เมนู

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า ปริยาปันน-
ปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา. ปัญญาในกุศล
ธรรมในภูมิ 3 ในวิปากธรรมในภูมิ 4 ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า
อนิยยานิกปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ
3 ในวิปากธรรมในภูมิ 4 ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า อนิยต-
ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า สอุตตร-
ปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุตตรปัญญา.
ในปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในกุศลธรรมในภูมิ 4 ของพระอรหันต์ ผู้
กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิกปัญญา
ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะในวิปากธรรมในภูมิ 4 ของพระอรหันต์
เมื่อขณะที่อภิญญาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อขณะที่สมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถ
ปัญญา.

ญาณวัตถุหมวดละ 2 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

ติกนิทเทส


[804] ในญาณวัตถุหมวดละ 3 นั้น จินตามยปัญญา เป็น
ไฉน ?
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่
ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี

บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ
ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดัง
นี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง
ย่อมได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
ธัมมนิชฌานขันติญาณอันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามย-
ปัญญา.

สุตมยปัญญา เป็นไฉน ?
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลาย
ที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี
บุคคลได้ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ
ว่ารูปไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้
บ้าง ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้
อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมม-
นิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา.
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.
[805] ทานมยปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด ปรารภทานเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ให้ทาน นี้เรียกว่า ทานมยปัญญา.
สีลมยปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด ปรารภศีลเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้รักษาศีล นี้เรียกว่า สีลมยปัญญา.
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.


[806] อธิสีลปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมม-
ทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อธิสีล
ปัญญา.

อธิจิตตปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด เกิดขึ้นแก่โยคาวจรบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจร
สมาบัติ นี้เรียกว่า อธิจิตตปัญญา.
อธิปัญญาปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 นี้เรียกว่า อธิปัญญาปัญญา.
[807] อายโกศล เป็นไฉน ?
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ หรือเมื่อ
เราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม
สัมมาทิฏฐิ ในความข้อนั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล.
อปายโกศล เป็นไฉน ?
บุคคลผู้มีปัญญาย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป หรือ
เมื่อเราพิจารณาธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้น และอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นไปเพื่อความภิญโญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ปัญญา

กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความข้อ
นั้น อันใด นี้เรียกว่า อปายโกศล.
ปัญญาแม้ทั้งหมด ที่เป็นอุบายแก้ไขในกิจรีบด่วนหรือภัยที่เกิดขึ้น
แล้วนั้น เรียกว่า อปายโกศล ?
[808] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ 4 ชื่อว่า วิปากปัญญา ปัญญา
ในกุศลธรรมในภูมิ 4 ชื่อว่า วิปากธัมมธรรมปัญญา ปัญญาในกิริยาอัพ-
ยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า เนววิปากนวิปากธัมมธรรมปัญญา.
[809] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิย-
ปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ 3 ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า
อนุปาทินนุปาทานิยปัญญา. ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุปา-
ทินนานุปาทานิยปัญญา.

[810] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า สวิตักกสวิจาร-
ปัญญา.
ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกแต่สัมปยุตด้วยวิจาร ชื่อว่า อวิตักกวิจาร-
มัตตปัญญา.
ปัญญาอันวิปปยุตด้วยวิตกวิจาร ชื่อว่า อวิตักกาวิจารปัญญา.
[811] ปัญญาอันสัมปยุตด้วยปีติ ชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา. ปัญญา
อันสัมปยุตด้วยสุข ชื่อว่า สุขสหคตปัญญา. ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา
ชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา.
[812] ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า อาจยคามินีปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า อปจยคามินีปัญญา. ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ 4
ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า เนวาจยคามินีนาปจยคามินีปัญญา.
[813] ปัญญาในมรรค 4 ในผล 3 ชื่อว่า เสกขปัญญา. ปัญญา
ในอรหัตตผลอันเป็นส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า อเสกขปัญญา. ปัญญาในกุศลธรรม

ในภูมิ 3 ในวิปากธรรมในภูมิ 3 ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า เนว-
เสกขานาเสกขปัญญา.

[814] ปัญญาในกามาวจรกุศลธรรมและกามาวจรอัพยากตธรรม
ชื่อว่า ปริตตปัญญา. ปัญญาในรูปาวจรกุศลธรรม รูปาวจรอัพยากตธรรม
อรูปาวจรกุศลธรรม และอรูปาวจรอัพยากตธรรม ชื่อว่า มหัคคตปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4ผล 4 ชื่อว่า อัปปมาณปัญญา.
[815] ปริตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด ปรารภปริตตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปริตตารัมมณปัญญา.
มหัคคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ อันใด ปรารภมหัคคตธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มหัคคตารัมมณปัญญา.
อัปปมาณารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด
ปรารภอัปปมาณธรรมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัปปมาณารัมมณปัญญา.
[816] มัคคารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภอริยมรรคเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคารัมมณปัญญา ปัญญา
ในมรรค 4 ชื่อว่า มัคคเหตุกปัญญา.
มัคคาธิปตินรปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด กระทำอริยมรรคให้เป็นอธิบดีเกิดขึ้น นี้เรียกว่า มัคคาธิปตินีปัญญา.

[817] ปัญญาในวิปากธรรมในภูมิ 4 เป็นอุปปันนะก็มี เป็น
อุปปาทินีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ ปัญญาในกุศลธรรมในภูมิ 4
ในกิริยาอัพยากตธรรมในภูมิ 3 เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นอุปปาทินี.
[818] ปัญญาทั้งหมดนั้นแล เป็นอตีตปัญญาก็มี เป็นอนาคตปัญญา
ก็มี เป็นปัจจุปปันนปัญญาก็มี.
[819] อตีตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นอดีตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อตีตารัมมณปัญญา.
อนาคตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นอนาคตเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อนาคตารัมมณ-
ปัญญา.

ปัจจุปันนารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นปัจจุบันเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัจจุปปันนารัมมณ-
ปัญญา.

[820] ปัญญาทั้งหมดนั้นแลเป็นอัชฌัตตปัญญาก็มี เป็นพหิทธา-
ปัญญาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาปัญญาก็มี.
[821] อัชฌัตตารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด ปรารภธรรมอันเป็นไปภายในเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตตารัมมณ-
ปัญญา.

พหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมอันเป็นภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า พหิทธารัมมณ-
ปัญญา.

อัชฌัตตพหิทธารัมมณปัญญา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด ปรารภธรรมทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้น นี้เรียกว่า อัชฌัตต-
พหิทธารัมมณปัญญา.

ญาณวัตถุ หมวดละ 3 ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

จตุกกนิทเทส


[822] ในญาณวัตถุหมวดละ 4 นั้น กัมมัสสกตาญาณ เป็น
ไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิอันใด มีลักษณะรู้อย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชาพระรัตนตรัย
มีผล โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ผู้จุติและปฏิ-
สนธิมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์ซึ่งโลก
นี้และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ทั่วกัน มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้
นี้เรียกว่า กัมมัสสกตาญาณ ยกเว้นสัจจานุโลมิกญาณ กุศลปัญญาที่เป็น
สาสวะแม้ทั้งหมด ชื่อว่า กัมมัสสกตาญาณ.
สัจจานุโลมิกญาณ เป็นไฉน ?