เมนู

8,000 นัยในก่อน รวมกับ 2,000 นัยหลังนี้ด้วยประการฉะนี้. ก็กุศลทั้งหลาย
เหล่านั้นแล เป็นโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้ว. แต่การนับนัยในวิปากะ พึงทำนัย
ทั้งหลายแห่งกุศล แล้วคูณด้วย 3 แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบ ความที่มัคคังคะ เป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองพระบาลีนั้นแหละ. แต่ในอารัมมณติกะ มรรคเหล่านี้ทั้ง
หมด เป็นอัปปมาณารัมมณะอย่างเดียว ไม่เป็นมัคคารัมมณะ เพราะปรารภ
พระนิพพานอันเป็นอัปปมาณธรรมเป็นไป. เพราะมรรค ย่อมไม่ทำผลให้
เป็นอารมณ์แต่ว่าด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุในที่นี้ กุสลทั้งหลาย เป็นมัคค-
เหตุกะ. ในกาลเจริญมรรค ชื่อว่า เป็นมัคคาธิปติ เพราะทำวิริยะ หรือ
วิมังสาให้เป็นประธาน. แม้ในกาลแห่งผลจิต ก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ. ถึงว่า
ด้วยความเป็นเอการัมมณะในอตีตะเป็นต้น ก็ไม่พึงกล่าว. แต่ย่อมชื่อว่า เป็น
พหิทธารัมมณะได้ เพราะความที่พระนิพพานเป็นพหิทธาธรรม ดังนี้. แม้
ในปัญหาปุจฉกะนี้ ท่านก็กล่าวว่า เป็นมัคคังคะ เป็นโลกุตตระ ที่เกิดขึ้น
แล้วเหมือนกัน. สำหรับมัคคังคะซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตตระ พระสัมมา-
สัมพุทธะ ตรัสไว้ในสุตตันตภาชนีย์เท่านั้น ส่วนในอภิธรรมภาชนีย์ และ
ปัญหาปุจฉกะ ตรัสว่า เป็นโลกุตตระอย่างเดียว. แม้มัคควิภังค์นี้ พระองค์
ก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว 3 ปริวัฎ ฉะนี้แล.
วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ
อรรถกถามัคควิภังค์ จบ

12. ฌานวิภังค์


มาติกา


[599] ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกข-
สังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษทั้งหลาย
อันมีประมาณน้อยสมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
สำรวมในอินทรีย์ 6 รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรตลอด
ปฐมยามและปัจฉิมยาม ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ประ-
กอบปัญญาอันรักษาไว้ซึ่งตน เจริญโพธิปักขิยธรรม.

ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและ
ถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและ
เหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการคู้อวัยวะเข้า
และเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยว และ
ลิ้มรสเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้
ชัดอยู่โดยปกติในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดย
ปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูดและนิ่ง.

ภิกษุนั้น อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ดง ที่แจ้ง กองฟาง สถานที่ไม่มีเสียง
อื้ออึง สถานที่ไม่ใคร่มีคนสัญจรไปมา สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน
สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น.