เมนู

ในสองอย่างนั้น อาจารย์พึงบอกอุคคหโกศล 7 อย่าง อย่างนี้คือ วจสา (โดย
วาจา) มนสา (โดยใจ) วณฺณโต (โดยสี) สณฺฐานโต (โดยสัณฐาน)
ทิสโต (โดยทิศ) โอกาสโต (โดยโอกาส) ปริจเฉทโต (โดยปริจเฉท).

พึงสาธยายด้วยวาจา


ก็ในปฏิกูลมนสิการกรรมฐานนี้ แม้ภิกษุนั้น จะทรงพระไตรปิฎกก็พึง
ทำการสาธยายด้วยวาจาก่อนในเวลาที่มนสิการ. เพราะเมื่อเธอผู้เดียวทำการ
สาธยายอยู่ กรรมฐานย่อมปรากฏ เหมือนพระเถระ 2 รูปผู้เรียนกรรมฐาน
ในสำนักของพระมหาเทวเถระผู้อยู่ในมลยะประเทศ.
ได้ยินว่า พระมหาเทวเถระ อันพระเถระ 2 รูปนั้นขอกรรมฐานแล้ว
ได้ให้ทวัตติงสาการบาลี โดยสั่งว่า ท่านทั้งหลาย จงทำการสาธยายนี้
อย่างนี้ ตลอด 4 เดือน
พระเถระทั้ง 2 นั้นแม้มีนิกาย 2-3 นิกายเหล่า
นั้นคล่องแคล่วแล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะความที่ตนมีปกติรับโอวาทโดย
ความเคารพ จึงได้สาธยายทวัตติงสาการตลอด 4 เดือน ได้เป็นพระโสดาบัน
แล้ว.
เพราะฉะนั้น อาจารย์เมื่อจะบอกกรรมฐาน พึงบอกอันเตวาสิกว่า
ครั้งแรกเธอจงสาธยายด้วยวาจาก่อน ดังนี้ ก็เมื่อจะกระทำการสาธยาย
พึงกำหนดตจปัญจกกรรมฐานเป็นต้น แล้วกระทำการสาธยายด้วยสามารถแห่ง
อนุโลมและปฏิโลม.