เมนู

5. ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา
6. ทูเตนอุปสัมปทา
7. อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา
8. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น อุปสัมปทา 3 คือ ญัตติจตุตถกัมมอุป-
สัมปทา ทูเตนอุปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาเหล่านี้เท่านั้นถาวร. ส่วนที่
เหลือได้มีอยู่เพียงสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น. บรรดาอุปสัมปทา
เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอย่างเดียว.

ปาฏิโมกขสังวรนิทเทส


ในนิทเทสแห่งปาฏิโมกขสังวร คำว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ สิกขาบท
คือ ศีล. จริงอยู่ สภาวะใด ย่อมคุ้มครอง ย่อมรักษา ย่อมให้หลุดพ้น ย่อม
เปลื้องจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น ฉะนั้นจึงตรัสสภาวะนี้ว่า ปาฏิ-
โมกข์ ดังนี้. คำว่า ศีล เป็นที่อาศัย เป็นต้น* เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์
นั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า ศีล นี้ เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์อัน
สำเร็จในเวลาเป็นที่สิ้นสุดลงพร้อมกับกรรมวาจาทีเดียว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นมี
อยู่ ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า
ผู้ยังวัตรและการปฏิบัติให้เต็ม พึงทราบว่า ข้อนั้นก็เป็นศีล. สมจริงตามที่กล่าว
ไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็น
ศีล ความสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล
ดังนี้.

* คำว่า ศีล เป็นต้น คือ เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็น
ประธาน

ในคำเหล่านั้น เจตนาของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า
การยังวัตรปฏิบัติให้เต็ม ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล.
การงดเว้นของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า เจตสิก
เป็นศีล. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาอันเป็นไปในกรรมบถ 7 ของผู้ละปาณาติบาต
เป็นต้น ก็ชื่อว่า เจตนาเป็นศีล. ในสังยุตตมหาวรรค ท่านกล่าวธรรมทั้ง
หลาย มีความไม่โลภไม่พยาบาทและสัมมาทิฏฐิ โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลละ
อภิชฌา อยู่ด้วยเจตนาปราศจากความโลภ ดังนี้ก็ชื่อว่า เจตสิกเป็นศีล.
ในข้อว่าความสำรวมเป็นศีล พึงทราบโดยความสำรวม 5 คือ
1. ปาฏิโมกขสังวร (ความสำรวมด้วยปาฏิโมกข์)
2. สติสังวร (ความสำรวมด้วยสติ)
3. ญาณสังวร (ความสำรวมด้วยญาณ)
4. ขันติสังวร (ความสำรวมด้วยขันติ)
5. วิริยสังวร (ความสำรวมด้วยความเพียร).
ความต่างกัน (นานากรณํ) ของความสำรวมเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้
ในปกรณ์วิเศษชื่อว่า วิสุทธิมรรค.
ข้อว่า การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล อธิบายว่า การไม่ก้าวล่วงอันเป็น
ไปทางกายและวาจาของผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว.
คำว่า การสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล นี้แหละเป็น
ศีลโดยตรง (นิปปริยาย) ส่วนข้อว่า เจตนาเป็นศีล และเจตสิกเป็นศีล
นี้ พึงทราบว่า เป็นศีลโดยปริยาย (โดยอ้อม) ก็เพราะภิกษุชื่อว่า ย่อมตั้ง
มั่นในพระศาสนาด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ศีลนั้นเป็นที่อาศัย ดังนี้.

