เมนู

เป็นต้นว่า กตโม จ สตฺตานํ อาสโย (แปลว่า ก็อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย)
เป็นไฉน.
ก็เนื้อความแห่งคำว่า สสฺสโต โลโก (แปลว่า โลกเที่ยง) เป็นต้น
ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในนิกเขปกัณฑ์วรรณนา ในหนหลังนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า อิติ ภวทิฏฺฐิสนฺนิสฺสิตา วา (แปลว่า อาศัยภวทิฏฐิ) ได้แก่ สัตว์ทั้ง
หลายผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. จริงอยู่ สัสสตทิฏฐิ พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสว่า ภวทิฏฐิ ในที่นี้. อุจเฉททิฏฐิ ตรัสเรียกว่า วิภวทิฏฐิ.
ด้วยว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิดทั้งปวงเหล่านั้น ย่อมอาศัยทิฏฐิทั้งสองเหล่า
นี้เท่านั้น เพราะว่าทิฏฐิทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไว้ด้วย
สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ. แม้คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
กัจจายนะ ก็แลสัตว์โลก อาศัยทิฏฐิทั้งสองนี้โดยมาก คือ เห็นว่า (สิ่งทั้งปวง)
มีอยู่ (อตฺถิตํ) และ (สิ่งทั้งปวง) ไม่มีอยู่ (นตฺถิตํ) ดังนี้. ก็ในทิฏฐิ
ทั้งสองนั้น ความเห็นว่าเที่ยง ชื่อว่า อัตถิตา (ความมีอยู่) ความเห็นว่าขาด
สูญ ชื่อว่า นัตถิตา (ความไม่มี). นี้เป็นอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็น
ปุถุชน ซึ่งอาศัยวัฏฏะก่อน.

ว่าด้วยอาสยะของสัตว์ผู้ไม่อาศัยวัฏฏะ


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อแสดงอาสยะของสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่
อาศัยวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอเต วา ปน อุโภ
อนฺเต อนุปคมฺม
(แปลว่า ก็หรือว่า สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าไปอาศัยส่วนสุด
ทั้ง 2 นี้)
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอเต วา ปน ได้แก่ ก็หรือว่า สัตว์
เหล่านั้นนั่นแหละ. คำว่า อุโภ อนฺเต ได้แก่ ส่วนสุด 2 อย่าง กล่าวคือ