เมนู

สองพระองค์จึงชื่อว่า จึงไม่เกิดขึ้นในจักรวาลเดียวกัน เพราะเข้าไปตัดความ
วิวาท เพราะความไม่อัศจรรย์ และเพราะความมีอานุภาพมาก (มีมากแห่ง)
ของจักรรัตนะ.

อธิบายหญิงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม่ได้


ในข้อว่า ยํ อิตฺถี อรหํ อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (แปลว่าหญิงจะ
พึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) นี้ อธิบายว่า ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้
สามารถข้ามโลกเพราะยังคุณคือ สัพพัญญู ให้เกิดขึ้นนั้น จงยกไว้ก่อน แม้
เหตุสักว่าการตั้งปณิธาน (การตั้งความปรารถนา) ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่หญิง.
มนุสฺสตฺตํ ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสนํ
ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺตํ อธิกาโร จ ฉนฺทตา
อฏฺฐธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ
แปลว่า
จริงอยู่ เหตุอันเป็นปณิธานสมบัติเหล่านี้ คือ อภินีหาร (ความ
ปรารถนาดังใจจริง) ย่อมสำเร็จพร้อมเพราะธรรมสโมธาน (การประชุมแห่ง
ธรรม) 8 ประการ คือ
1. มนุสฺสตฺตํ (เมื่อตั้งความปรารถนา ต้องเป็นมนุษย์)
2. ลิงฺคสมฺปตฺติ (ลิงคสมบัติคือเป็นเพศชาย)
3. เหตุ (มีเหตุคือสร้างกุศลมาก สมควรจะเป็นพระอรหันต์
ได้)

4. สตฺถารทสฺสนํ (พบพระพุทธเจ้าและได้รับพยากรณ์)
5. ปพฺพชฺชา (บวชเป็นภิกษุ สามเณร หรือฤาษีผู้เป็น
กัมมวาที)

6. คุณสมปตฺติ (บริบูรณ์ด้วยคุณ คือ ฌานสมาบัติและ
อภิญญา)

7. อธิกาโร (การกระทำกุศลอันยิ่งใหญ่)
8. ฉนฺทตา (พอใจในโพธิญาณ)
ความตั้งปณิธานปรารถนาเพื่อให้ถึงความเป็นพระสัมพุทธเจ้าได้ด้วย
อาการอย่างนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้าของหญิงผู้ไม่สามารถจักมีแต่ที่ไหน
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
ดังนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง ธรรมเครื่องอาศัยคือบุญ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ย่อมยังอัตภาพ
อันเต็มด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น บุรุษเท่านั้น
ย่อมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ มิใช่หญิง.
แม้ในข้อว่า ยํ อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (แปลว่า ข้อที่
ว่าหญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) เป็นต้น อธิบายว่า ลักษณะทั้งหลาย
(มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ) ของหญิง ชื่อว่า ย่อมไม่บริบูรณ์ เพราะ
ความไม่มีซึ่งลักษณะทั้งหลาย มีคุยหะซ่อนลับอยู่ในฝัก ดุจคุยหะแห่งโคและ
ช้างเป็นต้นและชื่อว่าเป็นผู้ไม่พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ 7 เพราะความไม่มีอิตถี-
รัตนะ (นางแก้ว) อนึ่ง อัตภาพอันยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวงก็ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ข้อที่หญิงจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ไม่
ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดังนี้. แม้ความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น (พระอินทร์
พระยามาร มหาพรหม) ทั้ง 3 เป็นตำแหน่งสูง แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ำ
เหตุใด เพราะฉะนั้น แม้ความที่หญิงนั้นจะพึงเป็นท้าวสักกะเป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงทรงปฏิเสธแล้ว.

ถามว่า เพศหญิง ไม่มีในพรหมโลก ฉันใด แม้เพศชาย ก็ฉัน
นั้น มิใช่หรือ เพราะฉะนั้น บุรุษพึงทำความเป็นพรหมด้วยเหตุใด เหตุนั้น
ก็ไม่พึงกล่าวว่า แม้ฐานะนั้น (คือเพศชาย) มีอยู่ ดังนี้.
ตอบว่า ไม่พึงกล่าว หามิได้.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะความที่บุรุษในโลกนี้ บังเกิดขึ้นในพรหมโลกนั้นมี
อยู่. จริงอยู่ความบังเกิดเป็นมหาพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์
เอาในคำว่า พฺรหฺมตฺตํ (แปลว่า ความเป็นพรหม). ส่วนหญิง เจริญฌาน
ในโลกนี้ ทำกาละแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชาทั้งหลาย
(หมายถึงพรหมผู้เป็นบริษัทของมหาพรหม) มิใช่บังเกิดเป็นมหาพรหม แต่
บุรุษไม่พึงกล่าวว่าย่อมไม่บังเกิดในพรหมปาริสัชชานั้น. ครั้นเมื่อความเป็น
แห่งเพศทั้งสองแม้มีอยู่ในพรหมโลกนั้น หญิงนั้นก็ชื่อว่าเป็นพรหมเพราะตั้งอยู่
ในความเป็นบุรุษ มิใช่ตั้งอยู่ในความเป็นหญิง เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็น
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ.

อธิบายกายทุจจริตเป็นต้น ไม่เกิดผลน่าปรารถนาเป็นต้น


พึงทราบในคำว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น พืชทั้งหลาย มีพืช
แห่งไม้สะเดา และบวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีความหวาน ย่อมให้
บังเกิดผลอันไม่ชอบใจ อันไม่มีรสหวานนั่นแหละ ฉันใด กายทุจจริตเป็น
ต้น ก็ฉันนั้น ย่อมไม่ให้บังเกิดวิบากอันน่าปรารถนา ย่อมบังเกิดวิบากอันไม่
น่าชอบใจ. เหมือนอย่างว่า พืชแห่งต้นอ้อย และพืชแห่งข้าวสาลี ย่อมยังผล
อันน่าชอบใจ อันมีรสอันดีเท่านั้น ย่อมไม่ยังผลอันไม่น่ายินดี อันขมขื่นให้