เมนู

ตัพพ, อิทธิบาท 4 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อิทธิบาท 4 เป็นนภาว-
นายปหาตัพพเหตุกะ, อิทธิบาท 4 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อิทธิ-
บาท 4 เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อิทธิบาท 4 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น
อัปปีติกะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี, อิทธิบาท
4 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นอุเปกขาสหคตะ
ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นนกามาวจร, อิทธิบาท 4 เป็น
นรูปาวจร, อิทธิบาท 4 เป็นนอรูปาวจร, อิทธิบาท 4 เป็นอปริยาปันนะ,
อิทธิบาท 4 เป็นนิยยานิกะ, อิทธิบาท 4 เป็นนิยตะ, อิทธิบาท 4 เป็น
อนุตตระ, อิทธิบาท 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาอิทธิปาทวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน อิทธิปาทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
สัมมัปปธานวิภังค์ นั้น ต่อไป.
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. ในคำว่า อิทฺธิปาทา นี้ ชื่อว่า
อิทธิ (ฤทธิ์) เพราะอรรถว่า ย่อมรุ่งเรือง อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรืองด้วยดี คือ
ย่อมสำเร็จ. อีกอย่างหนึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้สำเร็จ ผู้เจริญ ย่อมสำเร็จ ย่อมถึง
ความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยสภาวะนี้ แม้เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า

อิทธิ. ว่าโดยอรรถที่หนึ่ง ปาโท บาท คือ อิทธินั่นแหละ ชื่อว่า อิทธิ-
บาท
อธิบายว่า เป็นส่วนหนึ่งของอิทธิ. ว่าโดยอรรถที่สอง ชื่อว่า
อิทธิบาท เพราะเป็นบาทแห่งอิทธิ
. คำว่า ปาโท ได้แก่ เป็นที่อาศัย
คือ เป็นอุบายเครื่องบรรลุ. จริงอยู่ เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมถึง ย่อมบรรลุซึ่ง
อิทธิ กล่าวคือคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไปด้วยอุบายเป็นเครื่องบรรลุนั้น ฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า ปาทะ (คือ เป็นบาท). บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในคำว่า
จตฺตาโร อิทฺธิปาทา (อิทธิบาท 4) นี้ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงจำแนกแสดงอิทธิบาทเหล่านั้น
จึงเริ่มคำว่า อิธ ภิกฺขุ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อิธ ภิกฺขุ
ได้แก่ ภิกษุในพระศาสนานี้. ในคำว่า ฉนฺทสมาธิปธานสํขารสมนฺนาคตํ
นี้ ได้แก่สมาธิ มีฉันทะเป็นเหตุ มีฉันทะอันยิ่ง ชื่อว่าฉันทสมาธิ. คำว่า
ฉันทสมาธิ นี้ เป็นชื่อของสมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำกัตตุกัมมย-
ตาฉันทะให้เป็นอธิบดี. สังขารทั้งหลายอันเป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร.
คำว่า ปธานสังขาร นี้ เป็นชื่อของความเพียรที่เป็นสัมมัปปธานซึ่ง
ยังกิจ 4 อย่างให้สำเร็จ. คำว่า สมนฺนาคตํ ได้แก่ เข้าไปถึงแล้วด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขารทั้งหลาย. ค่าว่า อิทฺธิปาทํ อธิบายว่า กอง
แห่งจิตและเจตสิกที่เหลือชื่อว่าเป็นบาท เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่ง
ฉันทสมาธิและปธานสังขารทั้งหลาย อันสัมปยุตด้วยกุศลจิตมีอุปจาระและฌาน
เป็นต้น อันถึงซึ่งการนับว่า อิทธิโดยปริยายแห่งความสำเร็จ คือ โดยอรรถ
แห่งความสำเร็จ (อรรถที่หนึ่ง) หรือว่า โดยปริยาย (คือ อรรถที่สอง)
นี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้สำเร็จ ผู้เจริญ ย่อมสำเร็จ ย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ
ด้วยสภาวะนี้ ดังนี้. จริงอยู่คำว่า อิทฺธิปาโท ข้างหน้า ที่ท่านกล่าวว่า

เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมโดยอาการนั้น อัน
ใด คำนั้น ย่อมถูกต้องด้วยอรรถนี้. แม้ในคำที่เหลือทั้งหลาย ก็พึงทราบเนื้อ
ความโดยนัยนี้. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความทีท่านกล่าวไว้ว่า เหมือนอย่างว่า
สมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำฉันทะให้เป็นอธิบดี ชื่อว่า ฉันทสมาธิ
ฉันใดนั่นแหละ สมาธิอันได้เฉพาะแล้ว เพราะกระทำ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ให้เป็นอธิบดี ท่านก็เรียกว่าวิริยสมาธิ จิตตสมาธิ วีมังสาสมาธิฉันนั้น เถิด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงจำแนกแสดงบททั้งหลายมี
ฉันทสมาธิเป็นต้น จึงเริ่มคำว่า กถญฺจ ภิกฺขุ เป็นอาทิ. บรรดาคำ
เหล่านั้น คำว่า ฉนฺทญฺจ ภิกฺขุ อธิปตึ กริตฺวา ความว่า ถ้าภิกษุ
ทำฉันทะให้เป็นอธิบดี ทำฉันทะให้เจริญ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะ
ให้เป็นหัวหน้าแล้วได้เฉพาะซึ่งสมาธิ คือ ย่อมให้สมาธิเกิดขึ้น. อธิบายว่า
สมาธินี้อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ฉันทสมาธิ. แม้ในคำทั้งหลาย มีคำ
ว่า วิริยญฺเจ (แปลว่า ถ้าภิกษุทำความเพียร) เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
วิริยะอันยังกิจ 4 อย่างให้สำเร็จ กล่าวคือปธานสังขารของภิกษุผู้เจริญอยู่ซึ่ง
ฉันทิทธิบาท ท่านกล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า อิเม วุจฺจนฺติ ปธาน-
สํขารา
(แปลว่า สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร). คำว่า ตเทกชฺฌํ
อภิสญฺญูหิตฺวา
(แปลว่า ประมวลย่อ 2 อย่างเข้าเป็นอันเดียวกัน) อธิบาย
ว่า กระทำสภาวะแม้ทั้งหมดนั้นให้เป็นกองเดียวกัน. คำว่า สํขยํ คจฺฉติ
อธิบายว่า ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมถึงโวหารเดียว
กัน ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงจำแนกแสดงธรรมมีฉันทะ
เป็นต้น ที่ประชุมลงในบทว่าฉันทสมาธิปธานสังขารนี้ จึงเริ่มคำว่า ตตฺถ
กตโม ฉนฺโท
เป็นอาทิ. คำนั้น มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
คำว่า อุเปโต โหติ คือ กองแห่งธรรม กล่าวคือ อิทธิบาทเป็น
สภาวะที่เข้าไปถึงแล้ว. คำว่า เตสํ ธมฺมานํ คือ ธรรมมีฉันทะเป็นต้น
อันสัมปยุตด้วยปธานสังขารเหล่านั้น.
คำทั้งปวงมีคำว่า อิทฺธิ สมิทฺธิ เป็นต้น เป็นคำไวพจน์ของ
นิปผตฺติ (คือ ความสำเร็จ อรรถแรก) ทั้งนั้น. เมื่อความเป็นอย่างนั้น
ท่านจึงเรียกว่า อิทธิ เพราะอรรถว่า ความสำเร็จ. อิทธิอันสมบูรณ์แล้ว
ท่านเรียกว่า สมิทธิ
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมิทธิ นี้ เป็นบทที่เจริญแล้วด้วย
อุปสรรค. อาการแห่งความสำเร็จ ท่านเรียกว่า อิชฺฌนา ความสำเร็จ.
บทว่า สมิชฺฌนา เป็นบทที่เจริญด้วยอุปสรรค. ความได้ด้วยสามารถแห่ง
การปรากฏในสันดานของตน ท่านเรียกว่า ลาภะ. ความได้แม้ซึ่งธรรมอัน
เสื่อมไปแล้วด้วยสามารถแห่งการเริ่มความเพียรอีก ท่านเรียกว่า ปฏิลาภะ
ความได้อีก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปฏิลาภะนี้ เป็นบทที่เจริญขึ้นด้วยอุปสรรค.
บทว่า ปตฺติ (การถึง) คือ การบรรลุ. การบรรลุด้วยดีด้วยสามารถแห่งการ
ไม่เสื่อมไป ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัมปัตติ (ความถึงด้วยดี). คำว่า ผุสนา
(ความถูกต้อง) คือการถูกต้องด้วยสามารถแห่งความได้อีก (ปฏิลาภะ). คำว่า
สจฺฉิกิริยา คือความกระทำให้แจ้งด้วยปฏิลาภะนั่นแหละ. คำว่า อุปสมฺปทา
(ความเข้าถึง) บัณฑิตพึงทราบว่า ความเข้าถึงด้วยปฏิลาภะเหมือนกัน. คำว่า
ตถาภูตสฺส ได้แก่ ของบุคคลผู้ปรากฏแล้วโดยอาการนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้
ได้เฉพาะแล้วซึ่งธรรมมีฉันทะเป็นต้นเหล่านั้นแล้วดำรงอยู่. ขันธ์แม้ทั้ง 4

