เมนู

จูฬภาชนีย์มาไว้ข้างหน้า ก็ในอุตตรจูฬภาชนีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ฉันทะเท่านั้น ชื่อว่า ฉันทิทธิบาท วิริยะเท่านั้น จิตตะเท่านั้น วีมังสาเท่านั้น
ชื่อว่า วีมังสิทธิบาท ดังนี้ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่าสภาวะที่ยังไม่สำเร็จแล้ว
ชื่อว่า อิทธิ สภาวะที่สำเร็จแล้ว ชื่อว่า อิทธิบาท ดังนี้. ข้าพเจ้าปฏิเสธถ้อยคำ
ของอาจารย์เหล่านั้นแล้ว จึงทำการสันนิษฐานว่า "อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี
เป็นภาวะอันกระทบแล้วด้วยไตรลักษณ์" ดังนี้ ในสุตตันตภาชนีย์นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอิทธิบาททั้งหลายเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระดังพรรณนามา
ฉะนี้ แล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


ในอภิธรรมภาชนีย์ มีอรรถตื้นทั้งนั้น. ก็บัณฑิตพึงนับจำนวน
ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ จริงอยู่ ในฐานะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า
"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
สมาธิปธานสังขาร
" ดังนี้ ท่านจำแนกโลกุตตระไว้ 4,000นัย แม้ใน
วิริยสมาธิเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. โดยทำนองนั้น ในอุตตรจูฬภาชนีย์ ท่าน
จึงจำแนกอิทธิบาทแม้ทั้งหมดไว้ 32,000 นัย ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็น
หมวด 4 หมวดๆละ 8 นัย คือ ในฉันทิทธิบาท 4,000 นัย ใน วิริยะ จิตตะ
วีมังสา อย่างละ 4,000 นัย (4 * 8 = 32). บัณฑิตพึงทราบคำนี้ว่า ท่านกล่าว
แล้วในอภิธรรมภาชนีย์ อันประดับเฉพาะแล้วด้วยนัย 32,000 นัย ด้วย
สามารถแห่งอิทธิบาททั้งหลาย อันเป็นโลกุตตระที่บังเกิดแล้วนี้นั่นแหละ ดัง
พรรณนามาฉะนี้.
วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์ จบ