เมนู

ชื่อว่า ปาพจน์. ชื่อว่า พรหมจรรย์ เพราะเป็นจริยาอันเลิศกว่าจริยาทั้ง
หมด. ชื่อว่า สัตถุศาสน์ เพราะอรรถว่า คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง แม้คำว่า คำสั่งสอน
อันเป็นศาสดา ก็ชื่อว่า สัตถุศาสน์ ได้. จริงอยู่ พระธรรมวินัยนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นศาสดาดังพระบาลีว่า โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
เป็นต้น (แปลว่า ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาล
ล่วงไปแห่งเรา) พึงทราบเนื้อความทั้งหลายดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เพราะความ
ที่ภิกษุผู้ยังฌานมีประการทั้งปวงให้เกิดขึ้น ปรากฏในศาสนานี้ มิได้ปรากฏใน
ศาสนาอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำคำนิยามในบทนั้นไว้ ด้วย
บทว่า อิมิสฺสา บ้าง อิมสฺมึ บ้าง (แปลว่า ในทิฏฐินี้ เป็นต้น)
ข้อนี้ เป็นคำอธิบายมาติกาปทนิทเทส ในคำว่า อิธ.

ภิกขุนิทเทส


ในภิกขุนิทเทส บทว่า สมญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยบัญญัติ
คือโดยโวหาร. จริงอยู่ บางคนย่อมปรากฏว่า เป็นภิกษุด้วยสมัญญานั่นแหละ.
จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลาย เมื่อนับจำนวนภิกษุทั้งหลาย ในคราวนิมนต์ เป็นต้น
ย่อมรวมแม้สามเณรด้วย แล้วกล่าวว่า มีภิกษุหนึ่งร้อย หนึ่งพัน ดังนี้.
บทว่า ปฏิญฺญาย ได้แก่ (เป็นภิกษุ) ด้วยปฏิญญาของตน. จริงอยู่
บางคนย่อมเป็นภิกษุ แม้ด้วยปฏิญญา. พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งบทว่า โก
เอตฺถ
นั้น ในบรรดาคำทั้งหลาย มีคำปฏิญญาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็น
ภิกษุ
เป็นต้น. ก็ปฏิญญานี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เป็นคำอันพระอานนท์
กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในเวลาราตรี ชนทั้งหลายแม้ทุศีล เดินสวนทางมา เมื่อ
มีผู้ถามว่า ใครในที่นี้ ผู้ทุศีลนั้นย่อมกล่าวด้วยปฏิญญา อันไม่เป็นธรรม
อันไม่เป็นจริงว่า เราเป็นภิกษุ ดังนี้.