เมนู

ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาอันเลิศกว่าจริยาทั้ง
หมด. ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า คำสั่งสอน
อันเป็นศาสดา ก็ชื่อว่า สัตถุศาสน์ ได้. จริงอยู่ พระธรรมวินัยนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศาสดาดังพระบาลีว่า โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
เป็นต้น (แปลว่า ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา) พึงทราบเนื้อความทั้งหลายดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เพราะความ
ที่ภิกษุผู้ยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้น ปรากฏในศาสนานี้ มิได้ปรากฏใน
ศาสนาอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำคำนิยามในบทนั้นไว้ ด้วย
บทว่า อิมิสฺสา บ้าง อิมสฺมึ บ้าง (แปลว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น)
ข้อนี้ เป็นคำอธิบายมาติกาปทนิทเทส ในคำว่า อิธ.

ภิกขุนิทเทส


ในภิกขุนิทเทส บทว่า สมญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยบัญญัติ
คือโดยโวหาร. จริงอยู่ บางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุด้วยสมัญญานั่นแหละ.
จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุทั้งหลาย ในคราวนิมนต์ เป็นต้น
ย่อมรวมแม้สามเณรด้วย แล้วกล่าวว่า มีภิกษุหนึ่งร้อย หนึ่งพัน ดังนี้.
บทว่า ปฏิญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยปฏิญญาของตน. จริงอยู่
บางคนย่อมเป็นภิกษุ แม้ด้วยปฏิญญา. พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งบทว่า โก
เอตฺถ
นั้น ในบรรดาคำทั้งหลาย มีคำปฏิญญาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็น
ภิกษุ
เป็นต้น. ก็ปฏิญญานี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เป็นคำอันพระอานนท์
กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในเวลาราตรี ชนทั้งหลายแม้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อ
มีผู้ถามว่า ใครในที่นี้ ผู้ทุศีลนั้นย่อมกล่าวด้วยปฏิญญา อันไม่เป็นธรรม
อันไม่เป็นจริงว่า เราเป็นภิกษุ ดังนี้.

บทว่า ภิกฺขติ แปลว่า ย่อมขอ. จริงอยู่ บางคน ย่อมขอ ย่อม
ค้นหา ย่อมแสวงหาซึ่งภิกษา ได้ก็ตาม ไม่ได้ก็ตาม ผู้นั้น ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ย่อมขอโดยแท้.
บทว่า ภิกฺขาจริยํ อชฺฌุปคโต (แปลว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร ที่
พระพุทธเจ้าเป็นต้นเข้าถึงแล้ว) จริงอยู่ บางคน ละกองโภคะน้อยบ้าง มาก
บ้าง บวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน ละการเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม และโครักข-
กรรมเป็นต้น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร
โดยการปกปิดไว้ซึ่งเพศ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด แม้บริโภคภัตที่เขาหาบมาใน
ท่ามกลางวิหาร เพราะความเป็นผู้มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น ผู้นั้น ก็ชื่อว่าภิกษุ
เพราะอรรถว่า ผู้เข้าถึงภิกขาจาร. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด อาศัยก้อนข้าว เพราะ
ความเป็นผู้มีอุตสาหะเกิดขึ้นแล้วในบรรพชา ผู้นั้นก็ชื่อว่า ภิกษุผู้เข้าถึง
ภิกขาจาร.
บุคคลใด ย่อมทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายโดยการทำลายซึ่งค่า (ราคา)
ผัสสะ (การถูกต้องนุ่มนวล) และสีนั้น พึงทราบการทำลายค่า โดยการตัด
ด้วยมีด. จริงอยู่ ผืนผ้า แม้มีราคาตั้งพัน เมื่อถูกตัดให้เป็นท่อนน้อย ท่อน
ใหญ่แล้ว ย่อมเป็นผ้ามีค่าอันทำลายแล้ว ย่อมไม่ได้ราคาแม้เพียงครึ่งหนึ่งของ
ราคาเดิม. พึงทราบการทำลายผัสสะ ด้วยการเย็บด้วยด้าย. จริงอยู่ ผืนผ้า
แม้มีผัสสะสบาย ย่อมเป็นผัสสะอันทำลายด้วยด้ายแล้ว ย่อมถึงซึ่งความเป็น
ผัสสะขรุขระ (กระด้าง) พึงทราบการทำลายสี โดยการเย็บเพราะสนิมแห่ง
เข็มเป็นต้น. จริงอยู่ ผืนผ้า แม้สะอาดดีแล้ว ย่อมเป็นผืนผ้าที่ถูกทำลายด้วย
มลทินแห่งเข็มจำเดิมแต่ทำการเย็บ ในที่สุดย่อมถูกทำลายไปด้วยสิ่งปฏิกูลทั้ง
หลาย มีเหงื่อแห่งมือและของปฏิกูลเป็นต้น และด้วยการย้อม การทำกัปปะ

