เมนู

อันต่างด้วยธรรมอันสงบและไม่สงบเป็นต้น อันมาแล้วในนิทเทสวาระ. คำที่
เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ก็ในอธิการนี้ อภิชฌาโทมนัสในโลกกล่าว
คือกาย อันบุคคลใดละได้แล้ว อภิชฌาโทมนัสนั้น แม้ในโลกกล่าวคือเวทนา
เป็นต้น ก็ชื่อว่า บุคคลนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริง ถึงอย่างนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในสติปัฏฐานทั้งหมด ด้วยสามารถแห่งบุคคลต่าง ๆ และ
ด้วยสามารถแห่งการเจริญสติปัฏฐาน อันเกิดขึ้นในขณะแห่งจิตที่แตกต่างกัน.
จริงอยู่ การละอภิชฌาโทมนัสในโลกหนึ่งได้แล้ว ก็ชื่อว่า ละอภิชฌาโทมนัส
ในโลกที่เหลือได้. ด้วยเหตุนั้นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
คำนั้นไว้ ก็เพื่อแสดงการละอภิชฌาโทมนัสในโลกเหล่านั้น ของบุคคลนั้น แล.
อุทเทสวารกถา จบ

นิทเทสวารกถา


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะกระทำสัตว์ทั้งหลาย ให้
บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ มีประการมิใช่น้อย ด้วยสติปัฏฐานเทศนา จึงทรงแบ่ง
สัมมาสติข้อหนึ่งนั่นแหละ ออกเป็น 4 ส่วน เป็นสติปัฏฐาน 4 ด้วยสามารถ
แห่งอารมณ์ โดยนัยว่า ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายในเนือง ๆ อยู่
เป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงถือเอาสติปัฏฐานหนึ่ง ๆ จาก
สติปัฏฐาน 4 นั้นจำแนกออกไป จึงเริ่มตรัสนิทเทสวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า
ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายภายในเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไร ดังนี้
เปรียบเหมือนช่างสานผู้ฉลาด ต้องการจะทำอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเสื่อลำแพน
ชนิดหยาบละเอียด เตียบ ข้อง และชะลอมเป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำ
หนึ่งแล้วตัดออกเป็น 4 ท่อน ถือเอาท่อนหนึ่ง ๆ จาก 4 ท่อนนั้นผ่าออกแล้ว