เมนู

อันต่างด้วยธรรมอันสงบและไม่สงบเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. คำที่
เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในอธิการนี้ อภิชฌาโทมนัสในโลกกล่าว
คือกาย อันบุคคลใดละได้แล้ว อภิชฌาโทมนัสนั้น แม้ในโลกกล่าวคือเวทนา
เป็นต้น ก็ชื่อว่า บุคคลนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริง ถึงอย่างนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในสติปัฏฐานทั้งหมด ด้วยสามารถแห่งบุคคลต่าง ๆ และ
ด้วยสามารถแห่งการเจริญสติปัฏฐาน อันเกิดขึ้นในขณะแห่งจิตที่แตกต่างกัน.
จริงอยู่ การละอภิชฌาโทมนัสในโลกหนึ่งได้แล้ว ก็ชื่อว่า ละอภิชฌาโทมนัส
ในโลกที่เหลือได้. ด้วยเหตุนั้นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
คำนั้นไว้ ก็เพื่อแสดงการละอภิชฌาโทมนัสในโลกเหล่านั้น ของบุคคลนั้น แล.
อุทเทสวารกถา จบ

นิทเทสวารกถา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะกระทำสัตว์ทั้งหลาย ให้
บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ มีประการมิใช่น้อย ด้วยสติปัฏฐานเทศนา จึงทรงแบ่ง
สัมมาสติข้อหนึ่งนั่นแหละ ออกเป็น 4 ส่วน เป็นสติปัฏฐาน 4 ด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์ โดยนัยว่า ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายในเนือง ๆ อยู่
เป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงถือเอาสติปัฏฐานหนึ่ง ๆ จาก
สติปัฏฐาน 4 นั้นจำแนกออกไป จึงเริ่มตรัสนิทเทสวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ดังนี้
เปรียบเหมือนช่างสานผู้ฉลาด ต้องการจะทำอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเสื่อลำแพน
ชนิดหยาบละเอียด เตียบ ข้อง และชะลอมเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำ
หนึ่งแล้วตัดออกเป็น 4 ท่อน ถือเอาท่อนหนึ่ง ๆ จาก 4 ท่อนนั้นผ่าออกแล้ว

จึงทำอุปกรณ์นั้น ๆ ก็หรือว่าเปรียบเหมือนช่างทองผู้ฉลาด ต้องการจะทำ
เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ ได้แท่งทองคำอันบริสุทธิ์อย่างดี ตัดออกเป็น 4
ส่วน แล้วถือเอาส่วนหนึ่งๆ จาก 4 ส่วนนั้น ทำเครื่องประดับนั้น ๆ ฉันนั้น.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กถญฺจ (แปลว่าเป็นอย่างไร) เป็นต้น
เป็นคำถามโดยประสงค์จะกล่าวให้พิสดาร. ก็ในอธิการนี้ มีเนื้อความโดย
สังเขป ดังนี้ว่า โดยอาการอย่างไร โดยประการอย่างไร ภิกษุ ชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่
ดังนี้. แม้ในวาระแห่งคำถามที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
คำว่า อิธ ภิกฺขุ คือ ภิกษุในศาสนานี้ ศัพท์ว่า อิธ ในที่นี้ เป็นคำ
แสดงถึงศาสนาอันเป็นที่อาศัยของบุคคล ผู้ทำกายานุปัสสนาโดยประการทั้งปวง
ด้วยสามารถแห่งกายภายในเป็นต้น ให้เกิดขึ้น และปฏิเสธความเป็นอย่านั้น
ของศาสนาอื่น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีอยู่ในศาสนา
นี้เท่านั้น ฯลฯ ศาสนาอื่นว่างจากสมณะ
ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุในศาสนานี้ ดังนี้.
คำว่า อชฺฌตฺตํ กายํ คือ กายของตน
คำว่า อุทฺธํ ปาทตลา คือ แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน
คำว่า อโธ เกสมตฺถกา คือ แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ.
คำว่า ตจปริยนฺตํ คือ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
คำว่า ปูรนฺนานปฺปการสฺส อสุจิโน ปจฺจเวกฺขติ ความว่า
พระโยคาวจรย่อมเห็นว่า กายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีเกสาเป็นต้น ซึ่ง

