เมนู

และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด สติ
ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้ง
หลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่
เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่
เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความวางเฉย
กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย


[562] โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์

4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด โพชฌงค์ 7 คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมมีในสมัยนั้น.
ในโพชฌงค์ 7 นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
สติ ความระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค
นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพ่งเล็งยิ่ง ความเป็นกลางแห่ง
จิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า โพชฌงค์ 7. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า
ธรรมที่สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ 7.

ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย


[563] โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์
4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ในโพชฌงค์ 7 นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.
ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐม-
ฌานอันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้วได้เจริญไว้แล้วนั้น
แล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมา-
สติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า
สติสัมโพชฌงค์. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติ-
สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยธัมม-