เมนู

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะสัตว์เหล่านั้น มีความหลงใหลไปปราศแล้ว ด้วย
ทางอันให้ถึงอาสวักขยญาณ ฉะนั้น โดยลำดับนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้-
มีพระภาคเจ้า ตรัสญาณ 10 เหล่านั้นว่าเป็นกำลัง.
นี้เป็นการวรรณนาเนื้อความในมาติกาก่อน.

อรรถกถาเอกกนิทเทส


อธิบายญาณวัตถุหมวด 1


บัดนี้ เป็นการปฏิเสธการแสดงสาธารณเหตุ ในคำว่า เป็น น เหตุ
ทั้งนั้น ในนิทเทสวาระที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้ ในมาติกาตามที่ทรงตั้ง
ไว้ว่า ปญฺจวิญฺญาณา น เหตุเมว เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำใดที่จะพึงกล่าวโดยนัยว่า จตุพฺพิโธ เหตุ เป็น
ต้น (แปลว่า เหตุมี 4 อย่าง) คือ.
1. เหตุเหตุ
2. ปัจจยเหตุ
3. อุตตมเหตุ
4. สาธารณเหตุ
คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในการวรรณนาเนื้อความแห่งคำ
ทั้งหลายในรูปกัณฑ์ว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุเมว เป็นต้น (แปลว่า รูปทั้ง
หมดเป็น นเหตุทั้งนั้น) นั่นแหละ.
ในคำว่า อเหตุกเมว เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ อักษร ด้วย
สามารถแห่งพยัญชนะสนธิ. คือเป็น อเหตุกาเอว (แปลว่า เป็นอเหตุกะทั้ง

นั้น). แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง ในหมวดแห่งธรรมมีคำ
ว่า เหตู ธมฺมา น เหตู ธมฺมา เป็นต้น วิญญาณ 5 เป็นเหตุธรรม หรือ
ไม่เป็นดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของบททั้งปวงในที่นี้โดยส่วนเดียวว่า
ก็วิญญาณ 5 เป็นนเหตุ ทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น ดังนี้.
บทว่า อพฺยากตเมว (แปลว่า เป็นอัพยากตะทั้งนั้น) นี้ พระผู้-
มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยสามารถแห่งวิบากอัพยากตะ.
บทว่า สารมฺมณเมว นี้ ตรัสด้วยสามารถแห่งอารมณ์เป็นเครื่อง
ยึดเหนี่ยว (โอลุพฺภารมฺมณวเสน). จริงอยู่ อารมณ์ มี 2 อย่าง คือ
ปัจจยารัมมณะ ได้แก่อารมณ์อันเป็นปัจจัย โอลุพภารัมมณะ ได้แก่
อารมณ์อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว. แต่ในที่นี้เป็นหน้าที่ของโอลุพภารัมมณะนั้น
แหละ. แม้ปัจจยารัมมณะ ก็ย่อมได้เหมือนกัน.
บท อเจตสิกเมว แปลว่า ธรรมอันไม่ประกอบจิต. ในอเจตสิก-
ธรรม (ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิก) 3 อย่าง คือ จิต รูป และพระนิพพาน พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา จิต เท่านั้น. บทว่า โน อปริยาปนฺนเมว
ได้แก่ ธรรมอันนับเนื่องแล้วโดยความเป็นธรรมอันนับเนื่องด้วยคติ จุติ
และภพ ในสังสารวัฏ ชื่อว่า โน อปริยาปันนะ. สภาวธรรมใด ย่อมไม่
นำออกจากโลก คือจากวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น สภาวธรรมนั้น จึงชื่อว่าเป็น
อนิยยานิกะ. คำว่า อุปฺปนฺนํ มโนวิญญาณวิญเญยฺยเมว นี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในรูปกัณฑ์ว่า ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอันวิญญาณ 6 พึงรู้ได้
เพราะกระทำแม้มโนวิญญาณอันเป็นวิสัยแห่งอดีตเป็นต้น เพราะปรารภรูปเป็น
ต้นอันกำลังเกิดขึ้นให้เป็นไปแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น. ก็วิญญาณ 5 แม้กำลัง
เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่เป็นอารมณ์แก่จักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเป็นไปแก่มโน-
วิญญาณเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มโนวิญฺญาณ-
วิญฺเญยฺย"
(แปลว่า วิญญาณ 5 เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ) ดังนี้.

