เมนู

พระตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอัน
ประเสริฐทรงบันลือสีหนาทในบริษัท ทรงประกาศพรหมจักร กำลังเหล่าใด
ชื่อว่า กำลัง 10 ของพระตถาคต. ญาณวัตถุ หมวดละ 10 ย่อมมีด้วย
ประการฉะนี้.
มาติกา จบ

เอกกนิทเทส


[801] วิญญาณ 5 เป็นนเหตุทั้งนั้น เป็นอเหตุกะทั้งนั้น เป็นเหตุ-
วิปปยุตทั้งนั้น เป็นสัปปัจจยะทั้งนั้น เป็นสังขตะทั้งนั้น เป็นอรูปทั้งนั้น เป็น
โลกิยะทั้งนั้น เป็นสาสวะทั้งนั้น เป็นสัญโญชนิยะทั้งนั้น เป็นคันถนิยะทั้งนั้น
เป็นโอฆนิยะทั้งนั้น เป็นโยคนิยะทั้งนั้น เป็นนีวรณิยะทั้งนั้น เป็นปรามัฏฐะ
ทั้งนั้น เป็นอุปาทานิยะทั้งนั้น เป็นสังกิเลสิกะทั้งนั้น เป็นอัพยากตะทั้งนั้น เป็น
สารัมมณะทั้งนั้น เป็นอเจตสิกะทั้งนั้น เป็นวิบากทั้งนั้น เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ
ทั้งนั้น เป็นอสังกิสิฏฐสังกิเลสิกะทั้งนั้น ไม่เป็นสวิตักกสวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็น
อวิตักกวิจารมัตตะทั้งนั้น เป็นอวิตักกาวิจาระทั้งนั้น ไม่เป็นปีติสหคตะทั้งนั้น
เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะทั้งนั้น เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหา-
ตัพพเหตุกะทั้งนั้น เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีทั้งนั้น เป็นเนวเสกขานาเสกขะ
ทั้งนั้น เป็นปริตตะทั้งนั้น เป็นกามาวจรทั้งนั้น ไม่เป็นรูปาวจรทั้งนั้น ไม่เป็น
อรูปาวจรทั้งนั้น เป็นปริยาปันนะทั้งนั้น ไม่เป็นอปริยาปันนะทั้งนั้น เป็น
อนิยตะทั้งนั้น เป็นอนิยยานิกะทั้งนั้น เป็นธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วยมโน-
วิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำทั้งนั้น.

[802] คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็น
ปัจจุบัน นั้น
คือ เมื่อวัตถุเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น วิญญาณ 5 ก็เกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเกิดก่อน มีอารมณ์เกิดก่อนนั้น คือ
เมื่อวัตถุเกิดก่อน เมื่ออารมณ์เกิดก่อน วิญญาณ 5 จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก
นั้น คือ
วัตถุของวิญญาณ 5 เป็นภายใน อารมณ์ของวิญญาณ 5 เป็นภาย
นอก.
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุยังไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ
นั้น คือ
วิญญาณ 5 เกิดขึ้น ในเมื่อวัตถุยังไม่แตกดับ ในเมื่ออารมณ์ยัง
ไม่แตกดับ.
คำว่า วิญญาณ 5 มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน นั้น มี
อธิบายว่า วัตถุและอารมณ์ของจักขุวิญญาณเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์
ของโสตวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นอีก
อย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์ของชิวหาวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง วัตถุและอารมณ์
ของกายวิญญาณเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน นั้น มี
อธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณ
ก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์
ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อม
ไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของ
จักขุวิญญาณ แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ. จักขุ-
วิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวย-

