เมนู

13. อัปปมัญญาวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[741] อัปปมัญญา 4 คือ
1. ภิกษุในศาสนานี้ แผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็
อย่างนั้น ทิศที่ 3 ก็อย่างนั้น. ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ
ทิศเบื้องขวาง ก็เช่นเดียวกันนี้ แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มี
จิตเสมอในสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่.
2. แผ่กรุณาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น ทิศที่ 3 ก็
อย่างนั้น ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็
เช่นเดียวกันนี้ แผ่กรุณาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี
เวร ไม่มีพยาบาท. ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่า อยู่.
3. แผ่มุทิตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น ทิศที่ 3 ก็
อย่างนั้น ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็
เช่นเดียวกันนี้ แผ่มุทิตาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี
เวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่า อยู่.
4. แผ่อุเบกขาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ 2 ก็อย่างนั้น ทิศที่ 3
ก็อย่างนั้น ทิศที่ 4 ก็อย่างนั้น ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง ก็

เช่นเดียวกันนี้ แผ่อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ กว้างขวาง หาประมาณมิได้ ไม่มี
เวร ไม่มีพยาบาท ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง เพราะเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทุก
หมู่เหล่า อยู่.

เมตตาอัปปมัญญานิทเทส


[742] ก็ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังทิศหนึ่งอยู่ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนบุคคลเห็นบุคคลคนหนึ่ง
ผู้เป็นที่รักใคร่ชอบใจแล้ว พึงรักใคร่ ฉะนั้น.
[743] ในบทเหล่านั้น เมตตา เป็นไฉน ?
การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-
เจโตวิมุตติ อันใด นี้เรียกว่า เมตตา.
จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์
วิญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต.
จิตนี้ สหรคต เกิดร่วม เจือปน สัมปยุต ด้วยเมตตานี้ ด้วยเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า เมตตาจิต.
คำว่า ทิศหนึ่ง ได้แก่ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศ
เหนือ หรือทิศใต้ หรือทิศเบื้องสูง หรือทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องขวาง หรือ
ทิศต่าง ๆ.
บทว่า แผ่ไป คือ กระจายออกไป น้อมจิตไป.
บทว่า อยู่ มีอธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่
เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่.