เมนู

ทั้งหลาย ผู้มาด้วยจิตตานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้นเจริญจิตตานุปัสสนา
16 ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่งนั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้น
ด้วยอานุภาพแห่งจิตตานุปัสสนา.
ชนทั้งหลายผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของอันมีอยู่แต่ทิศเหนือแล้ว
เข้าไปสู่นคร โดยประตูด้านเหนือนั่นแหละ ฉันใด พระโยคาวจรทั้งหลายผู้มา
ด้วยธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาเป็นประธาน
ก็ฉันนั้น เจริญธัมมานุปัสสนาโดย 5 ปัพพะ แล้วหยั่งลงสู่พระนิพพานหนึ่ง
นั่นแหละ ด้วยอริยมรรคอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมานุปัสสนา.
ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติปัฏฐาน
ไว้ 1 เท่านั้นด้วยสามารถแห่งการระลึก และด้วยสามารถแห่งการ
ประชุมโดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ตรัสสติปัฏฐานไว้ 4
ด้วยสามารถแห่งอารมณ์
ดังนี้.

กายานุปัสสนานิทเทส


อุทเทสวารกถา


อธิบายคำว่า อิธ ภิกฺขุ

(ภิกษุในพระศาสนานี้)


ในคำว่า อิธ ภิกฺขุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในเทวโลกตรัส
สติปัฏฐานวิภังค์นี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่านั่งอยู่ในสำนักของพระองค์ใน
เทวโลกนั้นไม่มีก็จริง เมื่อความเป็นอย่างนั้น (เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสคำ
ว่า อิธ ภิกฺขุ นี้) ก็เพราะสติปัฏฐานเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของภิกษุ ทั้ง
ภิกษุทั้งหลายก็เจริญสติปัฏฐาน 4 เหล่านั้น ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า อิธ
ภิกฺขุ
ดังนี้.

ถามว่า ก็พวกภิกษุเท่านั้นหรือ ย่อมเจริญสติปัฏฐานเหล่านี้ ภิกษุณี
เป็นต้นไม่เจริญหรือ ?
ตอบว่า ชนเหล่าอื่นแม้มีภิกษุณีเป็นต้นก็เจริญ แต่ภิกษุทั้งหลาย
เป็นบริษัทชั้นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขุ เพราะความเป็น
บริษัทชั้นเลิศ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้นก็เพราะ
จะแสดงความเป็นภิกษุด้วยการปฏิบัติ จริงอยู่ บุคคลใดดำเนินไปสู่การปฏิบัติ
นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ภิกษุ ด้วยว่าบุคคลผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือเป็น
มนุษย์ก็ตาม ย่อมถึงการนับว่าเป็น ภิกษุ ทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสพระ-
คาถา ว่า
แม้ถ้าว่า ผู้ใด มีธรรมอันประดับ
แล้ว ผู้สงบแล้ว ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้เที่ยง ผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ สละอาชญาในสัตว์
ทั้งปวง ประพฤติธรรมอันสงบ ผู้นั้น
เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.


อธิบายคำ อชฺฌตฺตํ กาเย (ในกายภายใน)


คำว่า อชฺฌตฺตํ ท่านประสงค์เอากายภายในอันเป็นของตน.
เพราะฉะนั้น คำว่า อชฺฌตฺตํ กาเย จึงได้แก่ ในกายของตน. บรรดาคำ
เหล่านั้น คำว่า กาเย ได้แก่ ในรูปกาย. จริงอยู่ รูปกาย ประสงค์เอาว่า กาย
ในที่นี้ ดุจกายช้าง กายม้า และกายรถ เป็นต้น เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม
แห่งธรรม คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย และโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น.
ก็รูปกาย ท่านประสงค์เอาว่า กายเพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุม ฉันใด รูป