เมนู

[586] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัม-
โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัม-
มาวายามะ
.
[587] สัมมาสติ เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.
[588] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ 8.

ปัญจังคิกวาระ


เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย


[589] มรรคมีองค์ 5 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวายามะ
4. สัมมาสติ
5. สัมมาสมาธิ
ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ 5 เป็นไฉน ?

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกเข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ
และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรค
มีองค์ 5 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
มีในสมัยนั้น.
ในมรรคมีองค์ 5 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความ
เห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อัน
ใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่ง
มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัม-
โพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมา-
วายามะ
.
สัมมาสติ เป็นไฉน ?
สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ.
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ 5 ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ 5.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย


[590] มรรคมีองค์ 5 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
2. สัมมาสังกัปปะ
3. สัมมาวายามะ
4. สัมมาสติ
5. สัมมาสมาธิ
ในมรรคมีองค์ 5 นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ
และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ปัญญา
กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้
เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วย
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ
ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ.