เมนู

พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ-
ปัญญา.

อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตต-
พหิทธารัมมณปัญญา.

ญาณวัตถุ หมวดละ 3 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

จตุกกนิทเทส


[822] ในญาณวัตถุหมวดละ 4 นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็น
ไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัย
มีผล โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิ-
สนธิมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลก
นี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้
นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็น
สาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน ?

อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ ว่ารูปไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่า
เวทนาไม่เที่ยงดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เทียงดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยงดังนี้บ้าง นี้เรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ.
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อ มัคคสมังคิญาณ.
ปัญญาในผล 4 ชื่อว่า ผลสมังคิญาณ.
[823] มัคคสมังคิฌาณ ได้แก่ ความรู้แม้ในทุกข์นี้ ความรู้แม้
ในทุกขสมุทัยนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธนี้ ความรู้แม้ในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทานี้.
ทุกขญาณ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยญาณ ฯลฯ
ปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
[824] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม
ชื่อว่า กามาวจรปัญญา ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและรูปาวจรอัพยากต-
ธรรม ชื่อว่า รูปาวจรปัญญา ปัญญาในอรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจร-
อัพยากตธรรม ชื่อว่า อรูปาวจรปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า
อปริยาปันนปัญญา.

[825] ธัมมญาณ เป็นไฉน ?
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า ธัมมญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงส่งนัยคือปัจจเวกขณญาณไปในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ที่พระองค์ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรง
รู้แจ้งแล้วทรงหยั่งถึงแล้วว่า ในอดีตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งได้รู้ทุกข์แล้ว ได้รู้ทุกขสมุทัยแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธแล้ว ได้รู้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นก็ ได้รู้ทุกขสมุทัยนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ได้รู้
ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ได้รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เอง ในอนาคตกาล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักรู้ทุกข์ จักรู้
ทุกขสมุทัย จักรู้ทุกขนิโรธ จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นก็จักรู้ทุกข์นี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขสมุทัยนี้เอง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธนี้เอง สมณะหรือพราหมณ์เหล่า
นั้นก็จักรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เอง ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่
หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในการส่งนัยคือปัจจเวกขณ ญาณไปนั้น
อันใด นี้เรียกว่า อันวยญาณ.
ปริจจญาณ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ กำหนดรู้จิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นด้วย
จิต (ของตน) คือ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ, จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า
จิตปราศจากราคะ, จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ, จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า
จิตปราศจากโทสะ, จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ, จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า
จิตปราศจากโมหะ, จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่, จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน,

จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ, จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ, จิตเป็นอนุตตระ
ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ, จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น, จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้
ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น, จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น, จิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้
ชัดว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัย-
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ในจิตของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่นนั้น อันใด
นี้เรียกว่า ปริจจญาณ.
ยกเว้นธัมมญาณ อันวยญาณ ปริจจญาณ ปัญญาที่เหลือ เรียกว่า
สัมมติญาณ.
[826] อาจยโนอปจยปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจยโนอปยปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า อปจยโนอาจยปัญญา.
ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรมและอรูปาวจรกุศลธรรม ชื่อว่า อาจย-
อปจยปัญญา
ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวาจยโนอปจยปัญญา.
[827] นิพพิทาโนปฏิเวธปัญญา เป็นไฉน ?
บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย ด้วยปัญญาใด แต่
ไม่ได้แทงตลอดอภิญญาและสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิพพิทาในปฏิ-
เวธปัญญา.

บุคคลเป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลายนั้นแล ได้แทงตลอด
อภิญญา ด้วยปัญญา แต่ไม่ได้แทงตลอดสัจธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิ-
เวธโนนิพพิทาปัญญา.

ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิพพิทาปฏิเวธปัญญา.

ปัญญาที่เหลือชื่อว่า เนวนิพพิทาในปฏิเวธปัญญา.
[828] หานภาคินีปัญญา เป็นไฉน ?
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคล ผู้ได้
ปฐมฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยฌานที่ไม่มีวิตกซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า
วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตก ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้
ทุติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขาซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า วิเสส-
ภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติ ซ่านไปยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้
ตติยฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ซ่านไป ปัญญา
ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณประกอบด้วยวิราคะ ซ่าน
ไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยสุข ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้
จตุตถฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้นตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา
ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูป ซ่านไป ยังโยคาวจรบุคคลผู้ได้
อากาสานัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา
ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนฌาน ซ่านไปยัง
โยคาวจรบุคคลผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อ
ว่า หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน ซ่านไป ปัญญา
ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน ซ่านไป ยังโยคา-
วจรบุคคลผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน ปัญญาของโยคาวจรบุคคลนั้น ชื่อว่า
หานภาคินี.
สติอันสมควรแก่ธรรมนั้น ตั้งมั่น ปัญญา ชื่อว่า ฐิติภาคินี
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ซ่านไป
ปัญญา ชื่อว่า วิเสสภาคินี.
สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาญาณ ประกอบด้วยวิราคะ
ซ่านไป ปัญญา ชื่อว่า นิพเพธภาคินี.
[829] ปฏิสัมภิทา 4 เป็นไฉน ?
ปฏิสัมภิทา 4 คือ
1. อัตถปฏิสัมภิทา
2. ธัมมปฏิสัมภิทา
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉาน
ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในอันกล่าวธัมมนิรุตตินั้น
ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้แตกฉานในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณ-
ปฏิสมภิทา.
เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิสัมภิทา 4.
[830] ปฏิปทาปัญญา 4 เป็นไฉน ?
ปฏิปทาปัญญา 4 คือ
1. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
2. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา

3. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
4. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา
ในปฏิปทาปัญญา 4 นั้น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา
เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก รู้ฐานะ
นั้นก็ช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยยากลำบาก แต่รู้
ฐานะนั้นเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก
แต่รู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาปัญญา.
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ยังสมาธิให้เกิดขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้
ฐานะนั้นก็เร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาปัญญา.
เหล่านั้นชื่อว่า ปฏิปทาปัญญา.

[831] อารัมมณปัญญา 4 เป็นไฉน ?
อารัมมณปัญญา 4 คือ
1. ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
2. ปริตตอัปมาณารัมมณปัญญา
3. อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา
4. อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา
ในอารัมมณปัญญา 4 นั้น ปริตตปริตตารัมมณปัญญา
เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว
แผ่อารมณ์ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า ปริตตปริตตารัมมณปัญญา.
ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิยังไม่ชำนาญคล่องแคล่ว แผ่-
อารมณ์ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า ปริตตอัปปมาณารัมมณปัญญา.
อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปเล็กน้อย นี้เรียกว่า อัปปมาณปริตตารัมมณปัญญา.
อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคล ผู้ได้สมาธิชำนาญคล่องแคล่ว แผ่อารมณ์
ไปหาประมาณมิได้ นี้เรียกว่า อัปปมาณอัปปมาณารัมมณปัญญา.

เหล่านี้เรียกว่า อารัมมณปัญญา 4.
[832] มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชรามรณะนี้ ญาณ
แม้ในชรามรณสมุทัยนี้ ญาณแม้ในชรามรณนิโรธนี้ ญาณแม้ในชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทานี้.
ชรามรณญาณ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภชรามรณะเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภชรามรณสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณสมุทัยญาณ ฯลฯ
ปรารภชรามรณนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชรามรณนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภชรา-
มรณนิโรธคามีนีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
มัคคสมังคิญาณ ได้แก่ ญาณแม้ในชาตินี้ ฯลฯ ญาณแม้ในภพนี้
ฯลฯ ญาณแม้ในอุปาทานนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในตัณหานี้ ฯลฯ ญาณแม้ในเวทนา
นี้ ฯลฯ ญาณแม้ในผัสสะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสฬายตนะนี้ ฯลฯ ญาณแม้ใน
นามรูปนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในวิญญาณนี้ ฯลฯ ญาณแม้ในสังขารนี้ ญาณแม้
ในสังขารสมุทัยนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธนี้ ญาณแม้ในสังขารนิโรธคามินี-
ปฏิปทานี้.
ในญาณเหล่านั้น สังขารญาณ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารญาณ.
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภสังขารสมุทัยเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารสมุทยญาณ ฯลฯ ปรารภ

สังขารนิโรธเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธญาณ ฯลฯ ปรารภสังขารนิโรธ-
คามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังขารนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
ญาณวัตถุหมวดละ 4 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ปัญจกนิทเทส


[833] ในญาณวัตถุ หมวดละ 5 นั้น สัมมาสมาธิมีองค์ 5
เป็นไฉน ?
ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาที่แผ่สุขไป ปัญญาที่แผ่จิตไป ปัญญาที่แผ่
แสงสว่างไป และปัจจเวกขณนิมิต.
ปัญญาในฌาน 2 ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่ปีติไป ปัญญาในฌาน 3 ชื่อว่า
ปัญญาที่แผ่สุขไป ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่จิตไป ทิพจักขุ
ชื่อว่า ปัญญาที่แผ่แสงสว่างไป ปัจจเวกขณญาณของโยคาวจรบุคคลผู้ออกจาก
สมาธินั้น ๆ ชื่อว่า ปัจจเวกขณนิมิต นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีองค์ 5.
[834] สัมมาสมาธิมีญาณ 5 เป็นไฉน ?
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบาก
ต่อไปด้วย ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ไกลจากกิเลส หาอามิสมิได้
ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ อันบุรุษมีปัญญาทราม เสพไม่ได้ ญาณเกิด
ขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ความสงบระงับ ได้บรรลุความ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีการข่มนิวรณ์ และการห้ามกิเลสด้วยจิตที่เป็น
สสังขาริก. ญาณเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ก็เรานั้นแลมีสติเข้าสมาธินี้ มีสติออกจาก
สมาธินี้ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิมีญาณ 5.
ญาณวัตถุหมวดละ 5 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.