(เครื่องหมายจุดดำเล็ก ๆ) ย่อมผิดไปจากสีเดิม. ผู้ใด ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลาย
แล้ว เพราะการทรงผืนผ้าอันถูกทำลายด้วยอาการ 3 อย่าง อย่างนี้ ผู้นั้น
ชื่อว่า ภิกษุ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าอันถูก
ทำลายแล้ว ด้วยเหตุสักว่า การทรงผ้ากาสาวะอันเป็นวิสภาคะ (ต่าง) จาก
ผ้าของคฤหัสถ์.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส 5 ด้วยโสดาปัตติมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส 4 ด้วยสกทาคามิมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส 4 ด้วยอนาคามิมรรค.
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายกิเลส 8 ด้วยอรหัตตมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค 4 ด้วยคำมีประมาณ
เท่านี้.
ส่วนบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในผล 4 พระองค์ทรงแสดงด้วยคำว่า ภินฺนตฺตา
(แปลว่า เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว) จริงอยู่ พระโสดาบันทำลายกิเลส
5 อย่าง ด้วยโสดาปัตติมรรคแล้วดำรงอยู่. พระสกทาคามีทำลายกิเลส 4 ด้วย
สกทาคามิมรรคแล้วดำรงอยู่. พระอนาคามีทำลายกิเลส 4 ด้วยอนาคามิมรรค
แล้วดำรงอยู่. พระอรหันต์ทำลายกิเลส 8 ด้วยอรหัต มรรคแล้วดำรงอยู่.
พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล 4 อย่างนี้ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในข้อว่า โอธิโส กิเลสานํ ปหานา (แปลว่า
เพราะละกิเลสบางส่วน) คำว่า โอธิ (ได้แก่ บางส่วน หรือเขตแดน) มี
2 อย่าง คือ มัคโคธิ (มคฺค โอธิ = มคฺโคธิ) แปลว่า ส่วน หรือ เขต

