เมนู

บุคคลผู้ได้สมาธิอันยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว. ก็คำว่า แผ่อารมณ์ไปหาประมาณ
มิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อการแผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย.
คำที่เหลือเช่นกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

อธิบาย มัคคสมังคิญาณ เป็นต้น


คำว่า ชรามรเณเปตํ ญาณํ (แปลว่า ญาณแม้ในชราและมรณะ)
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดเป็นอันเดียวกัน
แห่งสัจจะทั้ง 4 เพราะกระทำพระนิพพานนั่นแหละให้เป็นอารมณ์. ก็คำว่า
ชรามรณํ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภชราและมรณะ) เป็นต้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการกำหนดสัจจะในบุพภาคในเวลาที่
ปรารภวัตถุ (วัตถุสัจจะ) หนึ่ง ๆ เป็นไป. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น แล.
ญาณวัตถุหมวด 4 จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 5


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป เป็นต้น. ปัญญาใด
เกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งปีติ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้งสองนั้น จึงชื่อว่า แผ่ปีติ
ไป
. ปัญญาใดเกิดขึ้นแผ่ไปซึ่งความสุข เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌานทั้ง 3
นั้น จึงชื่อว่า แผ่ความสุขไป. ปัญญาใด เกิดขึ้นแผ่จิตไปสู่บุคคลอื่น
เพราะเหตุนั้น ปัญญากำหนดจิตบุคคลอื่นนั้น จึงชื่อว่า แผ่จิตไป. ปัญญา
ใด เกิดขึ้นแผ่อาโลกะ คือแสงสว่างไป เพราะเหตุนั้น ปัญญาอันเป็นทิพย-