เมนู

ไม้เลาแม่น จักษุวิทยา ศัลยกรรม เป็นต้นท่านไม่ถือเอา เพราะความที่ศิลปะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นไม่เข้าไปรวมอยู่ในศีลปะอันมีคำว่า ข้าแต่ท่าน
อาจารย์ กระผมปรารถนา เพื่อศึกษาศิลปะ ดังนี้.

นัยแห่งหีนกรรม


พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน
เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิด
ว่า มนุษย์เหล่านั้นเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วย
บ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็
สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะ
ไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความ
ปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น
ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึง
สร้างเรือมีประการต่าง ๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้น ย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น
ทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่
ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความติดตามธรรมดาของตน.
จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน
ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลาย อันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จ
นั่นแหละ. นี้เป็นนัยในหีนกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.

นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม


แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่ง คิดว่า
เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไป ดังนี้

เพื่อต้องการให้อยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย จึงสร้างอุปกรณ์การ
ทำนามี แอกและไถเป็นต้น. โดยทำนองนั้น ย่อมสร้างวาณิชย-
กรรม และโครักขกรรมขึ้น. เขาย่อมไม่เห็นการงานเหล่านั้นทั้งหมด
ที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับการงานที่บุคคลอื่นเรียนมา
ทำให้สำเร็จแล้วนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในอุกกัฏฐกรรม (การงานอัน
สูง).


นัยแห่งศิลปะทั้ง 2 อย่าง


ในบ่อเกิดแห่งศิลปะแม้ทั้งสอง บัณฑิตคนหนึ่ง ประสงค์จะ
ให้มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุก จึงจัดสร้างหีนศิลปะมีศิลปะของช่าง
สานเป็นต้นขึ้น และสร้างศิลปะอันสูงสุดกล่าวคือเพื่อให้ได้จำนวน
โดยสูงสุดแห่งหัตถกรรม สร้างอุปกรณ์คำนวณกล่าวคือเพื่อมิให้
ขาดปริมาณ สร้างเครื่องขีดเขียนอันเป็นแบบอย่างต่าง ๆ เป็นต้น.
บัณฑิตนั้น มิได้เห็นสิ่งเหล่านั้น แม้ทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ
ย่อมเป็นเช่นกับศิลปะที่บุคคลอื่นเรียนมาแล้วทำให้สำเร็จนั่นแหละ.
ข้อนี้เป็นนัยในบ่อเกิดแห่งศิลปะ.

อนึ่ง บัณฑิตบางพวก ยังฐานะแห่งวิชาทั้งหลาย มีมนต์อันยังนาค
ให้งง (ให้หมุนไป) เป็นต้น ให้เกิดขึ้น เพื่อต้องการเยียวยามนุษย์ทั้งหลายผู้
เข้าไปเล่นกับอมนุษย์มีงูเป็นต้น. บัณฑิตนั้น ย่อมไม่เห็นฐานะแห่งวิชาเหล่า
นั้นซึ่งบุคคลอื่นทำอยู่ ไม่ได้เรียนฐานะแห่งวิชาที่บุคคลอื่นเรียนแล้ว ทั้งมิได้
ฟังต่อบุคคลอื่น แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน. จริง
อยู่ ฐานะแห่งวิชานั้นอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้ทำตามธรรมดาของตน ก็ย่อม
เป็นเช่นกับบุคคลอื่นที่เรียนมากระทำอยู่ให้สำเร็จนั่นแหละ.