เมนู

โวสสัคคะเป็นอรรถด้วย ฉันใด ก็สติสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมถึงที่สุดรอบ ฉันใด
ภิกษุย่อมยังสติสัมโพชฌงค์นั้น ให้เจริญฉันนั้นเถิด. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ
ก็นัยนี้. ในนัยแม้นี้ ท่านก็กล่าวว่า โพชฌงค์ทั้งหลาย เจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระ
แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย


ในอภิธรรมภาชนีย์ มี 2 นัย

ด้วยสามารถแห่งการถาม
ตอบโพชฌงค์แม้ทั้ง 7 โดยรวมกัน และด้วยสามารถแห่งการถามตอบโพชฌงค์
ทั้ง 7 โดยแยกกัน พึงทราบอรรถกถาวรรณนาแห่งโพชฌงค์เหล่านั้น ด้วย
นัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในนิทเทสแห่งอุเปกขาสัม-
โพชฌงค์ ชื่อว่า อุเบกขา ด้วยสามารถแห่งการวางเฉย. อาการ (กิริยา)
แห่งการวางเฉย ชื่อว่า กิริยาที่วางเฉย. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า
ย่อมเพ่ง ย่อมไม่ท้วงธรรมทั้งหลาย อันกำลังเป็นไปด้วยดีซึ่งควรแก่การเพ่ง.
ชื่อว่า กิริยาที่เพ่ง เพราะอรรถว่า ย่อมยังบุคคลให้เข้าไปเพ่ง. กิริยาที่เพ่ง
อันยิ่ง โดยกิริยาที่เพ่งเป็นโลกีย์อันบรรลุความเป็นโพชฌงค์ ชื่อว่า ความ
เพ่งเล็งยิ่ง.
ภาวะแห่งความเป็นกลาง โดยการเป็นไปและไม่เป็นไป ชื่อว่า
มัชฌัตตตา (ความเป็นกลาง) ท่านกล่าวว่า มัชฌัตตตาแห่งจิต ก็เพื่อแสดง
ว่า มัชฌัตตตานั้น เป็นของจิต มิใช่เป็นของสัตว์ ดังนี้แล. นี้เป็นการพรรณนา
บทตามลำดับในอภิธรรมภาชนีย์นี้.