เมนู

เมตตาอัปปมัญญา


บัดนี้ พึงทราบบทภาชนีย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้น
ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น. ในบทภาชนีย์นั้น
กรรมฐานอันประกอบด้วยเมตตานี้ เป็นสัปปายะแก่บุคคลผู้มีโทสจริต เพราะ
เหตุนั้น เมตตานี้จึงชื่อว่าถึงอัปปนาในบุคคลตามความเหมาะสม. เพื่อแสดง
ซึ่งบุคคลอันเป็นที่ตั้งแห่งเมตตานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
นาม เอกํ ปุคฺคลํ
เป็นต้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง
ความอุปมา อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง.
คำว่า ปิยํ (แปลว่า ผู้เป็นที่รักใคร่) ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
คำว่า มนาปํ (แปลว่า ชอบใจ) ได้แก่ ผู้กระทำความเจริญให้
หทัย.
บรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นที่รัก เพราะอำนาจแห่งการเคยอยู่ร่วม
กันในกาลก่อน หรือว่าโดยประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน. ชื่อว่า เป็นที่
ชอบใจ
เพราะการประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นทีรัก พึงทราบด้วยความ
ที่ตนเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทาน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ชอบใจ พึงทราบด้วย
ความเป็นผู้มีวาจาไพเราะ และประพฤติประโยชน์. ก็ในที่นี้ การละพยาบาท
ของเขา ย่อมมีเพราะความที่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่รัก แต่นั้น เมตตา ก็ย่อมแผ่
ไปได้โดยง่าย. ความวางเฉยย่อมไม่ตั้งอยู่ในเพราะความเป็นผู้ชอบใจ อนึ่ง
บุคคลใด ย่อมเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ แต่นั้น เมตตาของเขาย่อมไม่
เสื่อม เพราะความเป็นผู้ตามรักษาซึ่งหิริโอตตัปปะ. ฉะนั้น คำว่า ปิยํ (แปลว่า

ผู้เป็นที่รัก) มนาปํ (แปลว่า เป็นที่ชอบใจ) พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ
คำอธิบายว่า เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่งผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึง
ทำบุคคลผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจนั้นให้เป็นอุปมา (เครื่องเปรียบเทียบ).
คำว่า เมตฺตาเยยฺย (แปลว่า พึงแผ่เมตตาไป อธิบายว่า พึง
กระทำเมตตาคือ พึงยังเมตตาให้เป็นไปในบุคคลนั้น.
คำว่า เอวเมว สพฺเพ สตฺเต (แปลว่า ในสัตว์ทั้งปวง...ฉันนั้น
นั่นแหละ) อธิบายว่า พึงแผ่เมตตาไปยังบุคคล ผู้เป็นที่รัก ฉันใด ย่อม
แผ่เมตตาอันเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในการบรรลุอัปปนาในบุคคลนั้น ไป
ยังสัตว์ทั้งปวง แม้ในบุคคลผู้ปานกลาง ผู้มีเวร โดยลำดับ ฉันนั้น.
คำว่า เมตฺติ เมตฺตายนา เป็นต้น มีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าว
แล้วนั่นแหละ.
คำว่า วิทิสํ วา (แปลว่า ทิศต่าง ๆ) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วเพื่อให้เนื้อความแห่งคำว่า ติริยํ วา (แปลว่า ทิศเบื้องวาง) นี้
แจ่มแจ้ง.
คำว่า ผริตฺวา (แปลว่า แผ่ไปแล้ว ) ได้แก่ ถูกต้องแล้ว ด้วย
สามารถกระทำให้เป็นอารมณ์.
คำว่า อธิมุญฺจิตฺวา ได้แก่ น้อมไป โดยความเป็นจิตอันยิ่ง.
อธิบายว่า น้อมไปแล้ว น้อมไปดีแล้ว ให้ระลึกดีแล้ว ให้แผ่ไปแล้วด้วยดี
ฉันใด ชื่อว่า น้อมจิตไปแล้ว ฉันนั้น.
ในนิทเทสแห่งคำว่า สพฺพธิ เป็นต้น บทเหล่านี้ทั้ง 3 เป็นบท
สงเคราะห์ในธรรมทั้งปวง (คือ กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพราะฉะนั้น เพื่อ
แสดงอรรถแห่งบทเหล่านั้น โดยความเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสว่า สพฺเพน

สพฺพํ เป็นต้น. เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแหละ.
ในนิทเทสแห่งคำว่า วิปุลา (แปลว่า อันไพบูลย์) เป็นต้น ก็
เพราะเมตตาจิตใด เป็นธรรมชาติถึงอัปปนา จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไพบูลย์
จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตกว้างขวางด้วยสามารถแห่งภูมิโดยกำหนด. ก็จิตใดเป็น
จิตกว้างขวาง จิตนั้น ชื่อว่า เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
อันหาประมาณมิได้. จิตใดหาประมาณมิได้ จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร ด้วย
สามารถแห่งการประหารศัตรู. จิตใดไม่มีเวร จิตนั้น ชื่อว่า ไม่มีความพยา-
บาท. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ยํ วิปุลํ ตํ มหคฺคตํ
เป็นต้น (แปลว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น).
อนึ่ง ในข้อนี้ อเวโร อพฺยาปชฺโฌ นี้ ท่านตรัสแล้วโดยปริยาย
แห่งลิงควิปลาส (หมายความว่า จิต เป็นนปุงสกลิงค์ ตัวคุณนามเป็น
ปุงลิงค์ โดยภาษาไวยากรณ์). อีกอย่างหนึ่ง ท่านใช้ศัพท์ว่า อเวโร
อพฺยาปชฺโฌ
นี้ เข้ากับ มน ศัพท์ (คือ ใจ ซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน) เช่น
จิตใดหาประมาณมิได้ มนะ คือใจนั้น ชื่อว่า ไม่มีเวร. ใจใดไม่มีเวร ใจนั้น
ชื่อว่า ไม่มีความพยาบาท ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในข้อว่า จิตใดไพบูลย์ จิตนั้นกว้างขวาง เป็นต้น
นี้บัณฑิตพึงทราบว่า บทข้างหลังๆอธิบายบทข้างหน้า ๆหรือว่า บทข้างหน้า ๆ
อธิบายบทข้างหลัง ๆ ดังนี้ ก็ได้.

กรุณาอัปปมัญญา


แม้คำว่า เสยฺยถาปิ นาม เอกํ ปุคฺคลํ ทุคฺคตํ ทุรุเปตํ (แปลว่า
เหมือนบุคคลเห็นบุคคลหนึ่ง ผู้ตกทุกข์ได้ยาก พึงสงสาร ฉะนั้น) นี้ พระ-