เมนู

10. โพชฌังควิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


โพชฌงค์ 7 นัยที่ 1


[542] โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์
4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
[543] ในโพชฌงค์ 7 นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึก
ได้ ระลึกได้บ่อย ๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ นี้เรียกว่า
สติสัมโพชฌงค์.
ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.
ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณา
ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์.
ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์.

กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้
เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.
ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

โพชฌงค์ 7 นัยที่ 2


[544] โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์
4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
[545] ในโพชฌงค์ 7 นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอก มีอยู่ สติในธรรม
ภายในแม้ใด สติในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด
สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.