เมนู

12. ฌานวิภังค์


มาติกา


[599] ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกข-
สังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษทั้งหลาย
อันมีประมาณน้อยสมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
สำรวมในอินทรีย์ 6 รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรตลอด
ปฐมยามและปัจฉิมยาม ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ประ-
กอบปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน เจริญโพธิปักขิยธรรม.

ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและ
ถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและ
เหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้า
และเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยว และ
ลิ้มรสเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้
ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดย
ปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูดและนิ่ง.

ภิกษุนั้น อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ดง ที่แจ้ง กองฟาง สถานที่ไม่มีเสียง
อื้ออึง สถานที่ไม่ใคร่มีคนสัญจรไปมา สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน
สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.

ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม้ก็ตาม ไปสู่เรือนว่าง
ก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน.

ภิกษุนั้น ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว อยู่ด้วยจิตที่ปราศจาก
อภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความพยาบาทและความ
ประทุษร้ายได้แล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อยู่ มีความอนุเคราะห์
แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความประ-
ทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีอาโลก-
สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากถีนมิทธะ ละ
อุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ มีจิตสงบภายใน ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้าม
เสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา อยู่ ไม่มีความสงสัย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ
สงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ 5 เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมอง ทำ
ปัญญาให้ทรามได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้วบรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่
วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส
เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็น
ผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ
ว่าเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้อยู่ บรรลุจตุตถ-
ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส

และโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ เพราะ
ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆ-
สัญญา เพราะไม่มีมนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌาน โดยบริกรรมว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าว
ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุวิญญาณัญ-
จายตนฌาน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าว
ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากิญจัญญาย-
ตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ เพราะ
ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่.

มาติกา จบ

สุตตันตภาชนีย์


มาติกานิทเทส


[600] บทว่า ในศาสนานี้ มีอธิบายว่า ในทิฏฐินี้ ในขันตินี้
ในรุจินี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ใน
พรหมจรรย์นี้ ในศาสนาของพระศาสดานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ในศาสนา
นี้.
[601] บทว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา
ชื่อว่าภิกษุ เพราะปฏิญญา
ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