เมนู

อธิบายสีลมยปัญญา


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาปัญญาอันสัมปยุตด้วยเจตนาในศีล
แม้ในคำว่า สีลํ อารพฺภ สีลาธิคจฺฉ นี้ว่า เป็น สีลมยปัญญา. ก็เมื่อคิดว่า
เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ แล้วก็ยังศีลนั้นให้บริบูรณ์อยู่ ครั้นยังศีลให้
บริบูรณ์แล้ว ก็พิจารณาศีลนั้นอยู่ สีลมยปัญญานี้จึงเกิดขึ้นโดยอาการ 3 อย่าง
คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา. สำหรับภาวนามยปัญญา ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

อธิบาย อธิสีลปัญญา เป็นต้น


ใน อธิสีลปัญญา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบศีลเป็นต้น โดยเป็น
ไปอย่างละ 2 คือ ศีล อธิศีล, จิต อธิจิต, ปัญญา อธิปัญญา. ในคำเหล่านั้น
ศีล 5 ก็ดี ศีล 10 ก็ดี ชื่อว่า ศีล ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ลงในแบบ
แผนนี้ว่า ความอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลาย หรือไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามที
ธาตุ ธัมมฐิติ ธัมมนิยามเหล่านั้นก็ดำรงอยู่แล้วเทียว. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคต
ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ศีลนั้นก็มีอยู่.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมบัญญัติ
ศีล (คือย่อมประกาศให้รู้).
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก สัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-
พรรดิราชย่อมบัญญัติศีล.
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี-
สงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา ย่อมประกาศให้รู้ซึ่งศีลนั้น. อนึ่ง
เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วนั้นแหละ ปาฏิโมกขสังวรศีลอัน

เป็นศีลยิ่งกว่าศีลทั้งหมดจึงปรากฏขึ้น เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรง
อุบัติ ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นก็มิได้ปรากฏ ด้วยว่า พระสัพพัญญู-
พุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมบัญญัติประกาศซึ่งปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้น หาใช่เป็นวิสัยของชนเหล่าอื่นที่จะบัญญัติว่า ชื่อว่าศีลข้อนี้ ย่อม
มีเพราะการก้าวล่วงในเรื่องนี้ ดังนี้. อันนี้เป็นวิสัยแห่งพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเท่านั้น และเป็นกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยประการ
ฉะนี้. ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้เป็น อธิศีล เหตุใด เพราะเหตุนั้นเพื่อ
ทรงแสดงอธิสีลปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺข-
สํวรํ สํวรนฺตสฺส เป็นต้น (แปลว่า ปัญญา เกิดแก่ผู้สำรวมด้วย
ปาฏิโมกขสังวรศีล).

อนึ่ง สมาบัติ 8 อันเป็นเครื่องดำเนินไปในวัฏฏะ ชื่อว่า จิต ด้วย
สามารถแห่งการสงเคราะห์ไว้ด้วยแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหน
หลัง. จริงอยู่ จิตอันเป็นไปในสมาบัติ 8 เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติ
แล้วก็ตาม ไม่ทรงอุบัติก็ตาม จิตเช่นนั้นย่อมเกิดขึ้นได้.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมยังจิตอัน
เป็นไปในสมาบัติเหล่านั้นให้เกิดขึ้น.
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-
พรรดิราช.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติแล้ว ชนทั้งหลายผู้
ปรารถนาคุณวิเศษแม้มีภิกษุเป็นต้น ย่อมยังจิตเช่นนั้น ให้เกิดขึ้นได้.
แต่ว่า สมาบัติ 8 อัน เป็นบาทให้วิปัสสนาอันยิ่งกว่าจิตทั้งปวงเกิดขึ้น
นั้น เมื่อพระตถาคตทรงอุบติแล้วเท่านั้นจึงมีได้ ยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น

จิตเช่นนั้นหามีได้ไม่. พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมทรง
บัญญัติประกาศจิตอันเป็นไปในสมาบัติ 8 อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
เหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้ สมาบัติ เป็นอธิจิตได้ เหตุใด
เพราะเหตุนั้นเพื่อแสดงปัญญาอันบรรลุเป็นอธิจิตนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า รูปาวจรารูปาวจรสมาปตฺตึ สมาปชฺชนตสฺส
เป็นต้น (แปลว่า ปัญญา. . . อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้
เข้ารูปาวจรสมาบัติและอรูปาวจรสมาบัติ).

