เมนู

ก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี สิกขาบท 5 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี
สิกขาบท 5 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี สิกขาบท 5 เป็นอุเปก-
ขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี สิกขาบท 5 เป็นกามาวจร สิกขาบท
5 เป็นนรูปาวจร สิกขาบท 5 เป็นนอรูปาวจร สิกขาบท 5 เป็นปริยาปันนะ
สิกขาบท 5 เป็นอนิยยานิกะ สิกขาบท 5 เป็นอนิยตะ สิกขาบท 5 เป็น
สอุตตระ สิกขาบท 5 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
สิกขาปทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาสิกขาปทวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยสิกขาบทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก อัปป-
มัญญาวิภังค์
นั้นต่อไป.
คำว่า 5 เป็นคำกำหนดจำนวน.
คำว่า สิกฺขาปทานิ (แปลว่า สิกขาบททั้งหลาย) ได้แก่ บทที่
กุลบุตรพึงศึกษา. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสิกขา (สิกขา
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา). อนึ่ง กุสลธรรมแม้ทั้งหมดอันมาแล้วในเบื้องบน
ชื่อว่า สิกขา เพราะเป็นธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา. ก็บรรดาองค์แห่งศีล 5
องค์ใดองค์หนึ่ง ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยของสิกขาเหล่านั้น
ฉะนั้น องค์แห่งศีลเหล่านั้น จึงชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่ง
สิกขา.

คำว่า ปาณาติปาตา ได้แก่ จากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือ
การฆ่า การให้ตาย.
คำว่า เวรมณี ได้แก่ การงดเว้น.
คำว่า อทินฺนาทานา ได้แก่ จากการถือเอาสิ่งของอันบุคคลอื่นมิได้
ให้ อธิบายว่า ได้แก่ การนำสิ่งของอันบุคคลหวงแหนแล้วไป.
คำว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกามทั้งหลาย. คำว่า มิจฺฉาจารา ได้
แก่ จากการประพฤติลามกด้วยอำนาจกิเลสกาม.
คำว่า มุสาวาทา ได้แก่ จากวาทะ อันไม่เป็นจริง.
พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า สุราเมรยมัชชปมาทฏฺฐานา นี้ ต่อไป.
คำว่า สุรา ได้แก่ สุรา 5 ชนิด คือ สุราทำด้วยแป้ง 1 สุรา
ทำด้วยขนม 1 สุราทำด้วยข้าวสุก 1 สุราที่เอาเชื้อเหล้าใส่เข้าไป 1 สุราที่
เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง 1.
คำว่า เมรัย ได้แก่ เครื่องหมักดอง 5 ชนิด คือ น้ำดอง
ด้วยดอกไม้ 1 น้ำดองด้วยผลไม้ 1 น้ำดองด้วยน้ำอ้อยงบ 1 น้ำดองดอก
มะซาง 1 น้ำดองที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุง 1.
สุราและเมรัยแม้ทั้งสองนั้น ชื่อว่า มัชชะ (น้ำเมา) เพราะอรรถว่า
เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา. ชนทั้งหลาย ย่อมดื่มสุรา หรือเมรัยนั้น ด้วยเจตนา
ใด เจตนานั้น ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะเป็นเหตุให้หลง
งมงาย เพราะเหตุนั้น ที่ตั้งแห่งความประมาทจึงชื่อว่า มีอยู่ ในเพราะการดื่ม
น้ำเมา คือ สุราและเมรัย. เนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในมาติกา
มีเพียงเท่านี้.

ภาชนียบท (การจำแนกบท)


ก็คำทั้งปวง เป็นต้นว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ ในบทภาชนีย์นี้
มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยเช่นเดียวกับคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. อนึ่ง
เพราะการงดเว้นอย่างเดียวเท่านั้น เป็นสิกขาบทก็หาไม่ แม้เจตนา ก็ชื่อว่า
เป็นสิกขาบทเหมือนกัน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงแสดงนัยที่สอง เพื่อ
แสดงถึงเจตนาอันเป็นสิกขาบทนั้น. ก็ธรรมทั้งสอง (วิรัติ เจตนา) เหล่านั้น
เป็นสิกขาบทเท่านั้นก็หาไม่ แม้ธรรมอื่นอีก 50 อันสัมปยุตด้วยเจตนา ก็เป็น
สิกขาบทด้วย เพราะเป็นส่วนแห่งธรรมอันกุลบุตรพึงศึกษา ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงแม้นัยที่ 3 ต่อไป. ในที่นี้ สิกขาบทมี 2
อย่าง คือ ปริยายสิกขาบท (สิกขาบทโดยอ้อม) นิปปริยายสิกขาบท (สิกขาบท
โดยตรง).
ในสองอย่างนั้น วิรตี (การงดเว้น ) เป็นสิกขาบทโดยตรง จริงอยู่
วิรตี นั้นมาในพระบาลีว่า ปาณาติปาตา เวรมณี ดังนี้ มิใช่เจตนา. ด้วยว่า
บุคคลเมื่องดเว้น ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตนั้น ๆ ด้วยวิรตีนั้นนั่นแหละ มิใช่
ด้วยเจตนา. แต่ท่านก็นำเจตนามาแสดงไว้. โดยทำนองเดียวกันกับที่ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงนำสัมปยุตตธรรมของเจตนาที่เหลือมาแสดงไว้อีก. จริงอยู่ใน
กาลก้าวล่วงเจตนาอันเป็นบาป ชื่อว่า ความเป็นผู้ทุศีล. ฉะนั้น แม้ในเวลาแห่ง
วิรัติพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส เจตนา นั้น ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีศีล
ดี. ธรรมทั้งหลาย 50 มีผัสสะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงถือเอาแล้ว
เพราะเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยเวรมณี ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อความกระตุ้นญาณในสิกขาบททั้งหลายเหล่านี้ บัณฑิต
พึงทราบวินิจฉัย ซึ่งสิกขาบททั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ โดย