เมนู

5. ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา
6. ทูเตนอุปสัมปทา
7. อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา
8. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น อุปสัมปทา 3 คือ ญัตติจตุตถกัมมอุป-
สัมปทา ทูเตนอุปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาเหล่านี้เท่านั้นถาวร. ส่วนที่
เหลือได้มีอยู่เพียงสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น. บรรดาอุปสัมปทา
เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอย่างเดียว.

ปาฏิโมกขสังวรนิทเทส


ในนิทเทสแห่งปาฏิโมกขสังวร คำว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ สิกขาบท
คือ ศีล. จริงอยู่ สภาวะใด ย่อมคุ้มครอง ย่อมรักษา ย่อมให้หลุดพ้น ย่อม
เปลื้องจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น ฉะนั้นจึงตรัสสภาวะนี้ว่า ปาฏิ-
โมกข์ ดังนี้. คำว่า ศีล เป็นที่อาศัย เป็นต้น* เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์
นั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า ศีล นี้ เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์อัน
สำเร็จในเวลาเป็นที่สิ้นสุดลงพร้อมกับกรรมวาจาทีเดียว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นมี
อยู่ ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า
ผู้ยังวัตรและการปฏิบัติให้เต็ม พึงทราบว่า ข้อนั้นก็เป็นศีล. สมจริงตามที่กล่าว
ไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็น
ศีล ความสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล
ดังนี้.

* คำว่า ศีล เป็นต้น คือ เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็น
ประธาน