แดนของมรรค กิเลโสธิ (กิเลส โอธิ = กิเลโสธิ) แปลว่า ส่วนหรือเขต
แดนของกิเลส. เขตแดน ชื่อว่า โอธิ ในโอธิ 2 นั้น พระโสดาบัน ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะละกิเลสบางส่วน ด้วยมัคโคธิ. จริงอยู่ มรรคทั้ง 4 มรรคหนึ่ง
เท่านั้นละกิเลสไปบางส่วน มิใช่มรรค 4 ละกิเลสทั้งสิ้น. แม้ในสกทาคามี
อนาคามี ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เพราะโสดาบัน ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลส
บางส่วน คือกิเลโสธิ. จริงอยู่ ในบรรดากิเลสที่ท่านควรละ ท่านละไปได้
เพียงบางส่วน หาใช่ละไปทีเดียวทั้งหมดไม่.
ก็พระอรหันต์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน. จริงอยู่
ท่านละกิเลสไปโดยไม่จำเพาะส่วนด้วยมรรค 4 หาใช่ละไปด้วยเขตแดนแห่ง
มรรคเดียวไม่. อนึ่ง ในกิเลสที่พึงละท่านละไปโดยไม่มีส่วนเหลือเลย เพราะ
ว่า แดนแห่งกิเลสแม้สักอย่างหนึ่ง ชื่อว่าตั้งอยู่มิได้มี. แม้ในส่วนทั้งสอง นั้น
พระอรหันต์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสทั้งหลายไปโดยไม่จำเพาะส่วน ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
พึงทราบวิเคราะห์ ในบทว่า เสกฺโข ต่อไป.
พระอริยบุคคล 7 กับด้วยกัลยาณปุถุชน ผู้ยังศึกษาสิกขา 3 อยู่
เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า เสกขา (ผู้กำลังศึกษาอยู่) ในบุคคล
เหล่านั้น พระเสกขะไร ๆ ก็ชื่อว่า ภิกษุ.
ชื่อว่า อเสกขา เพราะไม่ต้องศึกษา. พระขีณาสพ ก้าวล่วงเสกข-
ธรรมแล้ว ดำรงอยู่ในผลอันเลิศ เรียกว่า อเสกขะ เพราะไม่มีเสกขธรรม
ที่ท่านพึงศึกษาไห้ยิ่งกว่านั้น.
ภิกษุปุถุชน ที่เหลือ กำลังศึกษาสิกขา 3 อยู่ก็ไม่ใช่ ศึกษาแล้วก็
ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุปุถุชนนั้น ไม่ใช่พระเสกขะ และ

พระอเสกขบุคคล. ผู้บรรลุธรรมอันเลิศ คือ ศีลอันเลิศ สมาธิอันเลิศ ปัญญา
อันเลิศ วิมุตติอันเลิศ นี้ดำรงอยู่ ชื่อว่า ภิกษุ.
ผู้ไม่ลามก (ผู้ไม่ตกต่ำ) ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม. จริงอยู่
ตั้งแต่กัลยาณปุถุชน จนถึงพระอรหันต์ ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นภิกษุผู้ตั้ง
อยู่ในธรรมอันงาม เพราะประกอบด้วย ศีลอันงาม สมาธิอันงาม ปัญญา
อันงาม วิมุตติอันงาม วิมุตติญาณทัสสนะอันงาม.
ภิกษุผู้ไม่มัวหมอง ผ่องใส ชื่อว่า ภิกษุผู้บริสุทธิ์ผ่องใส. ความ
ไม่ขุ่นมัว มีความผ่องใสวิเศษแล้วเป็นอรรถ ดุจความผ่องใสของเนยใส ๆ.
บทว่า สาโร พึงทราบว่า ชื่อว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็น
สาระ เพราะประกอบด้วยสาระ 3 มีศีลสาระเป็นต้น ดุจผืนผ้าเขียว เพราะ
ประกอบด้วยสีเขียว. อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพเท่านั้นพึงทราบว่า ชื่อว่า
ผู้มีธรรมอันเป็นสาระ เพราะปราศจากกิเลสอันไร้ประโยชน์.
อนึ่ง ในข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะกำลังทำลายบาปอกุศลธรรม
ทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกษุ เพราะละกิเลสโดยจำเพาะส่วน และพระเสกขะ ชื่อว่า
ภิกษุ นี้. ในฐานะ 3 ดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระเสกขะ 7.
ข้อว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมแล้ว. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
ละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน (โดยไม่เหลือ) และผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ผู้ชื่อว่า ภิกษุ
ทั้งปวงเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระขีณาสพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคำว่า ภิกษุ ด้วยสัญญาเป็นต้น
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงความเป็นภิกษุ ด้วยสามารถแห่งการอุปสมบท
จึงตรัสว่า สมคฺเคน สํเฆน เป็นอาทิ.

