เมนู

ตัพพ, อิทธิบาท 4 เป็นนทัสสเนนปหาตัพพเหตุกะ อิทธิบาท 4 เป็นนภาว-
นายปหาตัพพเหตุกะ, อิทธิบาท 4 เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อิทธิ-
บาท 4 เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อิทธิบาท 4 เป็นสัปปีติกะก็มี เป็น
อัปปีติกะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี, อิทธิบาท
4 เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นอุเปกขาสหคตะ
ก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี, อิทธิบาท 4 เป็นนกามาวจร, อิทธิบาท 4 เป็น
นรูปาวจร, อิทธิบาท 4 เป็นนอรูปาวจร, อิทธิบาท 4 เป็นอปริยาปันนะ,
อิทธิบาท 4 เป็นนิยยานิกะ, อิทธิบาท 4 เป็นนิยตะ, อิทธิบาท 4 เป็น
อนุตตระ, อิทธิบาท 4 เป็นอรณะ ฉะนี้แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

อรรถกถาอิทธิปาทวิภังค์


วรรณนาสุตตันตภาชนีย์


บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน อิทธิปาทวิภังค์ อันเป็นลำดับต่อจาก
สัมมัปปธานวิภังค์ นั้น ต่อไป.
คำว่า 4 เป็นคำกำหนดจำนวน. ในคำว่า อิทฺธิปาทา นี้ ชื่อว่า
อิทธิ (ฤทธิ์) เพราะอรรถว่า ย่อมรุ่งเรือง อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรืองด้วยดี คือ
ย่อมสำเร็จ. อีกอย่างหนึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้สำเร็จ ผู้เจริญ ย่อมสำเร็จ ย่อมถึง
ความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยสภาวะนี้ แม้เพราะเหตุนั้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า