนุสัย ดังนี้. ก็ชื่อว่า กามราคานุสัย เพราะ
กามราคะนั้นด้วย เป็นธรรมนอนเนื่องเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ด้วย. แม้ในบท
ที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. คำว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ ได้แก่ รูปใด อันให้ความ
รักเกิดขึ้นในโลกนี้. คำว่า สาตรูปํ ได้แก่ รูปที่ยังความพอใจให้เกิดขึ้นเป็น
อารมณ์ที่น่าปรารถนา มีความพอใจเป็นปทัฏฐาน. ราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมนอนเนื่องในปิยรูปและสาตรูปนี้ เพราะเหตุนั้น ราคานุสัยจึงชื่อว่า ย่อม

นอนเนื่องในสัตว์ทั้งหลายในอารมณ์ที่น่าปรารถนานี้เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้.
เปรียบเหมือน เมื่อสัตว์จมลงในน้ำแล้ว น้ำเท่านั้น ย่อมมีข้างล่าง ข้างบนและ
โดยรอบ ชื่อฉันใด ชื่อว่าความเกิดขึ้นแห่งราคะในอารมณ์ที่น่าปรารถนาก็ฉัน
นั้นนั่นแหละ ย่อมมีแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้เคยสั่งสมมาแล้วเป็นนิตย์.
ความเกิดขึ้นแห่งปฏิฆะในเพราะอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ก็เหมือนกัน. คำว่า
อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้ง 2 นี้ ด้วยอาการอย่าง
นี้) ได้แก่ บุคคลมีกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยเหล่านั้น มีอิฏฐารมณ์และอนิฏ-
ฐารมณ์ ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า อวิชชา อนุปติตา (แปลว่า อวิชชาตก
ไปแล้ว) ได้แก่ อวิชชาเป็นธรรมสัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะ จึงชื่อว่า
เป็นธรรมตกไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการกระทำซึ่งอารมณ์. คำว่า ตเทกฏฺโฐ
(แปลว่า ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน) ได้แก่ ชื่อว่าตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับ
อวิชชานั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน โดยความเป็นธรรม
ที่ประกอบด้วยอวิชชา. คำว่า มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ มานะ
9 อย่าง ทิฏฐิ 62 อย่าง และวิจิกิจฉามีวัตถุ 8. ก็ในคำว่า ภวราคานุสัย นี้
บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วยกามราคานุสัย
นั่นแหละ.

ว่าด้วยนิทเทสแห่งจริต เป็นต้น


ในนิทเทสแห่งจริต ได้แก่ เจตนาอันเป็นปุญญาภิสังขาร 13
อปุญญาภิสังขาร 12 อเนญชาภิสังขาร 4. ในเจตนาเหล่านั้น กามาวจร
เป็นปริตตภูมิ (มีอารมณ์น้อย) นอกนี้เป็นมหาภูมิ (มีอารมณ์ใหญ่).
อีกอย่างหนึ่ง ในสังขารแม้ทั้ง 3 เหล่านั้น สังขารไร ๆ มีวิบากเล็ก
น้อย พึงทราบว่าเป็นปริตตภูมิ มีวิบากมากพึงทราบว่าเป็นมหาภูมิ ดังนี้.