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยคำว่า เวทนากฺขนฺโธ เป็นต้น โดยกระทำ
ฉันทะเป็นต้นไว้ภายใน. คำว่า เต ธมฺเม ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้ง 4 เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ ท่านกล่าวว่า ธรรมทั้ง 3 (คือ ฉันทะ สมาธิ ปธานสังขาร)
มีฉันทะเป็นต้น. คำว่า อาเสวติ เป็นต้น มีอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นแหละ. แม้ในนิทเทสแห่งอิทธิบาทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดย
นัยนี้เหมือนกัน.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวไว้อย่างไร พึงทราบดังนี้.

กรรมฐานอันถึงซึ่งที่สุดของภิกษุ 4 จำพวก


ท่านกล่าวกรรมฐานของภิกษุ 4 จำพวก อันถึงที่สุด คือ ภิกษุพวก
หนึ่งอาศัยฉันทะ เมื่อมีความต้องการด้วยฉันทะในกุศลธรรมของผู้ใคร่เพื่อจะ
ทำมีอยู่ เธอก็กระทำฉันทะให้เป็นใหญ่ ทำฉันทะให้เป็นธุระ ทำฉันทะให้เป็น
หัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้เกิด ความหนักใจของเรา
ด้วยการเกิดขึ้นแห่งฉันทะนี้ไม่มีดังนี้ แล้วจึงยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น. ภิกษุ
พวกหนึ่งอาศัยวิริยะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยจิตตะ. ภิกษุพวกหนึ่งอาศัยปัญญาอยู่
เมื่อมีความต้องการด้วยปัญญา เธอก็จะกระทำปัญญาให้เป็นใหญ่ ทำปัญญาให้
เป็นธุระ ทำปัญญาให้เป็นหัวหน้า ด้วยการคิดว่า เราจักยังโลกุตตรธรรมให้
เกิดขึ้น ความหนักใจด้วยการเกิดขึ้นแห่งปัญญานี้ของเราไม่มี ดังนี้แล้ว จึง
ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น.
เหมือนอย่างว่า บุตรของอำมาตย์ 4 คน ปรารถนาฐานันดรแล้วเที่ยว
ไปอยู่ คนหนึ่งอาศัยการบำรุง. คนหนึ่งอาศัยความกล้า. คนหนึ่งอาศัยชาติ
คนหนึ่งอาศัยความรู้. คือ อย่างไร. คือว่า ในบุตรอำมาตย์เหล่านั้น คนที่
หนึ่ง เมื่อมีความต้องการด้วยฐานันดร จึงคิดว่า เราจักได้ฐานันดรนั้น ดังนี้