ถามว่า ชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะภิกษุย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้
หรือกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น ย่อมตั้งมั่นในพระศาสนานี้.
ตอบว่า เนื้อความนี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งพระสูตรที่ว่า ก็นระ
ผู้มีปัญญาอาศัยซึ่งศีล
เป็นต้น พระสูตรว่า ดูก่อนมหาราช ชนทั้งหลาย
อาศัยศีลแล้ว พึงยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น
เป็นต้น และพระสูตร
ว่า ดูก่อนมหาราช เมื่อบุคคลอาศัยศีลแล้ว กุศลธรรมทั้งปวง
ย่อมไม่เสื่อมไปโดยรอบ ดังนี้เป็นต้น.
ศีลนั้น ๆ ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นก่อน. สมจริง
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงชำระธรรม
(ศีล) อันเป็นเบื้องต้นนั่นแหละให้ยิ่งขึ้นไป ก็บรรดากุศลธรรมทั้ง
หลาย อะไรเล่าชื่อว่า เป็นธรรมเบื้องต้น ก็ศีลอันหมดจดดีแล้ว
และทิฏฐิอันตรงด้วย เป็นธรรมเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย
ดังนี้.
เปรียบเหมือนนายช่างผู้สร้างเมือง มีความประสงค์จะสร้างเมือง ย่อม
ชำระพื้นที่ของเมืองก่อน ภายหลังจึงแบ่งที่สร้างเมือง โดยกำหนดเอาทาง
สามแพร่งสี่แพร่งเป็นต้น ฉันใด พระโยคาวจรก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมชำระศีล
ตั้งแต่ต้นทีเดียว ภายหลังจากนั้นก็กระทำให้แจ้งซึ่ง สมถะ วิปัสสนา มรรค
ผล และพระนิพพาน.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างย้อม ซักผ้าด้วยน้ำด่าง เมื่อผ้า
สะอาดดีแล้วจึงย้อมด้วยสีต่าง ๆ ตามปรารถนา ฉันใด ก็หรือว่า จิตรกร
(ช่างวาดเขียน) ผู้ฉลาดปรารถนาจะวาดรูป เขาย่อมกระทำการตกแต่งฝาก่อน
หลังจากนั้นจึงวาดรูป ฉันใด.

พระโยคาวจร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชำระศีลแต่ต้นเทียว หลังจากนั้น
ก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า
ศีลเป็นเบื้องต้น ดังนี้.
ศีลนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นจรณะ เพราะความเป็นธรรมชาติเช่นกับเท้า
(เครื่องดำเนินไป) จริงอยู่ เท้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นจรณะ.
เหมือนอย่างว่า สภาพการปรุงให้ดำเนินไปสู่ทิศ ย่อมไม่เกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าขาด
แล้ว ย่อมเกิดแก่บุรุษผู้มีเท้าสมบูรณ์นั้นแหละ ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น ศีล
ของผู้ใดแตกแล้ว ขาดแล้ว ไม่สมบูรณ์แล้ว การดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุ
พระนิพพาน ก็ย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้นั้น ส่วนผู้ใดมีศีลไม่แตก ไม่ขาด บริบูรณ์
แล้ว ผู้นั้นก็จะดำเนินไปสู่ญาณเพื่อบรรลุพระนิพพาน ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นจรณะ ดังนี้.
ศีลนั้น ๆ ชื่อว่า สังยมะ (เครื่องสำรวม) ด้วยสามารถแห่งการระวัง
ชื่อว่า สังวร (เครื่องระมัดระวัง) ด้วยสามารถแห่งการปิดกั้น. แม้ด้วยเหตุ
ทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง
ดังนี้. พึงทราบวจนัตถะในที่นี้ว่า
สภาวะใด ย่อมสำรวมการดิ้นรน โดยก้าวล่วงของบุคคล หรือว่า
ย่อมสำรวมซึ่งบุคคล คือว่า ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระสับกระส่ายไปของบุคคลนั้น
ด้วยสามารถแห่งการก้าวล่วง ฉะนั้น สภาวะนั้นจึงชื่อว่า สังยมะ (เครื่อง
สำรวม).
ชื่อว่า สังวร (เครื่องระวัง) เพราะย่อมปิดกั้นทวาร อันเป็นที่ก้าว
ล่วงแห่งบุคคล.

