เมนู

ถามว่า ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซึ่งวิปัสสนาอย่างไร ?
ตอบว่า ตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนา สิ้น 7 ครั้ง.
จริงอยู่ ญาณ (วิปัสสนา) นั้น ย่อมควรเพื่ออันเห็นด้วยญาณ
(วิปัสสนาญาณ) ที่ 2 เพราะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ใน
สังขารทั้งปวงด้วยญาณ (วิปัสสนา) ที่ 1. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 2 ย่อม
ควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้น ด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 3. ญาณ (วิปัส-
สนาญาณ) ที่ 3 ย่อมควรเพื่อการเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ)
ที่ 4. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 4 ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วย
ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 5. ญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 5 ย่อมควรเพื่ออัน
เห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 6. ญาณ (วิปัสสนาญาณ)
ที่ 6 ย่อมควรเพื่ออันเห็นสภาพเหล่านั้นด้วยญาณ (วิปัสสนาญาณ) ที่ 7 อีก.
ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวิปัสสนา และปฏิวิปัสสนาไว้สิ้น
7 ครั้ง ฉะนี้แล.
ญาณวัตถุหมวด 7 จบ

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 8


คำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺญา ได้แก่ ปัญญาในโสดาปัตติมรรค
อธิบายว่า ปัญญาอันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรคนี้นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺญา นี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัย
นี้ แล.
ญาณวัตถุหมวด 8 จบ

อรรถกถานวกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 9


คำว่า อนุปุพฺพวิหารสมาปตฺตีสุ ได้แก่ สมาบัติทั้งหลาย กล่าวคือ
ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ (อนุปุพพวิหาร). ความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า
อนุปุพพวิหาร เพราะอรรถว่า อันพระโยคาวจรพึงเข้าอยู่ในกระบวน โดย
ลำดับ. พึงทราบความที่ปัญญาเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นสมาบัติ (การเข้าฌาน)
เพราะอรรถว่า เป็นธรรมอันพระโยคาวจรพึงถึงพร้อม. ในปัญญาเหล่านั้น
พึงทราบ สัมปยุตตปัญญา 8 อย่าง มีคำว่า ปัญญาในปฐมฌานสมาบัติ
เป็นต้นอย่างนี้. ปัญญาในปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) เป็นปัญญาข้อที่ 9.
จริงอยู่ ปัญญาในปัจจเวกขณะนั้น ย่อมเป็นไปแก่พระโยคาวจรผู้พิจารณาอยู่
โดยสงบ โดยประณีต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปัจจ-
เวกขณญาณของพระโยคาวจรบุคคลผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติ
ดังนี้.
ญาณวัตถุหมวด 9 จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 10


อธิบายกำลังที่ 1ของพระตถาคต


คำว่า อฏฺฐานํ (แปลว่า ไม่ใช่ฐานะ) ได้แก่ ปฏิเสธ เหตุ.
คำว่า อนวกาโส (แปลว่า ไม่ใช่โอกาส) ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย. แม้
ด้วยคำทั้งสองก็ปฏิเสธ การณะ (การณะ คือ เหตุนั่นแหละ). จริงอยู่ การณะ