เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบ ความที่ปฏิสัมภิทา 4 เป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั้นแหละ. ก็แต่ ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปริตตารัมมณะ เพราะทำเสียงเท่านั้นให้เป็น
อารมณ์.
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาซึ่งอรรถ กล่าว
คือ กามาวจรวิบากและกิริยา และสภาวะอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย.
เมื่อพิจารณาอรรถแห่งรูปาวจรและอรูปาวจร มีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั่น
แหละ เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาพระนิพพาน อันเป็นปรมัตถ์
และอรรถ คือโลกุตตรวิบาก ชื่อว่า เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาซึ่งกามาวจรกุศล
อกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย. เมื่อพิจารณากุศลธรรมอันเป็นรูปาวจร
อรูปาวจร และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่ง
ธรรมอันเป็นโลกุตตรกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งญาณ
ในกามาวจรกุศล วิบากและกิริยา. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล วิบาก
และกิริยาอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร รู้อยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายของธรรมเหล่า
นั้น เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล และวิบาก อัน
เป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ.
เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรค มีวิริยะเป็นหัวหน้า. ไม่พึงกล่าวว่า เป็น

มัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคอันมีฉันทะ จิตตะเป็นหัวหน้า. แม้ในกาลแห่ง
ผลก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ.
ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณามรรค. เมื่อ
พิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ ด้วยสามารถแห่ง
อารัมมณาธิปติ.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณใน
มรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ. เป็น
นวัตตัพพารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณที่เหลือ.
นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่า เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะทำเสียง
อันเป็นปัจจุบันนั่นแหละให้เป็นอารมณ์.
อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่ง
วิบาก อรรถแห่งกิริยา และอรรถอันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อันเป็นอดีต. เป็น
อนาคตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถเหล่านั้นในอนาคต. เมื่อพิจารณา
อรรถอันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์ คือ
พระนิพพาน เป็น นวัตตัพพารัมมณะ.
ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศล อกุศล
และปัจจัยธรรม อันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านั้นในอนาคต เป็น
อนาคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาในปัจจุปบันอยู่ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอตีตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศลญาณ
วิปากญาณ กิริยาญาณ อันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาในอนาคต เป็นอนาคตา
รัมมณะ. เมือพิจารณาในปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.
นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นพหิทธารัมมณะ เพราะมีเสียงเป็นอารมณ์.
ในปฏิสัมภิทา 3 นอกนี้ คือ

อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถ
แห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยา และซึ่งอรรถอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เมื่อ
พิจารณาในภายนอก เป็นพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาทั้งในภายในทั้งใน
ภายนอก เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์คือพระนิพพาน
เป็นพหิทธารัมมณะเท่านั้น.
ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็น
ปัจจัยของกุศล และอกุศลในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรม
อันเป็นปัจจัยของกุศล อกุศลในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะในเวลา
พิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศลและอกุศลทั้งในภายในทั้งในภายนอก.
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณอัน
เป็นกุศลวิบาก กิริยาในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณใน
กุศล วิบาก กิริยาในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณา
ญาณในกุศล วิบาก กิริยาทั้งในภายในทั้งในภายนอก ดังนี้.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ

ในปัญหาปุจฉกะ แม้นี้ ปฏิสัมภิทา 3 เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นโลกุตตระ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสนัย
แม้ทั้ง 3 (คือ นัยแห่งสุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) ไว้เป็นปริจเฉทเดียว
กัน เพราะความที่ปฏิสัมภิทา 4 เหล่านั้น เป็นมิสสกะ คือ เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ. ในนัยแม้ทั้ง 3 ทั้งหมดนี้ปฏิสัมภิทา 3 เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทา
เป็นโลกุตตระ. แม้ปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงนำออก
จำแนกแสดงแล้ว 3 ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.
อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังคนิทเทส จบ

16. ญาณวิภังค์


มาติกา


เอกกมาติกา


[795] ญาณวัตถุหมวดละ 1 คือ วิญญาณ 51 เป็นนเหตุ เป็น
อเหตุกะ เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นอรูป เป็นโลกิยะ
เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ
เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากตะ
เป็นสารัมมณะ เป็นอเจตสิกะ เป็นวิบาก เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอสังกิ-
ลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ
เป็นนปีติสหคตะ เป็นเนวทัสสเนนนภาวนายปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสเนน-
นภาวนายปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขานาเสกขะ
เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ
เป็นโนอปริยาปันนะ เป็นอนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เกิดขึ้นแล้ว พึงรู้ได้ด้วย
มโนวิญญาณ เป็นธรรมชาติไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำ.
วิญญาณ 5 มีวัตถุเป็นปัจจุบัน มีอารมณ์เป็นปัจจุบัน มีวัตถุเกิด
ก่อน มีอารมณ์เกิดก่อน มีวัตถุเป็นภายใน มีอารมณ์เป็นภายนอก มีวัตถุยัง
ไม่แตกดับ มีอารมณ์ยังไม่แตกดับ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ย่อมไม่
เสวยอารมณ์ของกันและกัน ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะไม่นึก ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะ
ไม่ทำไว้ในใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่สับสนกันก็หาไม่ จะเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังก็
หาไม่ ย่อมไม่เกิดต่อจากลำดับของกันและกัน.

1. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