เมนู

อรรถกถาญาณวิภังค์


อธิบายบทมาติกา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) ไว้ในญาณวิภังค์
ในลำดับแห่งปฏิสัมภิทาวิภังค์นั้น ด้วยปริจเฉททั้ง 10 ซึ่งมีแม่บทหมวด 1 เป็น
ต้น มีแม่บทหมวด 10 เป็นปริโยสานก่อน โดยนัยมีคำเป็นต้น ว่า เอกวเธน
ญาณวตฺถุ
ดังนี้ (แปลว่าญาณวัตถุหมวดหนึ่ง) แล้วทำอธิบายโดยลำดับ
แห่งบททั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้งไว้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เอกวิเธน ได้แก่ โดยประการหนึ่ง
หรือโดยส่วนหนึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ญาณวตฺถุ นี้ ชื่อว่า ญาณวัตถุ
เพราะอรรถว่า ญาณนั้นด้วย วัตถุนั้นด้วย มีอยู่แก่สมบัติทั้งหลายมีประการ
ต่าง ๆ. แม้คำว่า ชื่อว่า วัตถุแห่งญาณ เพราะอรรถว่า เป็นการปรากฏ
(โอกาสฏฺเฐน) ดังนี้ก็ชื่อว่า ญาณวัตถุ. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
ญาณวัตถุ เพราะอรรถอันมีนัยก่อนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ ในที่สุดแห่ง
การกำหนดญาณวัตถุหมวดหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยาถาวกวตฺถุ-
วิภาวนา ปญฺญา เอวํ เอกวิเธน ญาณวตฺถุ
ดังนี้ (แปลว่า ปัญญา
ที่แสดงเรื่องของวิญญาณ 5 ตามความเป็นจริงดังกล่าวมานี้ ญาณวัตถุหมวด 1
ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้).
คำว่า ปญฺจ วิญฺญาณา ได้แก่ วิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณ เป็น
ต้น. บัณฑิตพึงทราบคำทั้งหลาย มีคำว่า น เหตุ เป็นต้น (คำว่า น เหตุ

แปลว่า ไม่ชื่อว่าเหตุ) โดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาธัมมสังคหะในหนหลัง
นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยสังเขป (โดยย่อ) แล้ว คำใดที่จะพึงกล่าวในที่นี้ คำ
นั้น จักแจ่มแจ้งในวาระแห่งนิทเทส.
อนึ่ง ในแม่บทญาณวัตถุหมวดหนึ่งนี้ ฉันใด แม้ในบทแห่งทุก-
มาติกาเป็นต้น ก็ฉันนั้น คือว่าคำใดที่ข้าพเจ้าจะพึงกล่าว คำนั้น ก็จักแจ่มแจ้ง
ในนิทเทสวาระนั้นนั่นแหละ. ก็บัณฑิตพึงทราบคำอย่างนี้ ในแม่บทแห่งญาณ.
วิภังค์นี้ สักว่าเป็นเครื่องกำหนดซึ่งบทตั้ง. จริงอยู่ ในญาณวิภังค์นี้ พระผู้มี
ภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่งธรรมหมวดที่หนึ่ง มี 78 บท โดยแยก
ออกเป็น 2 โดยย่อ คือ ด้วยสามารถแห่งธัมมสังคหมาติกา มีคำว่า (วิญญาณ
5) เป็น นเหตุ เป็น อเหตุกะ เป็นต้นก่อน และด้วยสามารถแห่งธรรมมิใช่
แม่บท มีคำว่า (วิญญาณ 5) เป็น อนิจจะ เป็น ชราภิภูตะเป็นต้น.
สำหรับ ทุกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ 2 ด้วยทุกะ มี 35 หมวด
ซึ่งสมควรแก่ธรรมหมวด 2
ติกมาติกา ทรงตั้งไว้หมวดละ 3 มี 88 หมวด คือ
พาหิรติกะ 4 หมวด มีคำว่า จินฺตามยา ปญฺญา เป็นต้น
อันสมควรแก่ธรรมหมวด 3 มาติกาติกะ 14 หมวด ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถ
แห่ง อนิยมิตปัญญา (ปัญญาอันไม่แน่นอน) มีคำว่า วิปากา ปญฺญา
เป็นต้น ด้วยบท 13 บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง นิยมิตปัญญา (ปัญญา
อันแน่นอน) อันเป็นบทที่หนึ่งในวิตักกติกะด้วยบท 7 บท ที่ตรัสไว้ด้วย
สามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ 2 ด้วยบท 12 บท ที่ตรัสไว้
ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ 3 ด้วยบท 13 บท ที่ตรัส
ไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่หนึ่งในปีติติกะ ด้วยบท

12 บท ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งปัญญาอันแน่นอน อันเป็นบทที่ 2 และที่
3 ในปีติติกะนั้นแหละ.
ก็ จตุกกมาติกา ทรงตั้งไว้โดยหมวด 4 มี 21 บท มีคำว่า
กมฺมสฺสกตสญฺญาณํ เป็นต้น.
ปัญจกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ 5 มี 2 หมวด.
ฉักกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ 6 มี 1 หมวด.
สัตตกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ 7 มี 11 หมวด ที่ตรัสไว้โดย
ย่ออย่างนี้ว่า "สตฺตสตฺตติ ญาณวตฺถุ" (แปลว่า ญาณวัตถุ 77) ดังนี้.
อัฏฐมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ 8 มี 1 หมวด.
นวกมาติกา ทรงตั้งไว้ หมวดละ 9 มี 1 หมวด.
ทสกมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้หมวดละ 10 มีเพียงหมวด
เดียวเท่านั้นซึ่งมีคำว่า "ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ" ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า 10 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า ตถาคตสฺส (แปลว่า ของพระตถาคต) ได้แก่ พระฤาษีทั้งหลาย
ในปางก่อน มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี เป็นต้น เสด็จมาแล้ว ฉัน
ใด พระตถาคตพระองค์นี้ ก็เสด็จมาแล้วฉันนั้น อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
เสด็จไปแล้วฉันใด พระตถาคตพระองค์นี้ ก็เสด็จไปแล้วฉันนั้น.
คำว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังของพระตถาคตนั้น มิได้ทั่ว
ไปแก่ชนเหล่าอื่น ๆ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า กำลังทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ในปางก่อนผู้เสด็จมาแล้ว ด้วยอุปนิสสัยสมบัติ คือ บุญ ฉันใด แม้กำลังแห่ง
พระตถาคตพระองค์นี้ผู้เสด็จมาแล้ว ก็ฉันนั้น.

กำลังของพระตถาคต ในที่นี้ มี 2 อย่าง คือ กำลังของกาย
อย่างหนึ่ง กำลังของญาณอย่างหนึ่ง.

ในกำลัง 2 อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบกำลังกายของพระตถาคตได้
โดยทำนองแห่งตระกูลของช้างทีเดียว.

ว่าด้วยกำลังกายของพระตถาคต


กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺยปณฺฑรํ ตมฺพปิงฺคลํ
คนฺธํ มงฺคลเหมญฺจอุโปสถํ ฉทฺทนฺติเม ทสาติ
อิมานิ หิ ทส หตฺถิกุลานิ.

แปลว่า สมจริง ดังโปราณาจารย์กล่าวไว้ว่า ตระกูลแห่ง
ช้างทั้งหลาย 10 ตระกูลเหล่านี้ คือ

1. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า กาฬาวกะ (กายสีดำ)
2. " " " " คังเคยยะ (สีน้ำไหล)
3. " " " " ปัณฑระ (สีขาวดังเขาไกรลาส)
4. " " " " ตัมพะ (สีทองแดง)
5. " " " " ปิงคละ (สีเหลืองอ่อน)
6. " " " " คันธะ (สีไม้กฤษณามีกลิ่นตัวหอม)
7. " " " " มังคละ (สีนิลอัญชันกิริยาท่าทางงด
งาม)

8. " " " " เหมาะ (สีเหลือง)
9. " " " " อุโบสถ (สีทองคำ)
10. " " " " ฉัททันตะ (สีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง
ปากและเท้าแดง)