เมนู

เป็นต้นว่า กตโม จ สตฺตานํ อาสโย (แปลว่า ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย)
เป็นไฉน.
ก็เนื้อความแห่งคำว่า สสฺสโต โลโก (แปลว่า โลกเที่ยง) เป็นต้น
ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในนิกเขปกัณฑ์วรรณนา ในหนหลังนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า อิติ ภวทิฏฺฐิสนฺนิสฺสิตา วา (แปลว่า อาศัยภวทิฏฐิ) ได้แก่ สัตว์ทั้ง
หลายผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. จริงอยู่ สัสสตทิฏฐิ พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสว่า ภวทิฏฐิ ในที่นี้. อุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวทิฏฐิ.
ด้วยว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิดทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมอาศัยทิฏฐิทั้งสองเหล่า
นี้เท่านั้น เพราะว่าทิฏฐิทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย
สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ. แม้คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
กัจจายนะ ก็แลสัตว์โลก อาศัยทิฏฐิทั้งสองนี้โดยมาก คือ เห็นว่า (สิ่งทั้งปวง)
มีอยู่ (อตฺถิตํ) และ (สิ่งทั้งปวง) ไม่มีอยู่ (นตฺถิตํ) ดังนี้. ก็ในทิฏฐิ
ทั้งสองนั้น ความเห็นว่าเที่ยง ชื่อว่า อัตถิตา (ความมีอยู่) ความเห็นว่าขาด
สูญ ชื่อว่า นัตถิตา (ความไม่มี). นี้เป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็น
ปุถุชน ซึ่งอาศัยวัฏฏะก่อน.

ว่าด้วยอาสยะของสัตว์ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อแสดงอาสยะของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่
อาศัยวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอเต วา ปน อุโภ
อนฺเต อนุปคมฺม
(แปลว่า ก็หรือว่า สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุด
ทั้ง 2 นี้)
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอเต วา ปน ได้แก่ ก็หรือว่า สัตว์
เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า อุโภ อนฺเต ได้แก่ ส่วนสุด 2 อย่าง กล่าวคือ

สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า อนุปคมฺม ได้แก่ ไม่ยึดถือแล้ว. คำว่า
อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ (แปลว่า ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และอาศัยกันและกันเกิดขึ้น) ได้แก่ ในธรรมทั้ง
หลาย อันเป็นปัจจัยของกันและกัน และธรรมทั้งหลายอันอาศัยกันและกันเกิด
ขึ้น. คำว่า อนุโลมิกา ขนฺติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ. คำว่า ยถาภูตํ วา
ญาณํ
ได้แก่ มรรคญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า วิปัสสนาอัน
พระโยคาวจรไม่อาศัยซึ่งส่วนสุด 2 คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น ใน
ปฏิจจสมุปบาท (คือในการเกิดขึ้นแห่งอวิชชาเป็นต้น) และในธรรมอันอาศัย
กันและกันเกิดขึ้น อันใด และมรรคญาณอันยิ่งกว่าวิปัสสนาญาณนั้น อันใด
นี้เรียกว่า อาสยะ ของสัตว์ทั้งหลาย และข้อนี้แหละเป็นอาสยะของสัตว์ทั้ง
หลายแม้ทั้งหมดผู้อาศัยวัฏฏะและไม่อาศัยวัฏฏะ จึงชื่อว่า นี้เป็นที่อยู่อาศัยของ
สัตว์ทั้งหลาย.

ถ้อยคำของอาจารทั้งหลาย


ก็อาจารย์วิตัณฑวาที (ผู้มีปกติกล่าวเคาะ) กล่าวว่า ธรรมดาว่า
มรรคทำลายที่อยู่ ย่อมไป มิใช่หรือ
เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า
มรรค คือ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงโต้อาจารย์นั้นว่า ท่านมีสูตร
อันว่าด้วยที่เป็นที่อยู่อันเป็นของพระอริยะหรือไม่ ก็ถ้าว่า อาจารย์วิตัณทวาที
กล่าวว่า มีอยู่ ก็พึงกล่าวกะอาจารย์วิตัณฑวาทีนั้นว่า ท่านไม่รู้ เพราะสูตร
นั้นท่านไม่ท่องไว้ ถ้าอาจารย์วิตัณฑวาทีกล่าวว่า กระผมสวดอยู่ดังนี้ พึงกล่าว
ว่า ขอท่านจงนำสูตรมา ดังนี้ ถ้าว่าอาจารย์วิตัณฑวาทีนำมา นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่นำมา ก็พึงนำมาเองว่า ทสยิเม ภิกฺขเว อริยวาสา ยทิริยา
อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาวสิสฺสนฺติ วา
เป็นต้น (แปลว่า ดูก่อน