เมนู

แก่การกำหนด 2 อย่าง คือ สภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่เสมอกัน) และ
วิสภาคปริจเฉท (กำหนดส่วนที่ไม่เสมอกัน). ในการกำหนด 2 อย่างนั้น พึง
ทราบสภาคปริจเฉท อย่างนี้ว่า โกฏฐาสนี้ กำหนดตัดตอนด้วยโกฏฐาสชื่อนี้
ทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน เบื้องขวางโดยรอบ. พึงทราบ วิสภาคปริจเฉทด้วย
อำนาจความไม่ปะปนกันแห่งโกฏฐาส อย่างนี้ว่า ผมมิใช่ขน แม้ขนก็ไม่
ใช่ผม
เป็นต้น.

ข้อที่ควรทราบก่อนจะบอกอุคคหโกศล


ก็พระอาจารย์ เมื่อจะบอกอุคคหโกศล 7 อย่าง อย่างนี้ ควรจะ
ทราบว่า " กรรมฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรโน้น ด้วย
อำนาจแห่งปฏิกูล กรรมฐานนี้ตรัสไว้ในพระสูตรโน้น ด้วยอำนาจแห่งธาตุ "
ดังนี้ แล้วจึงบอก.
จริงอยู่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ในมหาสติปัฏฐานด้วยอำนาจแห่งปฏิกูลเท่านั้น แต่ในมหาหัตถิป-
โทปมสูตร มหาราหุโลวาทสูตร และธาตุวิภังค์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งธาตุ. ก็ในกายคตาสติสูตร ตรัสจำแนกฌาน 4 หมายเอาฌาน
ที่ปรากฏโดยสีแห่งโกฏฐาส.

บรรดากรรมฐานสองอย่างนั้น วิปัสสนากรรมฐานตรัสด้วย
อำนาจแห่งธาตุ สมถกรรมฐานตรัสด้วยอำนาจแห่งปฏิกูล.
อาจารย์
บางพวก กล่าวว่า สมถกรรมฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสติ-
ปัฏฐานวิภังค์นี้ ด้วยสามารถแห่งสาธารณกรรมฐานทั้งปวง โดยไม่แปลกกัน
แล.

มนสิการโกศล 10


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบอกอุคคหโกศล 7 อย่าง อย่างนี้แล้ว
จึงบอกมนสิการโกศล 10 อย่าง อย่างนี้คือ
1. อนุปุพฺพโต (โดยลำดับ)
2. นาติสีฆโต (โดยไม่รีบด่วน)
3. นาติสณิกโต (โดยไม่ช้าเกินไป)
4. วิกฺเขปปฏิพาหนโต (โดยการห้ามความฟุ้งซ่าน)
5. ปณฺณตฺติสมติกฺกมนโต (โดยการก้าวล่วงบัญญัติ )
6. อนุปุพฺพมุญฺจนโต (โดยการปล่อยลำดับ)
7. อปฺปนาโต (โดยอัปปนา)
8. 9. 10. ตโย จ สุตฺตนฺตา (โดยสุตตันตะ 3)

มนสิการโดยลำดับ


บรรดาโกศล 10 เหล่านั้น ข้อว่า อนุปุพฺพโต ความว่า พระ-
โยคาวจรพึงทำกรรมฐานนั้นไว้ในใจโดยลำดับ คือ ตั้งแต่การสาธยาย ไม่พึง
เว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ในระหว่าง เพราะเมื่อมนสิการเว้นกรรมฐานหนึ่งไว้ใน
ระหว่าง จิตก็จะเหน็ดเหนื่อย ย่อมตกไปจากอารมณ์ เพราะความไม่บรรลุตาม
ใจชอบที่จะพึงได้ด้วยสามารถแห่งภาวนาสมบัติ ย่อมไม่ทำภาวนาให้สำเร็จ
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาด ก้าวขึ้นบันได 32 ชั้น โดยข้ามไปขั้นหนึ่ง ใน
ระหว่าง ฉะนั้น.