เมนู

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


แบบแผนในอภิธรรมภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้
โดยนัยอันมาแล้วจิตตุปปาทกัณฑ์ ในหนหลังนั่นแหละ. ฉะนั้น ในอภิธรรม
ภาชนีย์นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งฌานทั้งหลาย แม้ทั้งหมดที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็นกุศล วิบาก และ
กิริยา โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั่นแหละ เนื้อความทั้งหมด แม้
อันต่างด้วยเนื้อความมีสุทธิกนวกะเป็นต้น ก็เช่นเดียวกับนัยที่กล่าวแล้วใน
จิตตุปปาทกัณฑ์เหมือนกัน แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ฌานทั้งหลายเป็น
กุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ ก็แต่ในอารัมมณติกะ (คือ
หมวด 3 แห่งอารมณ์) ฌานเหล่านั้น พึงทราบว่า ไม่พึงกล่าวโดยความเป็น
อารมณ์มีปริตตารมณ์เป็นต้น เพราะความที่ฌานทั้ง 3 มีนิมิตเป็นอารมณ์.
ส่วนในปัญหาปุจฉกะนี้ ฌานเหล่านั้นเป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ
พึงมีในเวลาแห่งมรรค หรือในเวลาแห่งผล. ในข้อว่า จตุตฺถํ ฌานํ สิยา
ปริตฺตารมฺมณํ
นี้ (แปลว่า ฌานที่ 4 พึงเป็นปริตตารมณ์)
ว่าโดยกุศลแล้ว จตุตถฌาน มี 13 ประเภท คือ
จตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งฌานทั้งปวง 1
จตุตถฌาน อันเป็นอิทธิวิธิ 1