มีประการต่าง ๆ. คืออย่างไร คือ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ
มุตฺตํ
ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. คำว่า อิมสฺมึ ได้แก่
ในกายที่ท่านกล่าวว่าเบื้องบน ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่ปลายผม
ลงมา มีหนังห่อหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ นี้.
คำว่า กาเย ได้แก่ ในสรีระ. จริงอยู่ ท่านเรียกว่า กาย เพราะสั่งสมของ
ไม่สะอาด เป็นบ่อเกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น อันน่ารังเกียจ ทั้ง
เป็นบ่อเกิดแห่งโรคหลายร้อยอย่าง มีโรคตา เป็นต้น. คำว่า เกสา โลมา
เป็นต้นนี้ คือ อาการ 32 มีผมเป็นต้น.
พึงทราบความสัมพันธ์ (คือ การเกี่ยวเนื่องกัน ) ในโกฏฐาสเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ผมมีอยู่ในกายนี้ ขนมีอยู่ในกายนี้ เป็นต้น จริงอยู่ ในกเฬวระ
คือ อัตภาพประมาณวาหนึ่งนี้ เบื้องบน ตั้งแต่เท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ ตั้งแต่
ปลายผมลงมา โดยที่สุดรอบ ๆ ตั้งแต่หนังเข้าไป เมื่อค้นหาอยู่แม้โดยอาการ
ทุกอย่าง ใคร ๆ ย่อมไม่พบอะไร ๆ คือ จะเป็นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว
ไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์แดง การบูร หรือจุณสำหรับอบเป็นต้น หรือว่า
สิ่งที่เป็นของสะอาดแม้สักนิดหนึ่ง โดยที่แท้ ย่อมพบแต่สิ่งที่ไม่สะอาดทั้งสิ้น
อันต่างด้วยผม ขน เป็นต้น มีประการต่าง ๆ อันมีกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจ
อย่างยิ่ง ทั้งการดูก็ไม่เป็นสิริ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา ฯลฯ มุตฺตํ ดังนี้. นี้เป็นการพรรณนา
บทสัมพันธ์ในอธิการนี้.

กรรมฐานกถาว่าด้วยอำนาจสมถะ


อุคคหโกศล


ก็กุลบุตรผู้ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ เพื่อบรรลุพระอรหัต เบื้องต้น
ต้องชำระศีล 5 ให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ดีแล้ว ตัดปลิโพธที่มีอยู่
ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ด้วยการเจริญปฏิกูลมนสิการกรรมฐาน ทำฌานให้เป็น
บาทเริ่มตั้งวิปัสสนา ก็พึงเรียนเอาในสำนักของกัลยาณมิตรผู้บรรลุพระอรหัต
หรือในพระอนาคามิผล เป็นต้น รูปใดรูปหนึ่ง โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด
แม้ผู้เป็นตันติอาจารย์ (อาจารย์ผู้สอนพระพุทธพจน์) ซึ่งชำนาญในพระบาลี
พร้อมทั้งอรรถกถา แต่เมื่อไม่ได้กัลยาณมิตรเช่นนั้น ในวิหารเดียวกัน พึง
ไปยังที่อยู่ของท่านแล้วเรียนเอาเถิด. บรรดาวิธีการเหล่านั้น การชำระศีล 4
ให้หมดจด ปลิโพธ การตัดปลิโพธ และวิธีการเข้าไปสู่สำนักของอาจารย์แม้
ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้โดยพิศดารแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรค เพราะฉะนั้น
พึงทราบกิจนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในปกรณ์วิสุทธิมรรคนั้นนั่นแหละ.

วจสา บอกโดยวาจา


ก็อาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน พึงบอกโดยวิธีการ 3 อย่าง คือ สำหรับ
ภิกษุ ที่เรียนกรรมฐานตามปกติ ในวาระที่เธอมานั่งแล้ว อาจารย์พึงให้เธอ
ทำการสาธยายครั้งหนึ่งหรือ 2 ครั้ง แล้วจึงบอก. สำหรับภิกษุ ผู้ต้องการจะ
อยู่ในสำนักเรียนเอากรรมฐาน อาจารย์พึงบอกในเวลาที่เธอมาแล้ว ๆ. สำหรับ
ภิกษุ ผู้ต้องการจะเรียนแล้วไปในที่อื่น อาจารย์พึงบอกกรรมฐาน อย่าให้
ยุ่งยาก อย่าให้สงสัย โดยไม่ทำให้พิสดารเกินไป และไม่ย่อเกินไป.
ถามว่า เมื่อจะบอก อาจารย์พึงบอกอย่างไร ?
ตอบว่า พึงบอกอุคคหโกศล 7 อย่าง และมนสิการโกศล 10 อย่าง