เมนู

อรรถกถาฉักกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 6


คำว่า อิทฺธิวิเธ ญาณํ (แปลว่า อิทธิวิธญาณ) บัณฑิตพึงทราบ
ว่า ชื่อว่า ญาณในการแสดงฤทธิ์อันเป็นไปโดยนัยว่า บุคคลแม้คนเดียว
ทำให้เป็นบุคคลมากได้
ดังนี้ เป็นต้น . รูปาวจรทั้งหลายอันสหรคตด้วย
อุเบกขา อันไม่มีวิตกและวิจารเป็นปัญญาในอัปปนาซึ่งมีขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง
อันสำเร็จซึ่งความเป็นบุคคลมากนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำ
ว่า อิทฺธิวิเธ ญาณํ นี้.
คำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา ญาณํ (แปลว่า โสตธาตุวิสุทธิญาณ)
ได้แก่ ญาณในทิพโสตธาตุ อันมีเสียงไกลและใกล้เป็นอารมณ์ อธิบายว่า
รูปาวจรอันสหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีวิตกและวิจาร จัดเป็นปัญญาเทียว ซึ่ง
มีขณะแห่งจิตดวงหนึ่งอันมีเสียงล่วงวิสัยแห่งโสตธาตุธรรมดาเป็นอารมณ์แม้นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยคำว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา ญาณํ ดังนี้.
คำว่า ปรจิตตฺเต ญาณํ (แปลว่า ปรจิตตญาณ) ได้แก่ ญาณ
ในการกำหนดจิตของสัตว์อื่น อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว อันเป็นขณะ
แห่งจิตดวงหนึ่ง มีจิตมีราคะเป็นต้นของสัตว์อื่นเป็นอารมณ์ มีประการตามที่
กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยคำว่า ปรจิตฺเต ญาณํ แม้นี้.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณํ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยการ
ตามระลึกถึงขันธ์อันเคยอาศัยในกาลก่อน อธิบายว่า ปัญญาในอัปปนาเทียว
ซึ่งเป็นขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง สัมปยุตด้วยสติเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์อันเคย