คำว่า มุขํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด หรือเป็นหัวหน้า. เหมือนอย่าง
ว่า อาหาร ของสัตว์ทั้งหลาย เข้าไปทางปากแล้ว ย่อมแผ่ไปสู่อวัยวะน้อย
ใหญ่ ฉันใด กุศลอันเป็นไปในภูมิ 4 แม้ของพระโยคีก็ฉันนั้น เข้าไปทางปาก
คือ ศีลแล้ว ย่อมยังความสำเร็จแห่งประโยชน์ให้สมบูรณ์. ด้วยเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศีลเป็นหัวหน้า ดังนี้.
คำว่า ปมุเขน สาธุ อธิบายว่าเป็นประธาน เป็นธรรมอันเลิศ
เป็นธรรมชาติถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด. คำว่า กุสลานํ ธมฺมานํ
สมาปตฺติยา
(แปลว่าเพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย) บัณฑิต
พึงทราบว่า ศีลเป็นเลิศ เป็นธรรมถึงก่อน เป็นธรรมประเสริฐสุด เป็น
ประธานเพื่ออันได้เฉพาะซึ่งกุศลอันเป็นไปในภูมิ 4 ดังนี้.
คำว่า กายิโก อวีติกฺกโม (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทางกาย)
ได้แก่กายสุจริต 3 อย่าง. คำว่า วาจสิโก (แปลว่า การไม่ล่วงละเมิดทาง
วาจา) ได้แก่วจีสุจริต 4 อย่าง. ทั้งสองนั้นชื่อว่า กายิกวาจสิโก (คือ การ
ไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา). ท่านย่อมถือเอาอาชีวัฏฐมกศีล (คือ ศีล
มีอาชีวะเป็นที่ 8) ย่อมแสดงด้วยการไม่ก้าวล่วงละเมิดทางกายและวาจานี้.
คำว่า สํวุโต ได้แก่ อันเขาปิดแล้ว อธิบายว่า มีอินทรีย์ อัน
สำรวมแล้วชื่อว่าปิดแล้ว. เหมือนอย่างว่า บ้านมีประตูปิดแล้ว ท่านเรียกว่า
บ้านอันเขาปิดแล้ว ระวังแล้ว ฉันใด ในข้อนี้ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ภิกษุมีอินทรีย์สำรวมแล้วระวังคุ้มครองแล้ว.
คำว่า ปาฏิโมกฺขสํวเรน ได้แก่ ด้วยปาฏิโมกข์ และสังวร. อีก
อย่างหนึ่งได้แก่ ด้วยสังวร กล่าวคือ ปาฏิโมกข์. คำว่า อุเปโต (แปลว่า ผู้
เข้าไปถึงแล้ว) เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวแล้วนั้นแหละ. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า การอยู่ด้วยอิริยาบถของภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์สังวรศีล
ด้วยบทแม้ทั้ง 71 มีคำว่า อิริยติ เป็นต้น

อนาจารนิทเทส

2

ในนิทเทสแห่งอาจาระและโคจระ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ท่านประสงค์จะกล่าวอาจาระของสมณะ โคจระของสมณะแม้โดยแท้ จึงทรงยก
ซึ่งบทว่า อาจาระมีอยู่ อนาจาระมีอยู่ด้วยบทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง เมื่อจะบอกทาง จึงกล่าวว่า
ท่านจงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา ย่อมบอกทางอันมีภัย ทางอันผิด อัน
บุคคลพึงปล่อยวางก่อน ภายหลังจึงบอกทางอันเกษม ทางอันตรงอันบุคคล
พึงถือเอา ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พระธรรมราชา เช่นกับบุรุษผู้
ฉลาดในทาง ทรงบอกอนาจาระ อันพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจแล้ว อันบุคคล
พึงละก่อน เมื่อจะทรงบอกอาจาระในภายหลังจึงตรัสว่า ตตฺถ กตโม อนา-
จาโร
เป็นอาทิ. จริงอยู่ หนทาง ที่บุคคลบอกแล้วพึงไปถึงหรือไม่
ถึงก็ได้ ส่วนทางที่พระตถาคตบอกแล้ว
เป็นทางชอบธรรม ไม่ผิดหวัง
ย่อมให้บรรลุถึงพระนคร คือ พระนิพพาน ดุจวชิราวุธ อันพระอินทร์ทรง
ปล่อยไปแล้ว ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง
ดังนี้ คำว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนี้ เป็นชื่อของพระตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบความเพียรในกัลยาณธรรม ย่อม
เป็นธรรมอันสมบูรณ์แก่บุคคลผู้มีบาปธรรมอันละแล้ว เปรียบเหมือนการทัด
ทรงด้วยเครื่องประดับ มีระเบียบดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น

1. ทั้ง 7 บท คือ ผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วย
ดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี และประกอบแล้ว
2. อนาจาระ หมายถึงความประพฤติไม่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับ อาจาระ