ก็กัมมัสสกตาญาณ ชื่อว่า ปัญญา ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์
ไว้ในแบบแผนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในหนหลังนั่นแหละ. จริงอยู่ เมื่อ
พระตถาคตทรงอุบัติแล้วก็ดี ยังมิทรงอุบัติก็ดี กัมมัสสกตาญาณนั้น ก็มีได้
คือ เมื่อพระตถาคตยังมิทรงอุบัติขึ้น กัมมัสสกตาญาณนั้ย่อมเกิดขึ้นด้วย
อำนาจของการให้ทานของเวลามพราหมณ์และของพระเวสสันดร เป็นต้น. ครั้น
เมื่อพระตถาคต. ทรงอุบัติแล้ว ประมาณบุคคลผู้ยังมหาทานให้เป็นไปด้วย
ญาณนั้นหาได้ไม่.
ปัญญาในมรรคและผลเป็นสภาพยิ่งกว่าปัญญาทั้งหมด เมื่อ
พระตถาคตทรงอุบัติแล้วเท่านั้น จึงเป็นสภาวะแผ่ออกไป เมื่อยัง
มิได้ทรงอุบัติขึ้น หาเป็นเช่นนั้นไม่. ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา
ในมรรคและผล ชื่อว่า อธิปัญญา เหตุใด เพราะเหตุนั้น เพื่อ
แสดงซึ่งปัญญา ด้วยอธิปัญญา จึงตรัสคำว่า จตูสุ มคฺเคสุ เป็นต้น.

ถามว่า ในส่วนทั้ง 6 เหล่านั้น คือ ศีล อธิศีล จิต อธิจิต ปัญญา
อธิปัญญา พึงมีไซร้ วิปัสสนาปัญญา อาศัยธรรมอันไหนเป็นไป.
ตอบว่า อาศัย อธิปัญญา.

ในข้อนี้ เปรียบเหมือนบุคคลเรียกว่า อธิฉัตรและอธิธัชซึ่งมีปริมาณ
มาก เพราะอาศัยฉัตร (ร่ม) หรือธัช (ธง) ซึ่งมีปริมาณน้อย ฉันใด แม้ข้อนี้
ก็ฉันนั้น ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลอันเป็นอธิศีลก็เพราะอาศัยศีล 5
และศีล 10 อันเป็นเบื้องต้น

สมาบัติ 8 อันเป็นบาทให้วิปัสสนาเกิดขึ้น ชื่อว่า อธิจิต
เพราะอาศัยสมาบัติ 8 อันเป็นไปในวัฏฏะ.

และพึงทราบว่า วิปัสสนาปัญญา และปัญญาในมรรคในผล
ชื่อว่า อธิปัญญา
ดังนี้ ก็เพราะอาศัย กัมมัสสกตาปัญญา ดังนี้.

อธิบาย อายโกศล เป็นต้น


ในนิทเทสแห่งอายโกศลเป็นต้น คำว่า อาโย ได้แก่ ความเจริญ
อายะคือ ความเจริญนั้น มี 2 อย่าง คือ อนัตถหานิ (การละความพินาศ
คือ อกุศลธรรม) และ อัตถุปปัตติ (การยังประโยชน์คือ กุศลธรรมให้
เกิดขึ้น). คำว่า อปาโย ได้แก่ ความไม่เจริญ. ความไม่เจริญแม้นั้น ก็มี
2 คือ อัตถหานิ (การละสิ่งเป็นประโยชน์ คือกุศลธรรม) และ อนัตถุปปัตติ
(การยังสิ่งทีไม่เป็นประโยชน์คือ อกุศลธรรม ให้เกิดขึ้น) ย่อมมี เหตุใด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อิเม ธมฺเม มนสิกโรโต
เป็นต้น.
คำว่า อิทํ วุจฺจติ อธิบายว่า ปัญญาอันใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกชื่อว่า อายโกศล ก็เพราะเป็นไปในการละ คือไม่ให้อกุศลธรรม
เหล่านี้เกิดขึ้น และเพราะการดำรงอยู่ในการเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.
ก็แล ปัญญานี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า นี้ชื่อว่า อปายโกศล ดังนี้