เมนู

เกิดขึ้น ฉันใด กายสุจริตเป็นต้น ย่อมให้วิบากอันน่าปรารถนา น่าชอบใจ
ให้เกิดขึ้น ย่อมไม่ยังวิบากอันไม่น่าปรารถนาให้เกิดขึ้น ฉันนั้น.
สมจริงดังที่ได้ตรัสไว้ว่า
ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ หรเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ1
แปลว่า
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี
ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่กายทุจจริตเป็น
ต้น จะพึงให้ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจนั้น ไม่ใช่ฐานะ
ไม่ใช่โอกาส ดังนี้ เป็นต้น.


อธิบายบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริตเป็นต้น


คำว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อม ในคำว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริต
เป็นต้น ได้แก่ความพรั่งพร้อม 5 อย่าง คือ
อายูหนสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา)

เจตนาสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยเจตนา)
กมฺมสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยกรรม)
วิปากสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยวิบาก)
อุปฏฺฐานสมงฺคิตา (ความพรั่งพร้อม ด้วยการปรากฏ)
1. ขุ.ชา. 27/ข้อ 294

ในความพรั่งพร้อมเหล่านั้น ในขณะแห่งการประมวลมาซึ่งกุศลกรรม
และอกุศลกรรม เรียกว่า อายูหนสมังคิตา. เจตนาสมังคิตา ก็เหมือน
กัน. ก็สัตว์แม้ทั้งหมดยังไม่บรรลุพระอรหัตตราบใด ตราบนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยกรรม เพราะหมายเอากรรม
อันเหมาะสมกับวิบากที่สั่งสมไว้ในก่อน ฉะนั้นข้อนี้จึงชื่อว่า กัมมสมังคิตา
แต่ วิปากสมังคิตา พึงทราบในขณะแห่งการให้ผล.
ก็ตราบใด สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตแห่งการเกิด
ขึ้น ย่อมปรากฏอย่างนี้คือ เมื่อสัตว์เหล่านั้นท่องเที่ยวไปแต่ที่นั้น ๆ เมื่อจะ
เข้าถึงนรกก่อน นรกย่อมปรากฏโดยอาการอันตั้งขึ้นมีเปลวไฟในโลหกุมภีเป็น
ต้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึงความเป็นคัพภเสยยกะ (เกิดในครรภ์) ท้อง
ของมารดาย่อมปรากฏ เมื่อจะบังเกิดในเทวโลก เทวโลกย่อมปรากฏ โดย
อาการทั้งหลายมีต้นกัลปพฤกษ์ (ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ตลอดกัป) และวิมาน เป็นต้น
ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า อุปัฏฐานสมังคิตา เพราะความที่สัตว์
เหล่านั้นไม่พ้นไปจากการปรากฏแห่งนิมิตแห่งการเกิด ดังกล่าวมานี้.
อุปัฏฐานสมังคิตานั้นแล ย่อมเคลื่อน (ไม่คงที่) ที่เหลือไม่เคลื่อน
จริงอยู่ เมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกย่อมปรากฏก็ได้ เมื่อเทวโลกแม้
ปรากฏแล้ว นรกย่อมปรากฏก็ได้. เมื่อมนุษยโลกแม้ปรากฏแล้ว กำเนิดสัตว์
เดรัจฉาน ย่อมปรากฏก็ได้ และเมื่อกำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉานแม้ปรากฏแล้ว
มนุษยโลกย่อมปรากฏก็ได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น ในข้อนี้ มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์
ดังนี้.
ได้ยินว่า ที่เชิงเขาโสณะ มีพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง ชื่อว่า โสณเถระ
อยู่ในปิปผลิวิหาร บิดาของท่านเป็นนายพราน ชื่อว่า สุนักขวาชิกะ พระเถระ