อารมณ์ของฆานวิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหา-
วิญญาณ ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กาย-
วิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์
ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของโสตวิญญาณ ฆาน-
วิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวย
อารมณ์ของฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เสวยอารมณ์ของกายวิญญาณ
แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เสวยอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิด เพราะไม่พิจารณา นั้น คือ เมื่อ
พิจารณาอารมณ์ วิญญาณ 5 จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิด เพราะไม่ทำไว้ในใจ นั้น คือ เมื่อ
ทำอารมณ์ไว้ในใจ วิญญาณ 5 จึงเกิดขึ้น.
คำว่า วิญญาณ 5 จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ นั้น คือ
วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นตามลำดับของกันและกัน.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน นั้น คือ วิญญาณ 5 ไม่
เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่เกิดขึ้นต่อจากลำดับของกันและกัน นั้น
มีอธิบายว่า โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด
แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อม
ไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับ
ที่ฆานวิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด
แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด กายวิญญาณย่อม
ไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุวิญญาณเกิด แม้จักขุวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับ
ที่กายวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฯลฯ

จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆานวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณ
ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด ฯลฯ จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อ
จากลำดับที่กายวิญญาณเกิด. แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่จักขุ-
วิญญาณเกิด โสตวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กาย
วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่โสตวิญญาณเกิด ฆานวิญญาณย่อมไม่เกิด
ต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กายวิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ฆาน-
วิญญาณเกิด ชิวหาวิญญาณย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่กายวิญญาณเกิด แม้กาย
วิญญาณก็ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับที่ชิวหาวิญญาณเกิด.
คำว่า วิญญาณ 5 ไม่มีความนึกคิด นั้น คือ ความนึก ความคิด
ความพิจารณา หรือความการทำไว้ในใจ ย่อมไม่มีแก่วิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ ด้วยวิญญาณ 5.
คำว่า วิญญาณ 5 สักแต่ว่าเป็นที่ตกไปแห่งอารมณ์อันใดอัน
หนึ่ง นั้น
คือ เป็นแต่สักว่าคลองแห่งอารมณ์อันใดอันหนึ่งเท่านั้น.
คำว่า บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ต่อจากลำดับแห่ง
วิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่รู้แจ้งธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วย
วิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ การ
เดิน การยืน การนั่ง การนอน ด้วยวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งแม้ต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม
ด้วยวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม วจีกรรมด้วย
วิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม ไม่ประกอบวจีกรรม
แม้ต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลย่อมไม่ประกอบกายกรรม
วจีกรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วย
วิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วย
วิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่สมาทานกุศลธรรมและอกุศลธรรมต่อ
จากลำดับแห่งวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้สมาทานกุศลธรรมและ
อกุศลธรรม แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ ด้วย
วิญญาณ 5 นั้น
คือบุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติด้วยวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลไม่ได้เข้าสมาบัติ ไม่ได้ออกจากสมาบัติ ต่อจาก
ลำดับแห่งวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้เข้าสมาบัติ มิได้ออกจากสมาบัติ
แม้ด้วยมโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติด้วยวิญญาณ 5 นั้น คือ
บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ ด้วยวิญญาณ 5.

คำว่า บุคคลย่อมไม่จุติ ไม่อุปบัติแม้ต่อจากลำดับแห่งวิญ-
ญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้จุติ มิได้อุปบัติ แม้ด้วยมโนธาตุ ต่อจาก
ลำดับแห่งวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน ด้วยวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน ด้วยวิญญาณ 5.
คำว่า บุคคลย่อมไม่หลับ ไม่ตื่น ไม่ฝัน แม้ต่อจากลำดับ
แห่งวิญญาณ 5 นั้น
คือ บุคคลมิได้หลับ มิได้ตื่น มิได้ฝัน แม้ด้วย
มโนธาตุต่อจากลำดับแห่งวิญญาณ 5.
ความรู้เรื่องวิญญาณ 5 ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ปัญญาที่แสดงเรื่องของ
วิญญาณ 5 ตามความเป็นจริง. ญาณวัตถุ หมวดละ 1 ย่อมมีด้วยประการ
ฉะนี้.

ทุกนิทเทส


[803] ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่าโลกิย-
ปัญญา.
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า โลกุตตรปัญญา.
ปัญญาทั้งหมด ชื่อว่า เกนจิวิญเญยยปัญญา และ เกนจินวิญเญยย-
ปัญญา.

ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า สาสวปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนาสวปัญญา.
ปัญญาในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมในภูมิ 3 ชื่อว่า อาสววิปป-
ยุตตสาสวปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อาสววิปปยุตต-
อนาสวปัญญา.