คำว่า อนิจฺจเมว ได้แก่ วิญญาณ 5 ชื่อว่า เป็นอนิจจะทั้งนั้น
เพราะอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ (เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป)
คำว่า ชราภิภูตเมว ได้แก่ วิญญาณ 5 ชื่อว่า ชราภิภูตะ เพราะ
อันชราครอบงำแล้ว.
คำว่า อุปฺปนฺนวตฺถุกา อุปฺปนฺนารมฺมณา (แปลว่า วิญญาณ
5 มีวัตถุอันเกิดแล้ว มีอารมณ์อันเกิดขึ้นแล้ว) บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านปฏิเสธ
อนาคต. จริงอยู่ วิญญาณ 5 นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นในเพราะอารมณ์และวัตถุที่เป็น
อนาคตทั้งหลาย. คำว่า ปุเรชาตวตฺถุกา ปุเรชาตารมฺมณา (แปลว่า
วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน) ได้แก่ เป็นการปฏิเสธการเกิด
ขึ้นพร้อมกัน. จริงอยู่ วิญญาณ 5 นั้นย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ หรืออารมณ์
ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. ก็วิญญาณ 5 นั้น เป็นธรรมชาติเกิดภายหลัง ย่อมเกิดขึ้น
ในเพราะวัตถุและอารมณ์ที่เกิดก่อน.
คำว่า อชฺฌตฺติกวตฺถุกา (แปลว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นภายใน)
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งวัตถุภายในอันเป็นของตน จริงอยู่
วิญญาณ 5 นั้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะ กระทำปสาทรูป 5 อันเป็นภายในให้
เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. คำว่า พาหิรารมฺมณา (แปลว่า มีอารมณ์ภายนอก) ได้แก่
มีอารมณ์มีรูปเป็นต้นภายนอกเป็นอารมณ์. ในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบธรรมหมวด
4. จริงอยู่ วิญญาณ 5 นั้น ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุเป็นภายใน เพราะกระทำ
ปสาทะให้เป็นวัตถุ ที่อาศัยเกิด.
มโนวิญญาณ ชื่อว่าเป็นภายใน มีวัตถุภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้น
กระทำหทัยรูปให้เป็นวัตถุที่อาศัยเกิด. ขันธ์ 3 อัน สัมปยุตด้วยวิญญาณ 5
เป็นภายนอก มีวัตถุเป็นภายใน. ขันธ์ 3 อันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณเป็น
ภายนอก มีวัตถุเป็นภายนอก เพราะเวลาเกิดขึ้นกระทำหทยรูปให้เป็นที่อาศัย

คำว่า อสมฺภินฺนวตฺถุกา ได้แก่ มีวัตถุอันยังไม่แตกดับ. จริงอยู่ วิญญาณ
5 เหล่านั้นย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุอันเป็นอดีตซึ่งดับไปแล้ว. แม้
เพราะความที่วิญญาณ 5 มีอารมณ์อันยังไม่แตกดับ ก็นัยนี้.
ในคำว่า อญฺญํ จกฺขุวิญฺญาณสฺส วตฺถุ จ อารมฺมณญฺจ เป็น
ต้น ก็วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง ของโสตวิญญาณเป็นต้น
ก็เป็นอย่างหนึ่ง. จักขุวิญญาณแม้ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมไม่เกิดต่อจากความ
สำเร็จโดยกระทำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโสตปสาท เป็นต้นให้เป็นวัตถุ
หรือทำรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเสียง เป็นต้นให้เป็นอารมณ์. แต่จักขุวิญญาณ
ย่อมเกิดขึ้น เพราะทำจักขุปสาทเท่านั้นให้เป็นวัตถุและทำรูปให้เป็นอารมณ์.
วัตถุก็ดี ทวารก็ดี อารมณ์ก็ดีของจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ก้าวไปสู่วัตถุอื่น หรือ
ไปสู่ทวารอื่น หรืออารมณ์อื่น อันเนื่องกันด้วยประการอย่างนี้.
จักขุวิญญาณมีวัตถุที่เนื่องกัน มีทวารที่เนื่องกัน มีอารมณ์ที่
เนื่องกันเท่านั้น จึงเกิดขึ้น. แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้
นั่นแหละ.

ในข้อว่า น อญฺญมญฺญสฺส โคจรวิสยํ ปจฺจานุโภนฺติ นี้
(แปลว่า วิญญาณ 5 ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน) อธิบายว่า "วิญญาณ
เหล่านั้น ย่อมไม่เสวยอารมณ์ สักอย่างหนึ่งของกันและกันอย่างนี้ คือ จักขุ-
วิญญาณ ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ หรือว่าโสตวิญญาณก็ย่อมไม่
เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ" เป็นต้น. จริงอยู่ ถ้าจักขุวิญญาณประมวลมา
ซึ่งสีอันต่างด้วยสีเขียวเป็นต้นเป็นอารมณ์แล้วพึงมอบให้แก่โสตินทรีย์ว่า
" เชิญเถิด ท่านจงกำหนดสีนั้น จงชี้แจงว่า อารมณ์นั้นชื่ออะไร ดังนี้. แม้เว้น
จักขุวิญญาณเสียแล้ว พึงกล่าวตามธรรมดาของตนเฉพาะหน้าอย่างนี้ว่า "แน่ะ

อันธพาล ท่านค้นหาอยู่สักร้อยปีก็ตาม สักพันปีก็ตาม เว้นจากเรา (จักขุ-
วิญญาณ) ท่าน (โสตวิญญาณ) จักทราบสีนั้นได้ที่ไหน ท่านจงนำสีนั้นมา
จงน้อมไปที่จักขุปสาท เราจักรู้ซึ่งอารมณ์นั้นจะเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองก็
ตามที ก็เพราะนั่นมิใช่วิสัยของธรรมอื่น นั่นเป็นวิสัยของเราเท่านั้น. แม้
ในวิญญาณที่เหลือ ก็นัยนี้. ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณ 5 จึงชื่อว่า ย่อมไม่
เสวยอารมณ์ของกันและกัน.
คำว่า สมนฺนาหรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อนำอาวัชชนะมาอยู่นั่นแหละ
ปัญจวิญญาณจึงเกิดขึ้น. คำว่า มนสิกโรนฺตสฺส ได้แก่ เมื่อทำไว้ในใจ
โดยการคำนึงถึงนั่นแหละ. ปัญจวิญญาณจึงเกิด. จริงอยู่ จิตเหล่านี้ (ปัญจ-
วิญญาณ) ย่อมเกิดขึ้นในเวลานึกถึง หรือในเวลากระทำไว้ในใจด้วยอาวัชชนะ.
คำว่า น อพฺโพกิณฺณา (แปลว่า ไม่สับสนกันก็หาไม่) ได้แก่
ไม่ถูกแทรกแซงด้วยวิญญาณอื่นย่อมเกิดติดต่อกันไปก็หาไม่. การเกิดร่วมกัน
แม้แห่งจิตทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธแล้วด้วยบทว่า น อปุพฺพํ
อจริมํ
นี้ และทรงปฏิเสธการเกิดขึ้นโดยลำดับแห่งกันและกันด้วยบทว่า
น อญฺญมญฺญสฺส สมนนฺตรา นี้. ชื่อทั้งหลายของอาวัชชนะมี 4 เท่า
นั้น ซึ่งมีคำว่า อาวัฏฏนา (แปลว่า ความสนใจ). จริงอยู่ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียก อาวัชชนะ
นั้นว่า อาวัฏฏนา เพราะการหมุนเวียน
เปลี่ยนไปแห่งภวังค์
ตรัสเรียกว่า อาโภคะ (แปลว่า ความคำนึง)
เพราะความคำนึงของจิตนั้นนั่นแหละ ตรัสเรียกว่า สมันนาหรณะ เพราะ
ประมวลมาซึ่งรูปเป็นต้น ตรัสเรียกว่า มนสิการ เพราะการทำไว้ในใจของ
จิตเหล่านั้นแหละ. ความสามารถเพื่อทำหน้าที่ (กิจ) แห่งอาวัฏฏนา (ความ

สนใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในฐานะแห่งอาวัชชนะของวิญญาณ 5 โดย
สังเขปในที่นี้ และทรงปฏิเสธจิตแต่ละดวงเกิดร่วมกันด้วยอาการอย่างนี้.
คำว่า น กิญฺจิ ธมฺมํ ปฏิวิชานาติ (แปลว่า บุคคลย่อมไม่รู้
แจ้งซึ่งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5) อธิบายว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้ง ซึ่ง
กุศลหรืออกุศลแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า เป็นต้น.
คำว่า อญฺญตฺร อภินิปาตมตฺตา (แปลว่า สักแต่ว่าเป็นที่ตก
ไปแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง) อธิบายว่า วิญญาณ 5 สักแต่ว่าเป็นที่ตกไป
โดยเว้นรูปเป็นต้น แล้วย่อมไม่รู้อะไร ๆ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายไว้
ว่า "บุรุษแม้เป็นผู้ฉลาดดีแล้วก็ย่อมไม่รู้ธรรมอื่นสักอย่างหนึ่งในบรรดากุศล
และอกุศลด้วยวิญญาณ 5 เว้นรูปที่มาสู่คลอง. อนึ่ง จักขุวิญญาณในที่นี้ ย่อม
เป็นสักแต่ว่าการเห็นเท่านั้น . แม้โสตวิญญาณเป็นต้น ก็ย่อมสักแต่ว่า การ
ฟัง... การดม... การลิ้ม และการสัมผัสเท่านั้น. ก็การรับรู้อารมณ์โดย
สักแต่ว่าการเห็นเป็นต้น ชื่อว่า การรายงาน (หรือการบอกกล่าว) ซึ่งธรรม
เหล่านั้นอย่างอื่นมีกุศลเป็นต้น หามีไม่.
คำว่า มโนธาตุยาปิ (แปลว่า แม้ด้วยมโนธาตุ) ได้แก่ แม้
ด้วยมโนธาตุ คือ สัมปฏิจฉนจิต. อนึ่ง ในคำว่า มโนธาตุยาปิ นี้ ปิ
อักษร เป็นคำประมวลมาซึ่งเนื้อความ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ
ในที่นี้ อย่างนี้ว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งซึ่งธรรมอะไร ๆ อันเป็นกุศลได้
ด้วยวิญญาณอันเป็นไปทางทวาร 5 แม้ทั้งหมด คือ แม้ด้วยมโนธาตุ แม้ด้วย
มโนวิญญาณธาตุซึ่งต่อจากมโนธาตุนั้น.

แม้ในคำว่า "น กิญฺจิ อิริยาปถํ กปฺเปติ" เป็นต้น (แปลว่า
บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิญาณ 5) ก็นัยนี้ จริง
อยู่ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอะไร ๆ ในการเดินเป็นต้นได้ด้วยวิญญาณอัน
เป็นไปทางทวาร 5.
บุคคลย่อมไม่ตั้งกายกรรม ไม่ตั้งวจีกรรมด้วยวิญญาณ 5 ย่อมไม่
สมาทานธรรมอันเป็นกุศลอกุศลด้วยวิญญาณ 5 ย่อมไม่เข้าสมาธิ (สมาบัติ)
อันเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมไม่ออกจากสมาธิ อันเป็นโลกิยะ หรือโล-
กุตตระด้วยวิญญาณ 5 ย่อมไม่จุติ (เคลื่อน) จากภพ ย่อมไม่เกิดขึ้นในภพ
ด้วยวิญญาณ 5. จริงอยู่ กิจ (หน้าที่ของจิต) มีการรู้แจ้งซึ่งธรรมอันเป็นกุศล
และอกุศลเป็นต้น มีการจุติเป็นปริโยสาน แม้ทั้งหมดนั้น ย่อมมีได้ด้วยจิต
ทางมโนทวารเท่านั้น ย่อมไม่มีด้วยจิตอันเป็นไปทางทวาร 5 เพราะฉะนั้น
วิถีจิตแม้ทั้งปวงอันเป็นไปกับด้วยชวนะในเพราะการทำซึ่งกิจนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงทรงปฏิเสธแล้วในวิญญาณ 5 นี้. อนึ่งกิจทั้งหลายที่กล่าวแล้วเหล่านั้น
ย่อมไม่มีแก่จิตอันประกอบด้วยวิญญาณ 5 นี้ ฉันใด แม้การก้าวลงสู่นิยาม-
ธรรมก็ฉันนั้น. คือว่าบุคคลย่อมไม่ก้าวลงสู่ มิจฉัตตนิยาม1 หรือ สัมมัตต-
นิยาม
2 ได้ด้วยวิญญาณ 5.
จริงอยู่ ชวนะ (ของปัญจทวาร) ย่อมไม่แล่นไป (เสพ-
อารมณ์) เพราะปรารภนามและโคตร ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภ
บัญญัติอันมีกสิณเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา
อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ย่อมไม่เป็นไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา
อันมีกำลังคือวุฏฐานคามินี ย่อมไม่แล่นไปเพราะปรารภรูปและอรูป


1. อภิ.สํ. 34/ ข้อ681 ได้แก่อนันตริยกรรม 5 และนิยตมิจฉาทิฏฐิ 2. ได้แก่โลกุตตรมรรค 4.

ธรรม ย่อมไม่แล่นไปสู่พระนิพพาน. อนึ่ง ปฏิสัมภิทาญาณย่อมไม่
เกิดด้วยชวนะ (ในปัญจทวาร) นั้น อภิญญาญาณ สาวกปารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ สัพพัญญุตญาณ ก็ย่อมไม่เกิดด้วยชวนะนั้น.
แต่ว่า ธรรมมีประเภทต่าง ๆ แม้ทั้งหมด ย่อมมีได้ในชวนะทาง
มโนทวารเท่านั้น.

คำว่า น สุปติ น ปฏิพุชฺฌติ น สุปินํ ปสฺสติ (แปลว่า บุคคล
ย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ 5) อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปฏิเสธวิถีจิตพร้อมด้วยชวนะในฐานะทั้ง 3 เหล่านั้นว่า บุคคล ย่อมไม่
ก้าวลงสู่ความหลับ ย่อมไม่หลับ ย่อมไม่ตื่น ย่อมไม่เห็นสุบิน (ฝัน) อะไร ๆ
ด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวารแม้ทั้งหมด.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ถึงจะยังไส้เทียนใหญ่ให้ติดไฟลุก
โพลงแล้วน้อมแสงสว่างนั้นเข้าไปใกล้นัยน์ตาของบุคคลนั้น ปฐมภวังค์ ย่อม
ไม่หมุนไป (ยังไม่เปลี่ยนไป) สู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางจักขุทวาร ก่อน.
ก็จิตอันประกอบด้วยมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวน-
จิตเสพอารมณ์แล้ว ก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ 2 ภวังคจิตย่อมหมุนไปสู่อาวัชชนจิตอันเป็นจักขุทวาร.
ต่อจากนั้นจักขุวิญญาณเป็นต้น มีชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ลำดับนั้น
ภวังคจิต จึงเป็นไปอีก.
ในวาระที่ 3 เมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวารแล้ว
ชวนะอันเป็นมโนทวารวิถี จึงแล่นไป. ท่านกล่าวว่า เพราะรู้ด้วยจิต (ชวน-
จิตทางมโนทวาร) นั้น บุคคลจึงแลดู จึงทราบอะไร ๆ ได้ในที่นี้.

โดยทำนองเดียวกัน เมื่อบุคคลกำลังหลับสนิท ใครๆ ประโคมดนตรี
ที่ใกล้หูหรือน้อมดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมก็ตาม เหม็นก็ตามไปใกล้จมูก หรือใส่
เนยใส หรือใส่น้ำอ้อยเข้าไปในปาก หรือเอาฝ่ามือประหารที่หลังก็ตาม.
ปฐมภวังค์ก็ยังไม่หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นไปทางโสตทวารเป็นต้นก่อน.
จิตอันเป็นมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวนะ
เสพอารมณ์แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์.

ในวาระที่ 2 ภวังค์จึงหมุนไปสู่อาวัชชนะทั้งหลายอันเป็นไปทาง
โสตทวารเป็นต้น จากนั้น โสตะ ฆานะ ชิวหา กายวิญญาณเป็นต้น มี
ชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ต่อจากนั้น ภวังค์ก็เป็นไปอีก.
ในวาระที่ 3 ครั้นเมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวาร
แล้ว ชวนะอันเป็นมโนทวาร ก็แล่นไป. เพราะรู้ด้วยจิต (ชวนจิตอันเป็น
มโนทวารวิถี) นั้น บุคคลจึงรู้เสียงอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นเสียงสังข์ เป็นเสียง
กลอง. หรือรู้กลิ่นอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นกลิ่นเกิดแต่ราก กลิ่นเกิดแต่แก่น.
หรือรู้รสอะไร ๆ ที่เขาใส่เข้าไปในปากของตน ว่าเป็นเนยใส น้ำอ้อย หรือรู้
ว่าการประหารนี้ ใครตี ใครทุบ ใครประหารที่หลัง ดังนี้ บุคคลจึงชื่อว่า
ย่อมตื่นด้วยชวนจิตอันเป็นไปทางมโนทวารเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคล
จึงมิได้ตื่นขึ้นด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.
บุคคลย่อมเห็นแม้สุบิน (ฝัน) ด้วยชวนจิตทางมโนทวารนั้นนั่นแหละ
มิได้ฝันเห็นจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.

เหตุแห่งการฝัน 4


ก็แล บุคคลเมื่อเห็นสุบิน (ฝัน) นั้น ๆ ย่อมฝันเห็นด้วยเหตุ 4 ประ-
การ คือ