เมนู

กรรมในปฏิสัมภิทามรรค


บัณฑิต ครั้งแสดงกำลังข้อที่ 2 ด้วยสามารถแห่งพระบาลีด้วยอาการ
อย่างนี้ก่อนแล้ว พึงแสดงโดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคนี้ว่า อโหสิ กมฺมํ
อโหสิ กมฺมวิปาโก
ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น อโหสิ กมฺมํ (แปลว่า
กรรมได้มีแล้ว) ได้แก่ กรรมอันสั่งสมแล้วในอดีต ก็ได้มีแล้วในอดีตนั่นแหละ
และคำว่า อโหสิ กมฺมวิปาโก (แปลว่า กัมมวิบากคือผลของกรรม
ได้มีแล้ว) นี้ ท่านกล่าวไว้หมายเอาวิบากอันให้ผลแล้วในอดีตนั้น ก็บรรดา
กรรมทั้งหลายแม้มาก มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรมเป็นต้น (กรรมให้ผลใน
ภพปัจจุบัน) กรรมอย่างหนึ่งให้ผลในภพปัจจุบันแล้ว กรรมที่เหลือย่อมไม่
ให้ผล. กรรมอย่างหนึ่งให้ผลเป็นอุปปัชชเวทนียะให้ปฏิสนธิแล้ว กรรมที่
เหลือทั้งหลายย่อมไม่ให้ผล. กรรมอย่างหนึ่งให้เกิดในนรกด้วยอนันตริยกรรม
หนึ่งแล้ว กรรมทั้งหลายที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. บรรดาสมาบัติ 8 สมาบัติหนึ่ง
ให้ผลเกิดในพรหมโลก กรรมที่เหลือย่อมไม่ให้ผล. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า
กัมมวิบากไม่ได้มีแล้ว ซึ่งหมายเอาคำดังกล่าวนี้.
อนึ่ง บุคคลใดทำกรรมอันเป็นกุศลและอกุศลแม้มาก อาศัยกัลยาณ-
มิตรแล้วย่อมบรรลุพระอรหัตได้ ดังนั้น กัมมวิบากนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้มี
แล้วแก่พระอรหันต์นั้น. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในอดีต ย่อมให้ผลในภพนี้
กรรมนั้นชื่อว่า ได้มีแล้ว แต่ชื่อว่า กัมมวิบาก ยังมีอยู่. กรรมใดย่อมถึงซึ่ง
ความเป็นอวิบาก (คือไม่ให้ผล) โดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นได้มีแล้ว
ชื่อว่ากัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้ว ในอดีตจักให้ผลในอนาคต
กรรมนั้นได้มีแล้ว ชื่อว่ากัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักปรากฏเป็นอวิบากโดย
นัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นได้มีแล้ว ชื่อว่ากัมมวิบาก จักไม่มี. กรรมใดอัน

สั่งสมในภพนี้ จะให้ผลในภพนี้นั่นแหละ กรรมนั้นย่อมมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบาก
ก็มีอยู่ กรรมใดย่อมปรากฏเป็นอวิบากโดยนัยก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่
ชื่อว่ากัมมวิบากย่อมไม่มี. กรรมใดอันสั่งสมแล้วในภพนี้จักให้ผลในอนาคต
กรรนนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักมี. กรรมใดจักถึงความเป็นอวิบากโดยนัย
ก่อนนั่นแหละ กรรมนั้นมีอยู่ ชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี. กรรมใดแม้ตัวเองเป็น
อนาคต แม้วิบากของกรรมนั้นก็เป็นอนาคต กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากก็
จักมี. กรรมใดตัวเองจักมี จักถึงความเป็นอวิบาก (ไม่ให้ผล) โดยนัยก่อน
นั่นแหละ กรรมนั้นจักมีชื่อว่ากัมมวิบากจักไม่มี.
คำว่า อิทํ ตถาคตสฺส (แปลว่า นี้เป็นกำลังของพระตถาคต) นี้
บัณฑิตพึงทราบ ญาณเครื่องกำหนดรู้ความแตกต่างแห่งกรรมและวิบากของ
พระตถาคต โดยอาการแม้ทั้งปวงเหล่านั้นชื่อว่าเป็นกำลังข้อที่ 2 เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว ดังนี้.
นิทเทสแห่งกำลังที่สอง จบ

อธิบายญาณอันเป็นกำลังข้อที่ 3


คำว่า ทาง (มรรค) หรือว่า ปฏิปทา นี้ เป็นชื่อของกรรมนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นิรยคามินี (แปลว่า ไปสู่นรก) เป็นต้น ชื่อว่า
นรก เพราะอรรถว่าที่เป็นที่ไม่ชอบใจ และเพราะอรรถว่าที่เป็นที่อันหาความ
ยินดีมิได้. ชื่อว่า เดรัจฉาน เพราะอรรถว่า เคลื่อนไหวอัตภาพไปตาม
ขวาง ไม่เหยียดตรงขึ้นไป. เดรัจฉานนั่นแหละ ชื่อว่า กำเนิดสัตว์เดรัจ-
ฉาน.
ชื่อว่า เปรต (ปิตติ) เพราะความเป็นผู้ละไปแล้ว อธิบายว่า เพราะ
ความที่ตนละโลกนี้ไปแล้ว. เปรตนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตติวิสัย.