เมนู

โดยสุตตันตะ 3


ในข้อว่า ตโย จ สุตฺตนฺตา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า พึงทราบสุตตันตะ
3 อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่วิริยะและสมาธิ คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร
โพชฌังคโกสลสูตร.

อธิจิตตสูตร


บรรดาพระสูตรเหล่านั้น พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการนิมิต 3 โดยกาลอันสมควร คือ พึง
มนสิการสมาธินิมิตโดยกาลอันสมควร พึงมนสิการปัคคหนิมิตโดยกาลอัน
สมควร พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยกาลอันสมควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการสมาธินิมิตโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ไซร้ ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่อโกสัชชะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ฐานะนั้น พึงให้จิตเป็นไปเพื่ออุทธัจจะได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะ
นั้น จิตย่อมไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในกาลใดแล ภิกษุประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต
มนสิการสมาธินิมิต ปัคคหนิมิต อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร จิตนั้น ย่อม
เป็นธรรมชาติอ่อนควรแก่การงาน เป็นปภัสสร ไม่เปราะ (คือ ไม่ย่อยยับ)
ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง ประกอบเบ้า (คือ
ทำเตาสำหรับหลอมทอง) ครั้นประกอบเบ้าแล้วก็สุมไฟปากเบ้า ครั้นสุมไฟ

แล้วก็เอาคีมคีบทองใส่เข้าไปในปากเบ้า ย่อมสูบลมเข้าไปตามกาลอันควร ย่อม
เอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ย่อมวางเฉยโดยกาลอันควร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง พึงเป่าลมเข้าไปโดยส่วนเดียวไซร้
ฐานะนั้น ทองก็พึงละลายไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือ
ลูกมือของนายช่างทอง พึงเอาน้ำประพรมโดยส่วนเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทอง
ก็จะพึงเย็นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง
พึงดูทองนั้นเฉย ๆ อยู่อย่างเดียวไซร้ ฐานะนั้น ทองก็ไม่พึงสุกปลั่ง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง ย่อมเป่าลม
เข้าไปโดยกาลอันควร ย่อมเอาน้ำประพรมโดยกาลอันควร ดูเฉย ๆ อยู่ตาม
กาลอันควร ทองนั้นย่อมเป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน สุกปลั่ง ไม่
เปราะ ย่อมใช้งานได้ดี. นายช่างทอง หรือลูกมือนายช่างทอง จำนงอยู่ด้วย
เครื่องประดับชนิดใด ๆ ผิว่าจะทำเข็มขัด จะทำตุ้มหู จะทำสร้อยคอ จะทำ
มาลัยทอง แท่งทองคำนั้น ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอธิจิต ฯลฯ ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อธรรมที่ควรทำให้
แจ้งด้วยอภิญญาใด ๆ เมื่อสติอายตนะ มีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถ
เพื่อทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญาในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
อธิจิตตสูตร.

สีติภาวสูตร


พระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 6 เป็น
ผู้ควร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความเป็นผู้สงบ) อันยอดเยี่ยม. ธรรม6
เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัย