เมนู

คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร


[528] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ
และสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร.
[529] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน ?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด
นี้เรียกว่า วีมังสา.
สมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.
ปธานสังขาร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้า
มาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ

และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
[530] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความเข้าถึงด้วยดี
ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ
บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.
[531] อิทธิบาท 4 คือ
1. ฉันทิทธิบาท
2. วิริยิทธิบาท
3. จิตติทธิบาท
4. วีมังสิทธิบาท

ฉันทิทธิบาท


[532] ในอิทธิบาท 4 นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจาก
โลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม
สงัดจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร
มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัย
ใด ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท. ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท.