เมนู

สพฺพํ เป็นต้น. เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแหละ.
ในนิทเทสแห่งคำว่า วิปุลา (แปลว่า อันไพบูลย์) เป็นต้น ก็
เพราะเมตตาจิตใด เป็นธรรมชาติถึงอัปปนา จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไพบูลย์
จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตกว้างขวางด้วยสามารถแห่งภูมิโดยกำหนด. ก็จิตใดเป็น
จิตกว้างขวาง จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
อันหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร ด้วย
สามารถแห่งการประหารศัตรู. จิตใดไม่มีเวร จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีความพยา-
บาท. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยํ วิปุลํ ตํ มหคฺคตํ
เป็นต้น (แปลว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น).
อนึ่ง ในข้อนี้ อเวโร อพฺยาปชฺโฌ นี้ ท่านตรัสแล้วโดยปริยาย
แห่งลิงควิปลาส (หมายความว่า จิต เป็นนปุงสกลิงค์ ตัวคุณนามเป็น
ปุงลิงค์ โดยภาษาไวยากรณ์). อีกอย่างหนึ่ง ท่านใช้ศัพท์ว่า อเวโร
อพฺยาปชฺโฌ
นี้ เข้ากับ มน ศัพท์ (คือ ใจ ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน) เช่น
จิตใดหาประมาณมิได้ มนะ คือใจนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร. ใจใดไม่มีเวร ใจนั้น
ชื่อว่า ไม่มีความพยาบาท ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น
นี้บัณฑิตพึงทราบว่า บทข้างหลังๆอธิบายบทข้างหน้า ๆหรือว่า บทข้างหน้า ๆ
อธิบายบทข้างหลัง ๆ ดังนี้ ก็ได้.

กรุณาอัปปมัญญา


แม้คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ทุคฺคตํ ทุรุเปตํ (แปลว่า
เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่ง ผู้ตกทุกข์ได้ยาก พึงสงสาร ฉะนั้น) นี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อแสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง กรุณา. จริงอยู่
ความเป็นแห่งกรุณาอันมีกำลัง ย่อมเกิดในเพราะบุคคลเห็นปานนี้.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ทุคฺคตํ ได้แก่ ผู้ถึงซึ่งความพรั่งพร้อม ด้วย
ทุกข์.
คำว่า ทุรุเปตํ ได้แก่ ผู้เข้าถึงแล้ว ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. อีกอย่าง
หนึ่งพึงทราบเนื้อความในข้อนี้นั่นแหละว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืด
ด้วยสามารถแห่งคติวิบัติ ตระกูลวิบัติ และโภควิบัติ เป็นต้น ชื่อว่า ทุคคตะ
(คือ ผู้ตกทุกข์). บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความเป็นผู้มืดในภพเบื้องหน้า เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายทุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ทุรุเปโต (คือบุคคล
ผู้เข้าถึงได้ยาก).

มุทิตาอัปปมัญญา


แม้คำว่า "เอกํ ปุคฺคลํ ปิยํ มนาปํ" (แปลว่า เหมือนบุคคล
คนหนึ่ง ผู้เป็นที่รักใคร่ ชอบใจแล้ว) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้ว เพื่อ
แสดงบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่ง มุทิตา. ในข้อนี้ พึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่
ในความเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยสามารถแห่งคติสมบัติ ตระกูลสมบัติ และโภคสมบัติ
เป็นต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่รักใคร่. และพึงทราบว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในความ
เป็นผู้มีความรุ่งเรืองในภพเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยกายสุจริตเป็น
ต้น ชื่อว่า ผู้เป็นที่ชอบใจ.

อุเบกขาอัปปมัญญา


แม้คำว่า "เนว มนาปํ น อมนาปํ" (แปลว่า เหมือนบุคคล
เห็นบุคคลคนหนึ่ง ผู้เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่ ไม่เป็นที่ชอบใจก็ไม่ใช่) นี้ พระ-