ในคำเหล่านั้น คำว่า สมคฺเคน สํเฆน (แปลว่า โดยสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกัน) ได้แก่ ภิกษุผู้ควรแก่สังฆกรรม ในการทำกรรม อย่างต่ำต้องมี
ภิกษุครบ 5 รูป ในการทำกรรมทุกครั้ง โดยไม่กำเริบ ต้องนำฉันทะของ
ภิกษุที่มีอยู่มา เมื่อภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว จึงชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะ
ความที่ฉันทะอันภิกษุนำมาแล้ว.
คำว่า ญตฺติจตุตฺเถน (แปลว่า มีญัตติเป็นที่ 4) ได้แก่ กรรม
อันสงฆ์พึงทำด้วยอนุสาวนา 3 ครั้ง และด้วยญัตติ 1 ครั้ง
คำว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยวินัยกรรม อันถูกต้อง (อันเป็นธรรม).
คำว่า อกุปฺเปน ได้แก่ เข้าถึงแล้วซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรม
อันไม่หวั่นไหว มั่นคง เพราะถึงพร้อมด้วย วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ
อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ และบริษัทสมบัติ (ถึงพร้อมด้วยหมู่คณะ).
คำว่า ฐานารเหน (แปลว่า ควรแก่ฐานะ) ได้แก่ ควรแก่เหตุ
ควรแก่สัตถุศาสน์. คือว่าผู้เข้าถึงแล้ว บรรลุแล้วซึ่งภาวะในเบื้องบน ชื่อว่า
เป็น อุปสัมบัน (คือ ผู้บวชแล้ว) จริงอยู่ ความเป็นภิกษุ ชื่อว่า ภาวะใน
เบื้องบน (อุปริภาวะ) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภาวะในเบื้องบนว่า
อุปสัมบัน เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกรรม (การบวช) ตามที่กล่าวแล้ว.
นัยเหล้านี้ (หมายถึงการอุปสมบท) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการ
อุปสมบท 8 อย่างคือ

1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
2. สรณคมนอุปสัมปทา
3. โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา
4. ปัญหาพยากรณอุปสัมปทา

5. ครุธัมมปฏิคคหณอุปสัมปทา
6. ทูเตนอุปสัมปทา
7. อัฏฐวาจิกา อุปสัมปทา
8. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา
บรรดาอุปสัมปทาเหล่านั้น อุปสัมปทา 3 คือ ญัตติจตุตถกัมมอุป-
สัมปทา ทูเตนอุปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาเหล่านี้เท่านั้นถาวร. ส่วนที่
เหลือได้มีอยู่เพียงสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่เท่านั้น. บรรดาอุปสัมปทา
เหล่านั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทาอย่างเดียว.

ปาฏิโมกขสังวรนิทเทส


ในนิทเทสแห่งปาฏิโมกขสังวร คำว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ สิกขาบท
คือ ศีล. จริงอยู่ สภาวะใด ย่อมคุ้มครอง ย่อมรักษา ย่อมให้หลุดพ้น ย่อม
เปลื้องจากทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ในอบายเป็นต้น ฉะนั้นจึงตรัสสภาวะนี้ว่า ปาฏิ-
โมกข์ ดังนี้. คำว่า ศีล เป็นที่อาศัย เป็นต้น* เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์
นั้นนั่นแหละ. ในคำเหล่านั้น คำว่า ศีล นี้ เป็นไวพจน์ของปาฏิโมกข์อัน
สำเร็จในเวลาเป็นที่สิ้นสุดลงพร้อมกับกรรมวาจาทีเดียว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นมี
อยู่ ธรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นต้นของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือว่า
ผู้ยังวัตรและการปฏิบัติให้เต็ม พึงทราบว่า ข้อนั้นก็เป็นศีล. สมจริงตามที่กล่าว
ไว้ในปฏิสัมภิทาว่า อะไรเป็นศีล ตอบว่า เจตนาเป็นศีล เจตสิกเป็น
ศีล ความสำรวมเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล
ดังนี้.

* คำว่า ศีล เป็นต้น คือ เป็นจรณะ เป็นเครื่องสำรวม เป็นเครื่องระวัง เป็นหัวหน้า เป็น
ประธาน