เมนู

วิริยสัมโพชฌงค์


คำว่า ตสฺส ตํ ธมฺมํ ได้แก่ ภิกษุนั้น วิจัยธรรมนั้น ซึ่งมีประการ
ตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง. คำว่า อารทฺธํ โหติ ได้แก่ เป็นความเพียรที่
บริบูรณ์ เป็นความเพียรอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว. คำว่า อสลฺลีนํ ได้แก่ ชื่อว่า
ความไม่ย่อหย่อน เพราะเป็นความพยายามทีเดียว. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ เป็น
ความเพียรอันยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.

ปีติสัมโพชฌงค์


คำว่า นิรามิสา ได้แก่ บริสุทธิ์ ชื่อว่าปราศจากอามิส เพราะ
ความไม่มีกามอามิส โลกอามิส และวัฏฏอามิส. คำว่า อยํ วุจุจติ ได้แก่
ปีตินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าเรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปีติมนสฺส แปลว่า ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ. คำว่า กาโยปิ
ปสฺสมฺภติ
ได้แก่ นามกาย กล่าวคือ ขันธ์ 3 (เวทนา สัญญา สังขาร)
ย่อมสงบระงับ ในเพราะความสงบระงับไปแห่งความเร่าร้อนด้วยกิเลส. คำว่า
จิตฺตมฺปิ ได้แก่ แม้วิญาณขันธ์ ก็ย่อมสงบระงับ ฉันนั้นเหมือนกัน. คำ
ว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ปัสสัทธินี้ เป็นธรรมยังโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น สัมปยุต
ด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.

สมาธิสัมโพชฌงค์


คำว่า ปสฺสทฺธกายสฺส สุขิโน ได้แก่ ผู้มีความสุข ด้วยความสุข
อันเกิดขึ้นเพราะความที่กายนั้นสงบระงับแล้ว. คำว่า สมาธิยติ ได้แก่ ย่อม
ตั้งมั่นโดยชอบ คือ เป็นสภาวะไม่หวั่นไหวอยู่ในอารมณ์เหมือนบรรลุอัปปนา.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (สมาธิ) นี้เป็นธรรม
ยังโพชฌงค์ให้เกิด สัมปยุตด้วยวิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์.

อุเปกขาสัมโพชฌงค์


คำว่า ตถา สมาหิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดุจการบรรลุ-
อัปปนานั้น. คำว่า สาธุกํ อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งมั่น
ด้วยดี ไม่เป็นสภาวะเปลี่ยนไป ในเพราะการละและการเจริญธรรมเหล่านั้น
จึงชื่อว่า ย่อมตั้งมั่น. คำว่า อยํ วุจฺจติ ได้แก่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้
เป็นสภาพธรรมยังโพชฌงค์ 6 ไม่ให้ท้อถอย ทั้งไม่ให้ก้าวล่วง ให้สำเร็จ ซึ่ง
อาการของความเป็นกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อุเปกขาสัม-
โพชฌงค์.

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ คำอะไร ๆ ย่อมชื่อว่า เป็นธรรมอันท่าน
กล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสโพชฌงค์ทั้งหลาย โดยรส (หน้าที่) ต่าง ๆ
เป็นลักษะ (เครื่องหมาย) เป็นบุพภาควิปัสสนาในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง
ไม่ก่อนไม่หลังกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
นัยที่หนึ่ง จบ