แม้ห้ามบิดาอยู่อย่างไร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อไห้ตั้งอยู่ในความสังวร จึงคิดว่า บิดา
ผู้น่าสงสาร จงอย่าฉิบหายเสียเลย ดังนี้ จึงให้บิดาผู้ไม่ประสงค์จะบวช ได้
บวชแล้วในเวลาเป็นคนแก่ เมื่อบิดานอนในที่นอนของคนป่วย (หมายถึงกำลัง
ป่วย) นรกได้ปรากฏแล้ว (อารมณ์ของนรก) คือ มีพวกสุนัขใหญ่ ๆ มา
แต่เชิงเขาโสณะแล้วก็แวดล้อม ราวกะต้องการจะเคี้ยวกิน บิดาของพระเถระ
กลัวต่อภัยอันใหญ่ จึงเรียกพระเถระว่า พ่อโสณะ จงห้าม พ่อโสณะ จงห้าม
ดังนี้. พระเถระ จึงถามว่า อะไรกัน, บิดาของท่านจึงกล่าวว่า พ่อไม่เห็น
หรือ แล้วบอกเหตุเป็นไปนั้น.
พระเถระดำริว่า บิดาของผู้เช่นกับเรา ขึ้นชื่อว่า จักเกิดในนรกได้
อย่างไร เราจักเป็นที่พึงให้แก่บิดา ดังนี้ แล้วให้สามเณรทั้งหลายนำดอกไม้
ต่าง ๆ มาให้แล้วกระทำซึ่งการบูชา โปรยด้วยดอกไม้ และบูชาที่บนตั่ง ที่
ลานเพระเจดีย์ และที่ลานโพธิ์ทั้งหลาย แล้วนำบิดามาสู่ลานของพระเจดีย์ด้วย
เตียง (หามมาด้วยเตียง) ให้นอนบนเตียงแล้วกล่าวกะบิดาว่า ข้าแต่มหาเถระ
การบูชาของข้าพเจ้านี้ ทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน ท่านจงกล่าวว่า ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นบรรณาการของข้าพเจ้าผู้ทุคคตะ ดังนี้ แล้วจงถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระเจดีย์) แล้วกล่าวว่า ขอจงยังจิตให้เสื่อมใส
ดังนี้.
มหาเถระ (บิดา) นั้นเห็นการบูชา เมื่อจะกระทำอย่างนั้น ยังจิต
ให้เลื่อมใสแล้ว ขณะนั้นนั่นแหละ เทวโลกปรากฏแล้ว (กรรมนิมิตอารมณ์)
แก่มหาเถระนั้น คือ นันทวัน จิตรลดา มิสสกวัน ปารุสกวัน วิมานและการ
ฟ้อนรำของเทพอัปสรทั้งหลาย ได้มีแล้วเป็นราวกะมายืนแวดล้อม มหาเถระ
นั้น จึงกล่าวว่า โสณะ (พระเถระลูกชาย) จงหลีกไป โสณะ จงหลีกไป

ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า นี้อะไร มหาเถระ. มหาเถระกล่าวว่า หญิงเหล่านี้.
จะมาเป็นมารดาของท่าน ดังนี้. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏขึ้นแก่มหาเถระ
แล้ว ดังนี้
บัณฑิต พึงทราบว่า อุปัฏฐานสมิงคิตา ย่อมไม่คงที่ด้วยประการ
ฉะนี้.

ในบรรดาความพรั่งพร้อม (สมังคิตา) เหล่านั้น คำว่า ความ
พรั่งพร้อมด้วยกายทุจจริตเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วในที่นี้ ด้วย
สามารถแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอายูหนะ เจตนา และกรรม ดังนี้. คำที่เหลือ
ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อธิบายกำลังที่ 1 ของพระตถาคต จบ

อธิบายกำลังที่ 2 ของพระตถาคต


ว่าด้วยกรรมสมาทานอันเป็นบาป


คำว่า คติสมฺปตฺติปฏิพาฬฺหานิ (แปลว่า อันคติสมบัติห้ามไว้)
อธิบายว่ากัมมสมาทานอันเป็นบาป อันคติสมบัติห้ามไว ป้องกันไว้ และ
ปฏิเสธแล้ว. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้.
อนึ่ง ในคำว่า คติสมบัติ* นี้ ได้แก่ คติที่สมบูรณ์ คือเทวโลก
และ มนุษยโลก.
คำว่า คติวิบัติ ได้แก่ คติชั่ว คืออบายภูมิ 4.
ความสำเร็จด้วยดีในอัตภาพ ชื่อว่า อุปธิสมบัติ.

*. สมบัติ 4 คติสมบัติ อุปธิสมบัติ กาลสมบัติ ปโยคสมบัติ, วิบัติ 4 คือ คติวิบัติ อุปธิวิบัติ
กาลวิบัติ ปโยควิบัติ.