เมนู

[508] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร


[509] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร ?
ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่ง
จิต สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อ
สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ
ความภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร.
วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ 2 อย่างนั้น
เข้าเป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการ
ฉะนี้.

[510] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
วิริยะ.
สมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงแห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความ
ไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.
ปธานสังขาร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร.
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ
และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริย-
สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
[511] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น.
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท.

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร


[512] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
สังขารเป็นอย่างไร ?
ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ. ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้าง
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความ
ภิญโญยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร.
จิตตสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ 2 อย่างนั้น เข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จิตตสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการ
ฉะนี้.
[513] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน ?
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า
จิต.
สมาธิ เป็นไฉน ?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ.
ปธานสังขาร เป็นไฉน ?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร.