เมนู

ก็บัณฑิตพึงนับนัยในอภิธรรมภาชนีย์นั้น ด้วยว่าอภิธรรมภาชนีย์นี้
ท่านจำแนกนัยไว้ 4,000 นัย คือ ในมรรคหนึ่ง มี 1,000 นัย (1,000 * 4
= 4,000) สำหรับในการถามและตอบรวมโพชฌงค์แม้ทั้ง 7. สำหรับในการ
แยกวิสัชนาทีละข้อ โพชฌงค์ทั้ง 7 มี 4 หมวด จัดเป็น 28,000 นัย คือ
โพชฌงค์ 7 เป็น 4 ด้วยสามารถแห่งโพชฌงค์แต่ละข้อ. นัยแม้ทั้งหมดนั้น
เป็น 32,000 นัย โดยนับรวมกับ 4 นัยแรก. ในอภิธรรมภาชนีย์ ท่านจำแนก
กุศลทั้งหลายไว้ 32,000 นัยเหมือนกัน. แต่เพราะโพชฌงค์ทั้งหลายย่อมได้
แม้ในขณะแห่งผล คือ โพชฌงค์ทั้งหลายเป็นกุศลเหตุ และเป็นสามัญผล
ฉะนั้น เพื่อแสดงโพชฌงค์แม้ในนัยเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มวิปากนัยโดยแบบ
แผนอันเป็นเบื้องต้น คือ กุศลนิทเทสนั่นแหละ. นัยแห่งวิบากแม้นั้น มี 2
อย่างด้วยสามารถแห่งการถามและการตอบรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการ
ถามและการตอบแยกกัน. นัยที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหน
หลังนั่นแหละ. สำหรับวิปากนัย บัณฑิตพึงคูณด้วย 3 แต่กุศล แล.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบ ความที่โพชฌงค์ทั้งหลาย
ที่เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ส่วนในอารัมมณ-
ติกะทั้งหลาย โพชฌงค์แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอัปปมาณารัมมณะเท่านั้น เพราะ
ปรารภพระนิพพานอันเป็นอัปปมาณะเป็นไป ไม่เป็นมัคคารัมมณะ. ก็แต่ว่า
ในอธิการนี้ โพชฌงค์ที่เป็นกุศล เป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งเหตุ.
โพชฌงค์เหล่านั้น เป็นมัคคาธิปติในเวลาเจริญมรรคอันกระทำวิริยะ หรือ