เมนู

เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลสมควรเพื่อเจริญอุเบกขาสัม-
โพชฌงค์
ดังนี้. อนึ่ง ในโพชฌงค์ทั้งหมดเหล่านั้น โพชฌงค์หนึ่ง (คือ
สติ) ชื่อว่า เป็นประโยชน์ในที่ทั้งปวง เพราะความเป็นธรรมอันสัตว์พึง
ปรารถนา เปรียบเหมือนการปรุงรสเค็มในกับแกงทุกอย่าง และเปรียบเหมือน
อำมาตย์ผู้ทำการงานทั้งหมดในราชกิจทั้งปวง. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สติแล เป็นธรรมมี
ประโยชน์ในที่ทั้งปวง.
พระบาลีใช้คำว่า สพฺพตฺถิกํ จะแปลว่า เป็น
ธรรมจำปรารถนาในที่ทั้งปวงก็ได้ พระบาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. ท่าน
อธิบายว่า สัตว์พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง แม้ทั้งสองบท. พึงทราบว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า โพชฌงค์มี 7 เท่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่และ
อุทธัจจะ และเพราะเป็นธรรมมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

สติสัมโพชฌงค์


บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุแห่งความต่างกันในเพราะอารมณ์หนึ่งแห่ง
โพชฌงค์เหล่านั้นนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งกิจ (หน้าที่) ของตน ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ตตฺถ กตโม สติสมฺโพชฺฌงฺโค เป็นอาทิ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนา
นี้. คำว่า สติมา โหติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติ เหมือนบุคคลผู้มีปัญญาเพราะ
ประกอบด้วยปัญญา บุคคลมียศเพราะประกอบด้วยยศ บุคคลมีทรัพย์เพราะ
ประกอบด้วยทรัพย์ฉะนั้น. อธิบายว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสติ. คำว่า
ปรเมน (แปลว่าประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง) ได้แก่ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. จริง
อยู่ คำนี้ชื่อว่า เป็นธรรมอย่างยิ่ง เป็นธรรมสูงสุด เป็นธรรมประเสริฐสุด